ยิ่งมีรายได้หลายทางมากเท่าใดก็ต้องยิ่งสนใจเรื่องภาษีมากขึ้นเท่านั้น เพราะจากเดิมที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ยื่นภาษีง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก กลับกลายเป็นว่าต้องคอยกังวลภาษีที่ต้องเสียเพิ่มอีก ถ้าใครเป็นแบบนี้อยู่เรามีเทคนิคดีๆ สำหรับการจัดการภาษีส่วนบุคคลมาแบ่งปันค่ะ |
ในยุคที่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ทุกวัน การมีรายได้ทางเดียวนั้นอาจจะไม่มั่นคงอีกต่อไป ทุกวันนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยค่ะ ว่าทำไมพวกเราจึงควรมีรายได้มากกว่า 1 ทางนอกเหนือจากงานประจำ
แต่รู้มั้ยคะว่า ยิ่งมีรายได้หลายทางมากเท่าใด เราก็ต้องยิ่งสนใจเรื่องภาษีมากขึ้นเท่านั้น เพราะจากเดิมที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ยื่นภาษีง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก กลับกลายเป็นว่าต้องคอยกังวลเรื่องกำไรขาดทุน รวมทั้งภาษีที่ต้องเสีย ถ้าใครเป็นแบบนี้อยู่เรามีเทคนิคดีๆ สำหรับการจัดการภาษีส่วนบุคคลมาแบ่งปันค่ะ
ทำงานมีรายได้ต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
ถ้าทำงานประจำและมีรายได้ทางอื่นด้วย สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเก็บข้อมูลเงินได้ของตัวเองไว้ให้ดี เพราะนี่ส่งผลถึงการคำนวณกำไรจากธุรกิจ รวมไปถึงการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาด้วยค่ะ
วิธีการเก็บข้อมูลที่ดีที่สุด ก็คือ การจดรายรับของตัวเองไว้เสมอ
และถ้าจะให้ดีไปกว่านั้น ควรจะจดข้อมูลรายจ่ายของตัวเองไว้ด้วย และอย่าลืมแนบเอกสารใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน
FlowAccount ช่วยให้มนุษย์เงินเดือน มีรายได้หลายทางจดบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้ง่ายๆ แบบออนไลน์ ทดลองใช้งานฟรี 30 วันได้ที่นี่
ประเภทเงินได้ และการหักค่าใช้จ่าย เป็นอย่างไรบ้าง
ก่อนจะไปเริ่มต้นจัดการภาษี เรามาทำความเข้าใจกันสักนิดว่ารายได้แต่ละประเภทนั้นมีอะไรบ้าง จากตัวอย่างของนายพากเพียรดีกว่าค่ะ
นายพากเพียร เป็นโสด มีรายได้จากเงินเดือนประจำตำแหน่งกราฟิกดีไซเนอร์ เดือนละ 30,000 บาท
ช่วงเวลาหลังเลิกงาน นายพากเพียรรับจ๊อบพิเศษทำกราฟิกให้บริษัทพี่ชาย ได้ครั้งละ 5,000 บาทต่องาน ทั้งปีได้ 50,000 บาท
นายพากเพียรมีแผนจะแต่งงานในอีกสองปีข้างหน้าจึงต้องหาเงินเพิ่มวันเสาร์อาทิตย์ เลยเปิดร้านขายของเล่นออนไลน์ด้วย ได้เงินมาปีละ 100,000 บาท
จากตัวอย่างนี้เรามาวิเคราะห์กันเลยค่ะว่ารายได้ทั้งหมดของนายพากเพียรนั้นเป็นรายได้ประเภทใดบ้าง และหักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เท่าใด
ส่วนด้านล่างนี้เป็นคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับเงินได้แต่ละประเภทค่ะ
เงินได้ประเภท 40(1) คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส จากการทำงานประจำ พูดง่ายๆ ก็คือ เงินได้ของมนุษย์เงินเดือนค่ะ
เงินได้ประเภท 40(2) คือ เงินได้จากการรับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนจากการทำงาน โดยไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง เงินได้ตัวนี้เป็นเงินได้จากการรับจ้างทำงานพิเศษ เช่น เป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วรับจ้างทำงานกราฟิกให้ลูกค้านอกเวลา เงินได้จากการทำงานกราฟิกนอกเวลานี้ ถือเป็นเงินได้ประเภท 40(2)
เงินได้ประเภท 40(8) คือ เงินได้ที่ไม่ใช่ 40(1) – 40(7) เป็นเงินได้จากธุรกิจการ พาณิชย์, การเกษตร, การอุตสาหกรรม, การขนส่ง ฯลฯ เช่น ขายก๋วยเตี๋ยว, โอเลี้ยง, โรงแรม, ภัตตาคาร, โรงพิมพ์, โรงกลึง, สีข้าว, ฆ่าสัตว์, โรงโม่ ,ตัดเย็บเสื้อผ้า, ตัดผมเสริมสวย รวมไปถึง นักร้องนักแสดง
ทางเลือกในการยื่นภาษี คนโสด และสมรสแล้ว
สำหรับทางเลือกในการยื่นภาษีนั้น เราสามารถเลือกได้ 3 รูปแบบถ้ามีคู่สมรสดังนี้
- คนโสด ยื่นปกติไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร
- คู่สมรส
วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถัดมาเรามาดูตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันค่ะ
พื้นฐานเบื้องต้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณได้จากสมการนี้
เงินได้สุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
จากตัวอย่างของนายพากเพียร เราลองมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเขากัน
หาเงินได้สุทธิ
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เริ่มต้นเรามาดูอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก่อน เนื่องจากมีความพิเศษตรงที่เป็นอัตราภาษีแบบขั้นบันได หมายถึง ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเงินได้สุทธิสูงขึ้นตามนี้
สำหรับนายพากเพียร อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 5% ดังนั้น คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ = (150,000 ยกเว้น) + (140,000x5%) = 7,000 บาท
ข้อควรทราบเพิ่มเติม
บุคคลธรรมดาถ้ารายได้ถึงเกณฑ์ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
นอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เราทำความเข้าใจกันไปแล้ว ยังมีภาษีอีก 1 ตัวที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ทำงานรับจ้าง 40(2) และขายของ 40(8) นั้น ต้องเช็กอยู่เสมอว่ารายได้ของเราเข้าเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่มไหม โดยดูจาก
- ประเภทรายได้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
- รายได้รวมตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป
รายได้ประเภท 40(8) จากการขายของ สามารถเลือกได้ว่าจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% หรือว่าตามจริง
ทั้งนี้สำหรับการหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริงนั้น ควรใช้ในกรณีที่ต้นทุนสินค้ามีมากกว่า 60% เพราะว่าเราจะประหยัดภาษีได้มากกว่า แต่ข้อแม้ก็คือว่า จะต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และมีหลักฐานเอกสารเก็บไว้ด้วยค่ะ
ดังนั้นถ้าวันนี้ใครมีรายได้หลายทาง อย่าลืมเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลให้ดี ทำความเข้าใจเรื่องภาษีให้แม่นตามที่เราแนะนำ และทุกคนจะพบว่า “การมีรายได้หลายทางไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป”
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่