วางแผนภาษีนิติบุคคลเริ่มต้นปีใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด

วางแผนภาษี

เริ่มต้นปีอย่างมั่นใจ เจ้าของธุรกิจทั้งหลายอย่าลืมใส่เรื่องการวางแผนภาษีอยู่ใน Check-List สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มต้นปีใหม่นี้ไปด้วยนะคะ ถ้าหากอยากเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการวางแผนภาษีนิติบุคคลให้กิจการของตัวเองแบบง่ายๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง ในวันนี้ FlowAccount จะมาเล่าให้ทุกคนฟังเองค่ะ

เริ่มต้นปีอย่างมั่นใจ เจ้าของธุรกิจทั้งหลายอย่าลืมใส่เรื่องการวางแผนภาษีอยู่ใน Check-List สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มต้นปีใหม่นี้ไปด้วยนะคะ แล้วการวางแผนภาษีเนี่ยมันคืออะไร ถ้าหากอยากเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการวางแผนภาษีนิติบุคคลให้กิจการของตัวเองแบบง่ายๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง ในวันนี้ FlowAccount จะมาเล่าให้ทุกคนฟังเองค่ะ

 

การวางแผนภาษี คืออะไร ต่างจากการเลี่ยงภาษีอย่างไร

 

การวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นจำนวนเงินที่น้อยที่สุด โดยมีข้อแม้ว่ายังทำถูกต้องตามกฎหมายนะ หลักใหญ่ใจความสำคัญของการวางแผนภาษีนั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุดแล้ว อย่าลืมนะคะว่าเราเองจะต้องปิดความเสี่ยงในการยื่นภาษีผิดพลาดด้วย เพื่อจะได้ไม่มีค่าปรับอันมหาศาลตามมาในอนาคต

 

การเลี่ยงภาษี คือ การใช้วิธีผิดกฎหมายในการหนีภาษีเพื่อให้ไม่ต้องจ่ายภาษี หรือว่าเสียภาษีน้อยลง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบ และอาจโดนค่าปรับตามมาในอนาคตนั่นเอง

 

สรุปง่ายๆ การวางแผนภาษี นั้นต่างจากการเลี่ยงภาษี คือ การวางแผนภาษีทำได้ยากตอนนี้ แต่สบายใจในอนาคต ส่วนการเลี่ยงภาษี ทำง่ายมากในตอนนี้ แต่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีอาจค่าปรับตามมาในอนาคตค่ะ

 

อัตราภาษีธุรกิจที่ต้องรู้

 

สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 2 หมวดตามนี้

 

  • นิติบุคคลขนาดเล็ก หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท

อัตราภาษี

 

  • นิติบุคคลขนาดใหญ่ หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือ รายได้ต่อปีเกิน 30 ล้านบาท ขึ้นไป ต้องจ่ายภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิทางภาษี

 

กลยุทธ์การวางแผนภาษี 

 

เทคนิคการวางแผนภาษีแบบฉบับเจ้าของธุรกิจ เราอยากแนะนำ 5 เรื่องนี้ที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ 

 

1) เข้าใจบัญชีธุรกิจ

 

ถ้าอยากวางแผนภาษี ต้องเริ่มต้นที่บัญชีธุรกิจเป็นจุดแรกค่ะ ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจว่าเป็นอย่างไรเสียก่อน ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อเช็คว่าตัวเองเข้าใจรายได้ และค่าใช้จ่ายของธุรกิจดีพอหรือไม่ ลองเช็คตามเช็คลิสนี้นะคะ 

  • รายได้มีกี่ประเภท มาจากอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร
  • ค่าใช้จ่ายมีกี่ประเภท มาจากอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร

และเมื่อเราเข้าใจรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจแล้ว เราก็น่าจะคำนวณกำไรขาดทุนทางบัญชีของกิจการได้ไม่ยาก

 

และกำไรขาดทุนที่ว่าเนี่ยแหละ จะช่วยให้เราคำนวณต่อได้ว่าปีนี้กิจการจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวนเท่าใด และสุดท้ายเราจะวางแผนภาษีได้จาก สมการนี้

 

“ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรขาดทุนทางภาษี x อัตราภาษี”

 

 

2) บริหารรายได้

 

ถ้าอยากเสียภาษีน้อย ต้องมีกำไรทางภาษีน้อย ถ้าอยากมีกำไรทางภาษีน้อยๆ เราเองก็ต้องบริหารรายได้ให้ได้ประโยชน์ทางภาษีสูงสุดจริงไหมคะ 

 

โดยปกติแล้วในการวางแผนภาษีเราต้องเข้าใจรายได้ 2 ประเภทนี้เสียก่อน

 

วางแผนภาษี

 

3) จัดการค่าใช้จ่าย

 

นอกเหนือจากรายได้แล้ว เราเองต้องจัดการค่าใช้จ่ายของธุรกิจให้อยู่หมัดด้วย ก่อนที่จะจัดการค่าใช้จ่ายได้ อยากจะให้ทุกคนเข้าใจ ประเภทค่าใช้จ่าย 2 ประเภทนี้ให้ดีๆ เลย

 

ค่าใช้จ่ายทางภาษี

 

จากตารางนี้คิดว่าทุกคนน่าจะพอเข้าใจประเภทค่าใช้จ่ายทางภาษีกันแล้ว ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม ทำให้เสียภาษีน้อยลง ส่วนค่าใช้จ่ายต้องห้ามนั้น เป็นตัวที่ทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น

 

ทีนี้น่าจะพอมีไอเดียจัดการรายจ่ายกันบ้างแล้วว่าต้องพยายามจัดระเบียบค่าใช้จ่ายให้ดี เพื่อลดค่าใช้จ่ายต้องห้ามเหล่านี้ แล้วติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อจะใช้สิทธิค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่มเติมอย่างเต็มที่ค่ะ

 

 

4) อย่ารอให้ถึงปลายปี เช็คตัวเองเสมอ

 

การวางแผนภาษีเราต้องทำตั้งแต่ต้นปี และคอยติดตามผลอยู่เรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอค่ะ เมื่อไรที่ธุรกิจไม่หยุดนิ่ง เราเองก็ต้องเช็คสถานะแผนภาษีของตัวเองอยู่เสมอเช่นกัน

 

วิธีการเช็คง่ายๆ อาจทำสัก 1 ครั้งทุกๆ สิ้นเดือน ว่ารายได้ ค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไปเยอะหรือไม่ แล้วเป้าหมายภาษีของเรายังคงเป็นไปตามแผนหรือเปล่า ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การมีงบการเงินประจำเดือนค่ะ

 

 

5) สำรองเงินจ่ายภาษี

 

จุดบอดของการทำธุรกิจอย่างนึง ที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ ก็คือ มีกำไร แต่ไม่มีเงินจ่ายภาษี ถ้าเราวางแผนภาษีไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เราจะพอรู้แล้วว่าต้องเสียภาษีต่อปีจำนวนเท่าใด อย่าลืมวางแผนสำรองเงินสดเพื่อจ่ายภาษีไว้ด้วยนะคะ 

 

เทคนิคง่ายๆ ในการสำรองเงินจ่ายภาษี ก็คือ กันเงินส่วนนี้เอาไว้ทุกๆ เดือนค่ะ เช่น ทั้งปีต้องจ่ายภาษี 120,000 บาท ถ้าลองกันเงินไว้สัก 10,000 บาทต่อเดือนน่าจะดีต่อใจกว่าต้องจ่ายตูมเดียว 120,000 บาทตอนปลายปีไม่น้อยเลยทีเดียว

 

วางแผนภาษีบริษัท

 

ทั้งหมดนี้เป็น 5 เทคนิคที่อยากแชร์ให้เจ้าของธุรกิจทุกคนลองไปฝึกฝนและวางแผนภาษีของธุรกิจตัวเองกันนะคะ เพื่อจะได้ประหยัดภาษีขึ้นต้อนรับปี 2023 นี้ค่ะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like