ปิดงบการเงิน เจ้าของธุรกิจได้รู้อะไรเมื่อสิ้นรอบบัญชี

ปิดงบการเงิน



อ่านสั้นๆ:

  • การปิดงบการเงินทุกสิ้นรอบ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเห็นตัวเลขของกิจการว่าปีนี้มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร และใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนธุรกิจ แต่การเห็นงบการเงินเพียงปีละครั้งไม่อาจเพียงพอต่อการวางแผนธุรกิจได้
  • วิธีช่วยทำงบการเงินได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอปิดรอบบัญชี โดยใช้โปรแกรมบัญชี FlowAccount ช่วยนักบัญชีจัดทำงบการเงิน และเจ้าของธุรกิจสามารถเรียกดูงบการเงินเมื่อไหร่ก็ได้

“ปิดงบการเงิน” คำพูดติดปากของนักบัญชีที่ได้ยินกันบ่อยเมื่อถึงฤดูกาลสิ้นรอบบัญชี เพราะหน้าที่หนึ่งของเจ้าของธุรกิจที่ต้องทำในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปีคือ การส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ให้กรมสรรพากร


ผู้ทำหน้าที่ปิดงบการเงิน แน่นอนว่าเป็นของนักบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่จ้างอยู่ เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ประสบการณ์และความรู้ในการทำบัญชี แต่งบการเงินไม่ได้มีไว้แค่เพียงส่งให้หน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เพราะจริงๆแล้ว เจ้าของธุรกิจต่างหากที่ได้ประโยชน์จากงบการเงิน ที่จะได้เห็นตัวเลขผลประกอบการ กำไร ขาดทุน และสินทรัพย์ที่มีอยู่ของกิจการ เพื่อมาวางแผนธุรกิจต่อไปได้


ซึ่งการพิจารณาผลการดำเนินงาน คงไม่ใช่เวิร์คแน่ๆ ถ้าเจ้าของธุรกิจต้องรอตอนปิดงบการเงินก่อน ถึงจะได้เห็นตัวเลขที่แท้จริง ที่จะเอามาใช้วางแผนธุรกิจท่ามกลางสภาวะเศรฐกิจที่มีการแข่งขันสูงและต้องปรับตัวตลอดเวลา


ในบทความนี้จะขอเล่าวิธีการทำงบการเงินผ่านโปรแกรมบัญชี ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการปิดงบการเงิน และประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับมากขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง


ที่มาที่ไปของการทำงบการเงินผ่านโปรแกรมบัญชี


การปิดงบการเงินจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการเก็บและบันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบ พูดอย่างรวบรัดที่สุด เมื่อถึงฤดูกาลปิดบัญชี นักบัญชีจะต้องทำ 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ


  1. รวบรวมเอกสารทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในรอบปีมาจัดทำบัญชีประเภทตามกิจกรรมหลักๆ คือ รายได้จากการขาย ต้นทุนจากการขายสินค้าหรือให้บริการ และค่าใช้จ่ายในธุรกิจ
  2. นำบัญชีที่แยกประเภทมาทำงบทดลอง เพื่อจำแนกประเภทองค์ประกอบของงบการเงิน
  3. นำงบทดลองมาปรับปรุงรายการทางบัญชี ให้ตรงกับสภาพรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการที่เกิดขึ้นตามจริงตามเกณฑ์คงค้าง
  4. แปลงงบทดลองให้เป็นเอกสารยื่นแบบคือ งบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 สำหรับเสียภาษี ให้เจ้าของธุรกิจเซ็นรับรอง แล้วส่งหน่วยงานราชการ

สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้


1. ทุกธุรกิจจะต้องมีวงจรบัญชี

เจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ทั่วไปกระบวนการทำธุรกิจประกอบด้วย การซื้อสินค้า การขายสินค้าหรือให้บริการ และการรับจ่ายเงิน ทำให้บัญชีที่แทบทุกธุรกิจจะต้องมีเหมือนๆ กันคือ บัญชี 5 ประเภท (หรือ สมุดบัญชี 5 เล่ม) ได้แก่ ซื้อ ขาย จ่าย รับ และทั่วไปต่ละบัญชีจะมีหลักฐานทางการเงิน ที่จะต้องรวบรวมเอกสารหลักฐานของบัญชีแต่ละประเภทนี้มาแยกรายได้ ค่าใช้จ่าย แบบภาษีต่างๆ ที่ชำระไปมาทำบัญชี


แต่หากเจ้าของธุรกิจยังไม่มีนักบัญชี ก็สามารถจ้างสำนักงานบัญชีทำ หรือใช้โปรแกรม FlowAccount นำเอกสารทุกประเภทที่มีมาลงบัญชีได้เลย ที่มีค่าปิดงบบัญชีแตกต่างกันไป ระบบจะบันทึกข้อมูลจากเอกสารลงในแต่ละบัญชีแยกประเภทโดยอัตโนมัติ ท่านสามารถทดลองใช้งานฟรี



ปิดบัญชีวิธีไหนทำได้เร็วกว่ากัน


 

จัดเอกสาร
เป็นระเบียบ

จัดเอกสาร
ไม่เป็นระเบียบ

ใช้โปรแกรมบัญชี

ปริมาณเอกสารจากการค้ามาก

⭐⭐⭐

⭐⭐⭐⭐⭐

ปริมาณเอกสารจากการค้าน้อย

⭐⭐⭐⭐

⭐⭐⭐⭐⭐


ดังนั้น ถ้าเจ้าของธุรกิจจัดการเอกสารทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบ ก็จะทำให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่ทันต่อการตัดสินใจ และส่งผลให้การจัดทำงบการเงินตอนสิ้นปีเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว


เอกสารของแต่ละบัญชี (เบื้องต้น)


กิจกรรม

เอกสารภาษีที่เกี่ยวข้อง

ซื้อสินค้า  ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ของกิจการคู่ค้า
ขายสินค้า   สำเนา ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ของกิจการ
จ่ายค่าใช้จ่าย ค่าบริการต่างๆ ในแต่ละช่องทาง เช่น เงินสด เงินในบัญชีธนาคาร เช็ค จะมีการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • รับเงิน จากการให้บริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า จะถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของธุรกิจถูกหักไปโดยลูกค้า
  • จ่ายเงิน จากการซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ
  • สำเนา ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ของกิจการ
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใบเสร็จรับเงิน,ใบกำกับภาษี หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่คู่ค้าออกให้)
จ่ายเงินเดือน เงินประกันสังคม และภาษีที่หักจากเงินเดือน ฟอร์มประกันสังคม, สลิปเงินเดือน, ภ.ง.ด.1

2. สรุปข้อมูลเบื้องต้นทางบัญชี

นักบัญชีจะสรุปข้อมูลจากบัญชีแยกประเภทออกมาเป็นกระดาษหนึ่งใบตามขั้นตอนการทำบัญชี ซึ่งเรียกว่า งบทดลอง (Trial Balance) เพื่อทำให้เห็นว่าธุรกิจมีเงินเท่าไหร่ มีหนี้สินเท่าไหร่ การซื้อขายรับจ่ายไปเท่าไหร่ พูดอย่างง่ายที่สุด งบทดลองคือ First draft งบการเงินก่อนที่จะปรับปรุงรายการต่างๆและปิดบัญชี


แต่ถ้ามี FlowAccount แล้ว ระบบจะอัพเดตข้อมูลออกมาเป็นงบทดลอง งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินโดยอัตโนมัติ ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถเข้ามาดูงบทั้งสามนี้ได้ตลอดเวลาในเมนูบริหารบัญชี และถือเป็นเอกสารที่พร้อมให้นักบัญชีสามารถนำไปปิดบัญชีในขั้นตอนต่อไปได้


งบทดลอง FlowAccount
งบทดลองในเมนูบริหารบัญชี



งบนี้คืออะไร?


งบกำไรขาดทุน คืองบที่แสดงความสามารถในการหาเงินของกิจการ โดยจำแนกเป็นกลุ่มบัญชีรายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อบอกว่าปีนี้ทำกำไรได้ดีไหม หรือลดลงจากปีที่แล้ว และทำให้รู้ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่    
งบแสดงฐานะทางการเงิน หรืองบดุล คืองบที่บอกว่ากิจการมีฐานะอย่างไร โดยจำแนกเป็นสินทรัพย์ (คือมีเงินเหลือเท่าไหร่) หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น อย่างชัดเจน

3. นักบัญชีปรับปรุงรายการทางบัญชี

เมื่อได้งบทดลอง นักบัญชีจะนำมาปรับปรุงรายการทางบัญชี หมายถึง การปรับรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน รวมไปถึงรายการค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ พูดอย่างง่ายที่สุด คือการทำ Final draft ของงบการเงินที่จะทำตัวเลขให้ตรงกับความจริงมากที่สุด


ตัวเลขที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการทางบัญชี เช่น การปรับปรุงสินค้าคงเหลือ เนื่องจากทางบัญชีมีการรับรู้ 12 ชิ้น แต่ในคลังมี 10 ชิ้นเนื่องจากสินค้าชำรุดเสียหาย เป็นต้น


ถ้านักบัญชีทำบัญชีโดยไม่ได้ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะต้องรอถึงสิ้นปีช่วงปิดงบการเงิน แต่ถ้าใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์แล้วก็สามารถทำงานในส่วนนี้ได้เลยตลอดปี ทำให้เจ้าของธุรกิจเช็คข้อมูลทางการเงินที่สะท้อนภาพของธุรกิจได้ตลอดเวลา


4. ปิดบัญชี และจัดทำงบการเงิน + แบบยื่นภาษี

เมื่อปรับปรุงรายการทางบัญชีในงบทดลองเสร็จ นักบัญชีก็จะปิดบัญชีรายได้ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกมาเป็นงบการเงินพร้อมยื่นส่งหน่วยงานราชการ (หรือ ส่งข้อมูลผ่านทางออนไลน์)


งบการเงินที่จะต้องส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็จะประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ฯลฯ ส่วนเอกสารที่จะต้องส่งกรมสรรพากร คือ งบการเงินและ ภ.ง.ด.50 ซึ่งตามหลักการของกรมสรรพากรจะปรับปรุงกำไรทางบัญชีที่ได้จากงบกำไรขาดทุนให้เป็นกำไรทางภาษี ทำให้จะเห็นตัวเลขกำไรสองประเภทนี้แตกต่างกัน เพราะค่าใช้จ่ายบางประเภท ในทางภาษีอาจจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้จนต้องบวกกลับ หรือ ค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ทางภาษีอนุญาตให้หักเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก  เป็นต้น เมื่อทำเอกสารเหล่านี้เรียบร้อยแล้ว ก็จะเอามาให้เจ้าของธุรกิจเซ็นรับรองก่อนส่งหน่วยงานราชการ


กระบวนการทำงบการเงินที่ว่ามานี้จะถือว่าเป็นการทำบัญชีชุดเดียว แสดงตัวเลขที่แท้จริงของกิจการ ตามที่ทางกรมสรรพากรกำหนด เจ้าของธุรกิจจึงมั่นใจได้ว่าทำเอกสารและเสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว


*** ต้องทำงาน Manual ส่วนไหนบ้าง
ในส่วนการปรับปรุงรายการทางบัญชี และการปิดบัญชี นักบัญชีจะยังต้องทำงาน Manual อยู่ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เร็วขึ้นได้คือ ต้องคอยบันทึกเอกสารและปรับปรุงรายการในโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงเวลาก็สามารถพิมพ์เอกสารงบการเงินทั้งหมดส่งหน่วยงานราชการได้เลย หรือจะดึงข้อมูลจากในระบบโปรแกรมบัญชี ไปทำในรูปแบบเอกสารของธุรกิจเองต่างหากก่อนส่งก็ได้

เจ้าของธุรกิจได้อะไรจากงบการเงิน


แม้เจ้าของธุรกิจจะไม่มีพื้นฐานด้านบัญชีนัก แต่งบการเงินช่วยทำให้เจ้าของธุรกิจรู้เรื่องที่จะเอาไปวางแผนธุรกิจต่อได้ คือ

  • รู้เส้นทางการเงินของธุรกิจจากบัญชีซื้อขายจ่ายรับ จ่ายอะไรไปมากที่สุด ขายอะไรได้มากที่สุด และประเมินต่อได้ว่าจะเอากำไรที่ได้ไปลงทุนกับอะไรต่อ   
  • รู้สต็อก ว่ามีของเท่าไหร่ สินค้าไหนขายได้ ต้นทุนจมไปกับสินค้าชนิดไหน แล้วจะหาทางนำไปสู่รายได้ได้อย่างไร
  • รู้รายการค้างรับ ค้างจ่าย เพื่อหาทางบริหารเงินสด ทั้งขาค้างรับ คือขายไปแล้วยังไม่ได้เงิน ยกตัวอย่าง ทำโปรเจกต์ให้ลูกค้าหนึ่งงาน แต่ผ่านไปแล้วครึ่งปีลูกค้ายังไม่จ่าย เจ้าของธุรกิจก็จะประเมินได้ว่าจะทำยังไงต่อ และขาค้างจ่ายคือ เราซื้อของมาแต่ยังไม่จ่าย เลยมีเจ้าหนี้เยอะ เจ้าของธุรกิจก็ต้องหาทางว่าจะหาทุนมาจ่ายหนี้ได้ยังไงให้ไม่ช็อต
  • รู้สินทรัพย์ ในกิจการของตัวเองมีเท่าไหร่ และเกิดค่าเสื่อมราคาเท่าไหร่

ปิดงบการเงิน ด้วยโปรแกรมบัญชีช่วยเจ้าของธุรกิจอย่างไร


  • จัดทำงบการเงินอย่างถูกต้องได้ แม้จะไม่มีพื้นฐานด้านบัญชี เพราะ FlowAccount ช่วยทำบัญชีงบการเงินเบื้องต้นมาให้โดยอัตโนมัติแล้ว เจ้าของธุรกิจเพียงนำงบการเงินเบื้องต้นนี้ไปให้นักบัญชีช่วยทำการปรับปรุงรายการทางบัญชีต่อ ก็จะได้รายงานงบการเงินที่พร้อมส่งหน่วยงานของราชการ
  • รู้สถานะงบการเงินแบบไม่ต้องรอแค่วันสิ้นรอบบัญชี โปรแกรมบัญชีช่วยย่นเวลาให้เจ้าของธุรกิจสามารถดูงบการเงิน กำไรขาดทุนของธุรกิจได้ตลอดเวลา จากเดิมที่ดูได้แค่ครั้งเดียวตอนปิดงบสิ้นปี เพียงให้นักบัญชีเรียนรู้การทำงานผ่านโปรแกรมบัญชีแล้วคอยปรับปรุงรายการบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะได้ตัวเลขของธุรกิจที่ถูกต้องเอามาวางแผนงานต่อได้
  • ลดขั้นตอน Manual แต่เดิมการปิดงบการเงิน ทุกขั้นตอนตั้งแต่รวบรวมเอกสารมาทำงบตามมาตรฐานการบัญชี จนออกมาเป็นงบการเงินพร้อมส่งหน่วยงานราชการได้ นักบัญชีหรือเจ้าของธุรกิจจะต้องค่อยๆบันทึกทีละรายการ โปรแกรมบัญชีจึงช่วยลดงานทำมือไปได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในขั้นตอนการบันทึกเอกสารทุกกิจกรรมในธุรกิจ

 



สรุปแล้ว เทคโนโลยีทางด้านบัญชีเป็นเครื่องมือที่ช่วยปิดงบการเงินได้ตลอดเวลา ช่วยให้เจ้าของธุรกิจรู้เท่าทันเงินในกิจการของตัวเอง ไม่ต้องรอรู้ครั้งเดียวหลังปลายเดือนพฤษภาคม หรือวันส่งเอกสารให้กับหน่วยงานของราชการอีกต่อไป ตอบสนองการดำเนินธุรกิจในยุคที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น สำหรับนักบัญชีคนไหนมองหาวิธีปิดงบการเงินง่ายๆ ทาง Flowaccount มี ​​โปรแกรมระบบบริหารภาษี สำหรับนักบัญชี สามารถทดลองใช้ฟรีได้ค่ะ

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like