TikTok Shop เสียภาษีไหม เป็นคำถามที่ต้องพิจารณาในรายละเอียด หากคุณมีรายได้จากการขายของใน TikTok shop ทั้งปีเกิน 60,000 บาท จะมีหน้าที่ในการยื่นภาษี TikTok ในช่วง 1 ม.ค.-31 มี.ค.ของปีถัดไป การยื่นภาษีไม่ได้หมายความว่าจะต้องจ่ายเงิน แต่หากต้องเสียภาษีจริงๆ ต้องจ่ายเท่าไหร่ มีวิธีการยื่นยังไงเพื่อให้ไม่โดนโทษปรับย้อนหลัง รวบรวมไว้ที่นี่แล้ว |
เลือกอ่านได้เลย!
1. ภาษี 3 แบบ ที่ผู้ค้า Tiktok shop ต้องรู้จัก
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยผู้ค้าที่มีเงินได้ถึง 1,800,000 บาท มีหน้าที่จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน พูดง่ายๆ คือ 7% ที่คำสั่งซื้อของคุณถูก TikTok หักเงินไปเพื่อนำส่งสรรพากรนั่นเอง
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ TikTok หักจากเงินที่จ่ายให้คุณเป็น % เพื่อลดภาระการเสียภาษีก้อนใหญ่ ณ สิ้นปี โดยจะบังคับใช้กับนิติบุคคลเท่านั้น ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไป จะถูกนำไปคิดเป็นส่วนลดภาษีนิติบุคคลที่ต้องจ่าย ณ สิ้นปี แต่หากถ้ารายได้รวมทั้งปีไม่ถึงตามเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ผู้ขายก็สามารถยื่นเอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับจาก TikTok เพื่อขอเงินคืนจากกรมสรรพากรได้
3. ภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้มี 2 ประเภท คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์จำเป็นต้องยื่นด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องยื่นในกรณีที่มีการจดทะเบียนบริษัท
2. ขายของใน TikTok เสียภาษีเท่าไหร่
บทความนี้จะโฟกัสกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ TikTok Shop Seller ทุกคนจำเป็นต้องยื่น โดยขายของใน TikTok เสียภาษีไหม หรือเสียเท่าไหร่ต้องพิจารณาจากฐานภาษี ซึ่งได้จากการคำนวน เป็นดังนี้
“ฐานภาษี = รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน”
1. รายได้ เอายอดขายเป็นตัวตั้งไม่ใช่กำไร
สำหรับเงินได้ที่เป็นตัวตั้งของการคิดภาษีจะถูกแบ่งเป็น 8 ประเภท เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดรายละเอียดการคำนวณ โดยเงินได้ทั้งหมดก่อนหักต้นทุน ต้องถูกนำมารวมในก้อนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนจากการทำงานประจำ (เงินได้ประเภท 1) หรือรายได้จากการขายของออนไลน์ TikTok Shop (เงินได้ประเภทที่ 8) ซึ่งใช้ยอดขายก่อนหักต้นทุนทุกอย่างในการคำนวณและเงินได้อื่นๆ
2. หักต้นทุนเป็นค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน
ต้นทุนของสินค้าแต่ละร้านใน TikTok ไม่เท่ากัน สรรพากรจึงอนุญาตให้ผู้ขายบุคคลธรรมดาสามารถเลือกโครงสร้างต้นทุนของร้านได้ 2 วิธี ได้แก่
- วิธีหักตามต้นทุนจริง
- วิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้
ซึ่งคุณควรเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้สูงสุด
ตัวอย่าง
ขายสินค้า A ได้ 100 บาท มีต้นทุนจริง 60 บาท
ขายสินค้า B ได้ 200 บาท มีต้นทุนจริง 150 บาท
หมายความว่า คุณมีรายได้ 100 + 200 = 300 บาท
หากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะมีต้นทุนอยู่ที่ 60 + 150 = 210 บาท
หากหักต้นทุนแบบเหมา จะมีต้นทุนอยู่ที่ 300 x 60% = 180 บาท นั่นเอง
ในตัวอย่างนี้ควรเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริง เพราะหักต้นทุนได้มากกว่า ซึ่งเมื่อเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วจะต้องยึดวิธีนั้นปฏิบัติสำหรับทุกการขายทั้งปีและควรมีหลักฐานการจ่ายเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน
หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้คุณเสียภาษีน้อยลง ซึ่งค่าลดหย่อนพื้นฐานสำหรับตัวคุณเองคือ 60,000 บาท แต่สามารถนำครอบครัว การลงทุนหรือค่าลดหย่อนอื่นๆ มาหักเพิ่มได้ก่อนจะถูกนำไปคิดภาษีที่ต้องจ่ายจริง
3. ส่วนต่างคือฐานที่นำมาคิดภาษี
จะเสียภาษีหรือไม่ ต้องนำค่าที่ได้มาคำนวณและเปรียบเทียบ ดังนี้
ฐานภาษีที่คำนวณได้มีมูลค่าเกิน 150,000 บาทหรือไม่
- กรณี 1 เกิน 150,000 บาท: ให้นำฐานภาษีไปคูณอัตราภาษีขั้นบันได จะได้จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายทันที
- กรณี 2 ไม่เกิน 150,000 บาท: ให้นำยอดขายที่เป็นเงินได้ไปคูณ 0.5%
- เคส A: หากได้ค่าไม่เกิน 5,000 บาท ให้นำฐานภาษีที่คำนวณตอนแรกไปคูณอัตราภาษีขั้นบันได จะได้จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย
- เคส B: หากได้ค่าเกิน 5,000 บาท ค่าที่คำนวณได้คือจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย โดยไม่ต้องนำไปคูณอัตราภาษีขั้นบันได
ตัวอย่าง
เมื่อนำค่าที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบ จะเห็นว่าฐานภาษี 140,000 มีค่าน้อยกว่า 150,000 ตกเป็นกรณีที่ 2 ทำให้ต้องนำรายได้ 2,000,000 ไปคูณ 0.5% ก็จะได้เท่ากับ 10,000 บาท ซึ่งมีค่าเกิน 5,000 บาท จึงตกเป็นเคส B ฉะนั้น ภาษีที่ต้องเสียคือ 10,000 บาท โดยไม่ต้องนำไปคูณอัตราภาษีขั้นบันได
สามารถอ่านตัวอย่างวิธีการคิดภาษีสำหรับผู้ประกอบการเพิ่มเติมได้ที่นี่
3. เริ่มยื่นภาษียังไงให้ไม่โดนโทษปรับย้อนหลัง
ยื่นภาษีตามความเป็นจริงและยื่นฟอร์ม ภ.ง.ด.90 ให้ตรงเวลา คือภายใน 1 ม.ค. - 31 มี.ค.ของปีถัดไป หรือจนถึงวันที่ 8 เม.ย.กรณียื่นออนไลน์ และยื่นภาษีครึ่งปีด้วยฟอร์มภ.ง.ด.94ภายในเดือน ก.ย. ในปีที่มีรายได้
4. ผู้ขายใน TikTok ต้องยื่น ภพ.36 ไหม?
ภพ.36 คือแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีซื้อสินค้าหรือใช้บริการในไทยแต่ผู้รับเงินอยู่ต่างประเทศ ซึ่ง TikTok จะรับผิดชอบในการกำหนด รวบรวม และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้คำตอบคือ ผู้ขายไม่ต้องยื่นภพ.36 โดยผู้ค้าที่จดทะเบียน VAT สามารถสร้างใบกำกับภาษี TikTok Shop พร้อมกรอกหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่เมนูการกำหนดค่าบัญชีตัวจัดการโฆษณาบน TikTok ได้เลย
สุดท้ายนี้ อย่าลืมหาตัวช่วยที่ให้คุณทำงานง่ายขึ้นอย่าง FlowAccount โปรแกรมบัญชีออนไลน์เพื่อคนค้าขายออนไลน์ ช่วยให้การทำบัญชีจากการขายของใน TikTok Shop รวมถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ กลายเป็นเรื่องง่าย! ทำงานแบบอัตโนมัติตั้งแต่ออกบิล จัดการสต๊อก หรือจะสรุปยอดขายก็ครบ จบในโปรแกรมเดียว
_______________________________________________________________
ขอขอบคุณข้อมูลจาก seller-th.tiktok, ads.tiktok, seller-th.tiktok, TopFive Accounting and Consultant, finnomena, kasikornbank,
About Author
ชนิสรา กิจศรีโสภณ: SEO content writer และ IT auditor ผู้กระตือรือร้นในการอัปเดตความรู้ นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจและข้อมูลเชิงลึกพร้อมย่อยให้เข้าใจง่ายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้อ่าน