จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไหน
การจดทะเบียนทุกวันนี้สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ ติดต่อผ่านทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือ จดทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากรที่หน้า บริการ VAT SBT ONLINE
ถ้าวันหนึ่งอยากออกจากระบบต้องทำยังไง
การออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะสามารถออกได้เมื่อมีรายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยสามารถไปจดทะเบียนขอออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.08 คำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์นี้ได้ http://download.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/request/PP08_140355.pdf
จด VAT แล้วต้องทำอะไรบ้าง
หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่หลักๆ ดังต่อไปนี้

- จัดทำใบกำกับภาษี โดยออกทุกครั้งเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการ และเกิดจุดความรับผิดทางด้านภาษี เช่น ขายสินค้า ออกเมื่อมีการส่งมอบสินค้า (ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี) หรือ บริการ ออกเมื่อมีการรับชำระเงิน (ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน) เป็นต้น
- จัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ
- นำยอดภาษีขาย (ที่เราออก) มาหักด้วยภาษีซื้อ (ที่จ่ายไป) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แบบ ภ.พ. 30 ในทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (อาจมีขยายเวลาบางกรณี) ซึ่งสามารถดูได้จากปฏิทินภาษีอากร ซึ่งจะมีลิงก์ให้เพิ่มเข้าไปใน Google Calendar ของคุณได้อีกด้วย
ในส่วนของการทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ดาวน์โหลดรายงานทั้งสองนี้ออกมา เพื่อเป็นข้อมูลในการนำส่งแบบยื่นภาษี ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น
- บริษัท ขายดีมีกำไร จำกัด มีการซื้อสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 1 รายการในราคา 100,000 บาท (ยอดรวมภาษี 107,000 บาท)
- และขายสินค้าตัวนี้ออกไปให้กับ บริษัท รับซื้อทุกอย่าง จำกัด ในราคา 200,000 บาท (ยอดรวมภาษี 214,000 บาท)
ดังนั้นสิ่งที่บริษัท ขายดีมีกำไร จำกัด ต้องทำคือ
- ขอใบกำกับภาษี (ตอนซื้อ)
- ออกใบกำกับภาษี (ตอนขาย)
- และจัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
หลังจากนั้นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 14,000 (ภาษีซื้อ) ลบกับ 7,000 (ภาษีขาย) เหลือ 7,000 บาท นำส่งให้แก่กรมสรรพากร
ตัวอย่างการคำนวณ VAT เพิ่มเติม
จะเห็นว่าภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะคำนวณยังไง เราต้องทำความเข้าใจ “ภาษีซื้อ” และ “ภาษีขาย“ ก่อน เพราะยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องยื่นแก่สรรพากรนั้นคำนวณจาก


การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บริหารภาษีมูลค่าเพิ่มยังไงดี
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ ที่ภาษีซื้อ > ภาษีขาย ไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม เราจะมีสิทธิเลือกได้ว่า ยอดที่จ่ายเกินจะขอคืน “ทันที” ในเดือนนั้น หรือจะ “พันยอด”
ซึ่งการพันยอด หมายถึง ยกยอดเครดิตไปใช้ในเดือนต่อๆ ไป เพื่อให้ลดยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายลง เช่น เดือนนี้ยกยอด 7,000 บาทไปใช้ในเดือนหน้า ถ้าหากเดือนหน้าต้องยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 10,000 บาทก็จะนำยอด 7,000 ที่ค้างไว้มาหัก และเหลือนำส่งแค่ 3,000 บาทนั่นเอง
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพันยอดภาษีซื้อได้ ที่นี่
พอเป็นแบบนี้ก็เลยมีหลายๆ คนมักจะแนะนำว่า ถ้าไม่อยากเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเยอะๆ เราก็แค่ทำให้ภาษีซื้อมันเยอะๆ สิ แต่วิธีการแบบนี้ หากไม่ใช่ภาษีซื้อจากการประกอบกิจการจริงๆ ก็คงไม่ดีแน่ เพราะการซื้อสินค้าและนำใบกำกับภาษีซื้อที่เป็นค่าใช้จ่ายเข้ามามากๆ นั้น อาจจะทำให้ “ต้นทุน” และ “ค่าใช้จ่าย” ไม่สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจจริง รวมถึงอาจกลายเป็นภาษีซื้อ “ต้องห้าม” ที่ไม่สามารถขอคืนภาษีได้อีกด้วย (เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ) สุดท้ายกลายเป็นว่าธุรกิจต้องมาจ่ายเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากการนำส่งข้อมูลผิดพลาดอีกหลายต่อเสียด้วยซ้ำ (รู้สึกตัวอีกที สรรพากรก็เข้ามาเยี่ยมเยียนถึงออฟฟิศซะแล้ว)