ขึ้นทะเบียนและทำธุรกรรมประกันสังคมออนไลน์ทีละขั้นตอน

ประกันสังคม

ประกันสังคมคงจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้คืออะไร กิจการต้องทำอะไรบ้าง หากต้องการยื่นหรือเข้ารวมต้องทำอย่างไร เราจะมาแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับการทำประกันสังคมด้วยตนเองบนระบบออนไลน์ที่คุณก็สามารถทำเองได้ง่ายๆ

ประกันสังคมคงจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้คืออะไร กิจการต้องทำอะไรบ้าง หากต้องการยื่นหรือเข้ารวมต้องทำอย่างไร

 

วันนี้เราจะมาแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับประกันสังคม พร้อมทั้งแนวทางในการทำธุรกรรมในรูปแบบออนไลน์กันค่ะ

 

เรียนบัญชี FlowAccount

 

ประกันสังคมคืออะไร?

 

ประกันสังคม คือ การออมเงินอย่างหนึ่งที่ภาครัฐกำหนดขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยมีการออมเงินเกิดขึ้น โดยเงินในการออมนั้นจะมาจากการหักเงินเดือนของลูกจ้าง (หรือเรียกอีกอย่างว่า “ผู้ประกันตน” ) ไว้บางส่วนและนายจ้างนั้นสมทบให้เพิ่มเติม เงินทั้งสองส่วนดังกล่าวจะถูกนำส่งเข้าไปในกองทุนประกันสังคม ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในเวลาเจ็บป่วยหรือเกษียณอายุ

 

โดยสิทธิประกันสังคมจะครอบคลุมหลักๆ คือ ค่ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ระบุเอาไว้ ค่าทำฟัน ค่าชดเชยเมื่อทุพพลภาพ ค่าชดเชยเมื่อเสียชีวิต ค่าคลอดบุตร ค่าเทอมบุตร ค่าชดเชยเมื่อตกงาน และ เงินเกษียณอายุ

 

เมื่อไรที่นายจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม

 

นายจ้างจะต้องทำการขึ้นทะเบียนประกันสังคมเมื่อนายจ้างทำธุรกิจและเริ่มมีลูกจ้าง (อายุระหว่าง 15-60 ปี) แม้เพียง 1 คน ก็จะต้องมีการขึ้นทะเบียนนายจ้างและขึ้นทะเบียนลูกจ้างผู้ประกันตนภายใน 30 วัน 

 

โดยในทุกๆ การจ้างงาน นายจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องไปขึ้นทะเบียนให้กับลูกจ้างภายใน 30 วัน และถ้าหากมีการลาออกหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สถานะภาพของการมีบุตร เป็นต้น ให้แจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

ขึ้นทะเบียนประกันสังคมต้องทำอย่างไรและใช้เอกสารอะไรบ้าง

 

ในครั้งแรกนายจ้างจำเป็นจะต้องไปยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมก่อน ยังไม่สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้เลย โดยต้องจัดเตรียมเอกสารเพื่อไปขึ้นทะเบียนนายจ้างดังต่อไปนี้

 

เอกสารสำหรับนายจ้าง (นิติบุคคล)

  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หรือ สำเนาภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือ สำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือ สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) - ถ้ามี
  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์ ถ้ามอบอำนาจให้ผู้อื่นมาขึ้นทะเบียนแทน

 

การขึ้นทะเบียนนายจ้างเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ทำอย่างไร

 

หลังจากที่นายจ้างได้ขึ้นทะเบียนแล้ว เพื่อความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ นายจ้างจะต้องยื่นแบบคำร้องขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

1.เข้าไปที่  www.sso.go.th  และเลือกไปที่ “สถานประกอบการ”

 

นายจ้างเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์

 

2.เลือกไปที่ “ขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต” เพื่อให้สามารถทำการธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้

 

ประกันสังคม

 

3.หลังจากนั้นหน้าจอจะแสดงข้อตกลงและเงื่อนไข เมื่ออ่านครบถ้วนแล้วให้ติ๊กถูก (✓) และกด “ดำเนินการต่อ”  โดยจะมีหน้าจอปรากฎขึ้นมาให้กรอกรายละเอียดของผู้ขอทำธุรกรรมและรายละเอียดของสถานประกอบการ

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กดดำเนินการต่อ โดยหน้าจอจะขึ้นให้ทำการ “ยืนยันการส่งข้อมูล” 

 

4.หลังจากนั้นเมื่อประกันสังคมทำการอนุมัติการทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว จะมีอีเมลล์ที่แจ้ง ชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ส่งไปยังอีเมลล์ที่ใช้ลงทะเบียนเอาไว้ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกับการขอใช้งานออนไลน์ โดยหลังจากนี้นายจ้างก็จะสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้แล้ว

 

เมื่อมีการจ้างพนักงาน จะทำการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนผ่านระบบออนไลน์อย่างไร

 

เมื่อนายจ้างมีลูกจ้างอย่างน้อย 1 คนและต้องทำการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

1. เมื่อ Log in เข้าสู่ระบบแล้ว ให้คลิก “ทะเบียนผู้ประกันตน”

 

2. เลือก “ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03)” เพื่อทำการขึ้นทะเบียน และเลือกสถานประกอบการที่ต้องการดำเนินงานด้านทะเบียน

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

3. หลังจากนั้นจะปรากฎหน้าจอเพื่อให้กรอกข้อมูลของผู้ประกันตน(ลูกจ้าง)

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

4. กรอกข้อมูลผู้ประกันตนให้ครบถ้วนแล้วให้เลือก “ดำเนินการต่อ” ระบบจะแสดงหน้าจอขึ้นมาให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

5. หากข้อมูลนั้นถูกต้องดีแล้ว ให้กดเลือก “ดำเนินการต่อ” ระบบจะแสดงหน้าจอยืนยันการบันทึกข้อมูล และส่ง e-Mail แจ้งรับข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03

 

เมื่อพนักงานลาออกจะยกเลิกประกันสังคมผผ่านระบบออนไลน์อย่างไร

 

เมื่อมีลูกจ้างลาออก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

1. เมื่อ Log in เข้าสู่ระบบแล้ว ให้คลิก “ทะเบียนผู้ประกันตน” ระบบจะแสดงหน้าจอทะเบียนผู้ประกันตน

 

2. เพื่อยกเลิกการประกันตนของพนักงานที่ลาออก ให้เลือก “แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)” และเลือกสถานประกอบการที่ต้องการดำเนินงานด้านทะเบียน

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

3. หลังจากนั้นระบบจะขึ้นหน้าจอให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานที่ลาออก ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน วัน/เดือน/ปี ที่สิ้นสุดการทำงาน และ สาเหตุในการลาออก

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

4. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้กด “ดำเนินการต่อ” โดยระบบจะขึ้นหน้าจอให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง เมื่อตรวจสอบว่าข้อมูลครบถ้วนดีแล้วให้เลือก “ดำเนินการต่อ”

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

5. หลังจากนั้นระบบจะแสดงหน้าจอยืนยันการบันทึกข้อมูลพร้อมทั้งส่ง e-Mail แจ้งรับข้อมูลการลาออกของผู้ประกันตน สปส.6-09

 

การส่งข้อมูลเงินสมทบในแต่ละเดือนผ่านระบบออนไลน์ทำอย่างไร

 

ในการส่งข้อมูลเงินสมทบ  สามารถเข้าใช้งานเมนูส่งข้อมูลเงินสมทบโดยคลิกที่ “ส่งข้อมูลเงินสมทบ” ระบบจะแสดงหน้าจอเลือกวิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ

 

เงินสมทบคืออะไร 

 

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งฐานค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน เดือนละ 15,000 บาท (เงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 83 บาท และไม่เกินเดือนละ 750 บาท) ทั้งนี้รัฐบาลจะออก เงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง

 

ในวันนี้จะขอยกตัวอย่างการส่งเงินสมทบ กรณียื่นชำระเงินสมทบเพียงสถานประกอบการเดียว โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

1. เมื่อ Log in เข้าสู่ระบบแล้ว จะมีให้เลือกว่ารายการที่จะทำเป็นการ “ทำรายการใหม่” หรือ “ดึงข้อมูลจากรายการก่อนหน้า”

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

2. ให้เลือกไปที่ “ทำรายการใหม่” ระบบจะแสดงหน้าจอเลือกวิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ และให้เลือกกิจกรรมที่ต้องการดำเนินการ “ส่งเงินสมทบแบบแยกยื่น (ตามแบบ สปส.1-10 กรณียื่นชำระเงินสมทบเพียงสถานประกอบการเดียว)” 

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

3. เลือกสถานประกอบการที่ต้องการยื่นส่งเงินสมทบ และกด “ดำเนินการต่อ” และระบบจะแสดงหน้าจอการเลือกวิธีนำส่งข้อมูล

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

4.กรอกรายละเอียดการส่งเงินสมทบและเลือกวิธีการนำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบและกด “ดำเนินการต่อ” ระบบจะแสดงหน้าจอบันทึก/อัพโหลดข้อมูล

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

5. หลังจากนั้นให้ระบุจำนวนผู้ประกันตนที่กิจการต้องการนำส่งเงินสมทบแล้วกด “ตกลง” ระบบจะเพิ่มจำนวนรายชื่อที่ต้องกรอกข้อมูลให้

 

6. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน คำนำหน้าชื่อ ชื่อ สกุล และค่าจ้าง ระบบจะคำนวณเงินสมทบให้อัตโนมัติ และกด “ดำเนินการต่อ”

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

7.ระบบจะแสดงหน้าจอสรุปข้อมูลเงินสมทบ ให้ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการนำส่งเงินสมทบให้ถูกต้องและจึงทำการยืนยันการส่งข้อมูล

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

8.ระบบจะแสดงหน้าจอยืนยันการบันทึกข้อมูลพร้อมทั้งส่ง e-Mail แจ้งรับข้อมูลเงินสมทบ และให้คลิกปุ่ม “ชำระเงิน” หากต้องการชำระเงินทันทีระบบจะแสดงหน้าจอเลือกวิธีชำระเงินสมทบ

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

9.เลือกวิธีการชำระเงินและกด “ดำเนินการต่อ” และระบบจะดำเนินการตามวิธีการชำระเงินที่เลือก

 

ประกันสังคมออนไลน์

 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับการขึ้นทะเบียนและการนำส่งเงินสมบทด้วยวิธีการออนไลน์ จะเห็นได้ว่าคุณเองก็สามารถทำได้ไม่ยากเลย 

 

นำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบจะต้องทำอย่างไร 

 

นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้นำส่ง หรือจำนวน เงินที่ขาดอยู่ และต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาเท่านั้น

 

เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม 

 

1. บัตรประกันสังคม 

- ผู้ประกันตนที่เป็นคนไทย ใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรประกันสังคม 

- ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าว จะได้รับบัตรประกันสังคมเพื่อใช้ในการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคม 

 

2. บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล 

เมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ เพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิ ซึ่งผู้ประกันตนได้เลือกไว้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการร้องขอเพื่ออำนวยความสะดวก ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง

 

ถ้าหาสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ www.sso.go.th หรือติดต่อสายด่วนได้เลยที่เบอร์ 1506 

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like