ฤดูยื่นภาษีประจำปีได้ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้หลายคนคงจะกำลังรอเงินคืนภาษีและมีคำถามเรื่องตรวจสอบสถานะคืนภาษีกันแน่เลย สำหรับใครที่กำลังเฝ้ารออยู่และ ใครที่อยากทำความเข้าใจเรื่องการขอคืนเงินภาษี FlowAccount รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาฝากในบทความนี้แล้วค่ะ |
ฤดูยื่นภาษีประจำปีได้ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้หลายคนคงจะกำลังรอเงินคืนภาษีและมีคำถามเรื่องตรวจสอบสถานะคืนภาษีกันแน่เลย สำหรับใครที่กำลังเฝ้ารออยู่ และใครที่อยากทำความเข้าใจเรื่องการขอคืนเงินภาษี FlowAccount รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาฝากในบทความนี้แล้วค่ะ
การขอเงินคืนภาษี แน่นอนว่าเป็นสิทธิของผู้เสียภาษีอย่างเรา ที่ทำได้เมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีไป (หรือที่เวลาเรามีรายได้แต่ตอนที่รับเงินเราได้ไม่เต็มนั่นเองค่ะ) มากกว่าจำนวนภาษีที่ตัวเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง หลังจากคำนวณภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นกันที่ ตรวจสอบสถานะการคืนภาษี
หลายคนอาจนั่งรอว่าเมื่อไหร่เงินคืนภาษีจะเข้าบัญชีสักที จริงๆแล้วสามารถตรวจสอบสถานะ “คืนเงินภาษี”หรือสอบถามข้อมูลการขอคืนได้ง่ายๆ ได้ทันที ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ค่ะ
1. เว็บไซต์กรมสรรพากร
ช่องทางนี้ขอแค่มีเพียงมีอินเทอร์เน็ตก็สามารถตรวจสอบสถานะได้แล้วค่ะ
เมื่อเข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th เลือกเมนู “ตรวจสอบผลการขอคืน (e-Refund)” จากนั้นเลือกปีภาษีที่ต้องการขอตรวจสอบ และกรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและข้อมูลอื่นๆ จากนั้นก็กด “สอบถาม” ระบบก็จะแสดงรายละเอียดให้สามารถตรวจสอบได้
วิธีตรวจสอบสถานะการยื่นภาษี เมื่อทำผ่านเว็บไซต์
เมื่อเรายื่นแบบภาษีผ่านทางเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว ใครที่อยากรู้ว่าภาษีที่นำส่งไปอยู่ในสถานะใด สามารถตรวจสอบสถานะในระบบที่มีทั้งหมด 5 สถานะ ตามด้านล่างนี้ค่ะ
2. ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center : 1161)
อีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวกของผู้เสียภาษีคือ โทรสอบถาม Call Center ของกรมสรรพากรเพื่อขอตรวจสอบที่เบอร์ 1161 และแจ้งข้อมูลเพื่อสอบถามสถานะการขอคืนเงินภาษีได้โดยตรง
3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่แสดงในแบบแสดงรายการ
ใครที่ยื่นภาษีด้วยการส่งเอกสารกับสำนักงานสรรพากรในพื้นตามภูมิลำเนา และอยากตรวจสอบสถานะขอคืนเงินภาษี ก็สามารถเข้าตรวจสอบสถานะได้ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่เราเข้าไปยื่นภาษีกับทางเจ้าหน้าที่ได้เลยค่ะ
วิธีส่งเอกสารเพื่อขอคืนภาษี
ผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบช่องทางการส่งเอกสารประกอบการพิจารณาคืนภาษีให้แก่เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร สำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตได้ดังนี้
- ส่งด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
- โทรสาร (FAX) ตามหมายเลขโทรสารที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
- ส่งไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
- Upload เอกสารทางอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
ไฟล์สามารถ Upload ได้จะต้องเป็นสกุล JPG, BMP, PNG, TIFF, PDF ที่ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 3 MB ขนาดของไฟล์รวมกันแต่ละครั้งไม่เกิน 20 MB และสามารถนำส่งได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ ระบบไม่รองรับไฟล์ PDF ที่มี Password
ช่องทางการคืนเงินภาษี
ผู้ที่ได้รับเงินคืนภาษีสามารถรับเงินผ่าน “ช่องทางการคืนเงิน” 3 ช่องทาง ดังนี้ค่ะ
- การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- กรมสรรพากรจะโอนเงินภาษีที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์
- สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และ
- ที่ได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารแล้ว
- การคืนเงินผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์
- กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดังนี้
- การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
- จัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน
- เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
กรณีไม่ได้รับหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21)
หากท่านที่ต้องได้รับเงินคืนภาษีไม่ได้รับเอกสาร ค.21 ที่อาจเกิดจากไปรษณีย์ส่งไม่ถึงผู้รับ หรือสูญหายระหว่างทาง ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ยังมีวิธีการแก้ไขได้ดังนี้ค่ะ
- ผู้ขอคืนสามารถติดต่อขอให้ออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค.21 ฉบับใหม่ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ
- ยื่นคำร้องขอให้ออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) ฉบับใหม่ ค.39 ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
ระยะเวลาในการได้รับเงินคืนภาษี
ปกติแล้วทางกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี (ค.10)
เคล็ดลับการได้เงินคืนภาษีให้รวดเร็วขึ้น
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเวลายื่นภาษีก็คือ ความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร และ ช่องทางการรับเงินคืนภาษี เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้ว สิ่งที่เราต้องคอยตรวจสอบและเตรียมพร้อมตั้งแต่ต้นปีจะมีทั้งหมด 3 ข้อดังนี้ค่ะ
1. เตรียมความพร้อมด้านเอกสารหลักฐาน
เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันตัวเลขรายรับ รายจ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆของเราได้ เพราะเอกสาร คือ หัวใจหลักของการยื่นภาษี ดังนั้นหากยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน ตามตัวเลขที่แจ้งไว้ทางสรรพกรก็อาจขอเรียกดูเอกสารเพิ่มเติม และใช้เวลานานขึ้นกว่าที่เราจะได้รับคืนเงินภาษี
เอกสารที่ควรเตรียมพร้อมทุกครั้งที่ยื่นภาษีมีดังนี้
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบทวิ 50)
- เอกสารเกี่ยวกับค่าลดหย่อน เช่น เอกสารการซื้อกองทุน, หนังสือรับรองการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต ใบเสร็จที่ใช้จ่ายโครงการช้อปดีมีคืน 2566 เป็นต้น
2. อัพโหลดเอกสารเพิ่มเติมบนเว็บไซต์กรมสรรพากร
เมื่อเรามียอดภาษีที่ถูกหักไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ จะต้องมีนำส่งเอกสารให้สรรพากรเพิ่มเติม
โดยเข้าไปที่ระบบ E-Refund แล้วคลิกที่ ‘นำส่งเอกสารประกอบพิจารณาการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ แล้วอัพโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องเข้าไป
โดยการอัพโหลดเอกสารต้องไฟล์สามารถ Upload ได้จะต้องเป็นสกุล JPG, BMP, PNG, TIFF, PDF ที่ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 3 MB ขนาดของไฟล์รวมกันแต่ละครั้งไม่เกิน 20 MB และสามารถนำส่งได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ ระบบไม่รองรับไฟล์ PDF ที่มี Password นั่นเอง
3. รับผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน
หากผู้เสียภาษีผูกพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคาร โดยต้องทำการเชื่อมพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน และหากผ่านการพิจารณาคืนภาษี กรมสรรพากรก็จะโอนเงินภาษีนั้นคืนใน 3 - 5 วันทำการ ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด
แต่ถ้าหากไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ไว้ ทางสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษี (ค.21) ส่งทางไปรษณีย์ สำหรับเป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนได้ที่ธนาคารกรุงไทย (KTB) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ซึ่งก็จะช้ากว่าพอสมควรเลยค่ะ
กรณีที่ยื่นขอคืนเงินภาษีไปแล้ว แต่พบว่ายอดคืนภาษีไม่ตรงกับยอดที่ยื่นไปที่ควรจะได้รับ และไม่เห็นด้วย ก็สามารถอุทธรณ์ต่อกรมสรรพากรได้เช่นกันนะคะ
ทาง Flowaccount เองก็มี โปรแกรมระบบบริหารภาษี ที่เป็นตัวช่วยให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่าย สามารถใช้ได้ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
About Author
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA Thailand) เจ้าของเพจ “Chalitta Accounting” มีประสบการณ์ตรวจสอบบัญชีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษีแก่ผู้ประกอบการ SMEs
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนของ FlowAccount ได้ที่นี่