ฟรีแลนซ์ที่ได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ และจ่ายค่าบริการจากต่างประเทศ เราก็ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทยตามปกติ ในกรณีที่เราตรงกับเงื่อนไขครบทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
|
ในโลกที่ผู้คนทั่วโลกเชื่อมต่อกันได้ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้วิถีการทำงานของคนในยุค ปัจจุบันสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก จากที่ต้องหางานประจำเป็นหลักแหล่ง หลายคนก็เริ่มหันมารับงาน ในแบบฟรีแลนซ์ได้จากทั่วทุกมุมโลก ด้วยฝีมือคนไทยในวงการต่างๆก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร ฟรีแลนซ์ บางคนได้รับการว่าจ้างจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจนอาจนับได้ว่าเป็นแหล่งเงินได้หลักเลยทีเดียว แม้ว่าจะยังอาศัยอยู่ในไทยก็ตาม
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเข้าวงการนี้ก็อาจจะมีคำถามว่า ถ้าเรารับงานจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีอย่างไร จะเหมือนหรือต่างกันอย่างไรกับการรับงานในไทยปกติ แล้วจะเสียภาษีอย่างไรจึงจะถูกต้อง มาหาคำตอบกันค่ะ
รับงานและค่าจ้างจากต่างประเทศ แล้วต้องเสียภาษีให้ประเทศไทยไหม
สำหรับฟรีแลนซ์ที่ได้รับค่าจ้างจากบริการต่างๆ อย่างเช่น การออกแบบ การสอนออนไลน์ การให้ใช้พื้นที่สื่อของตัวเองเพื่อการโฆษณา และอื่นๆ โดยผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ และจ่ายค่าบริการจากต่างประเทศ เราก็ต้องเสียภาษีให้ประเทศไทยตามปกติ ในกรณีที่เราตรงกับเงื่อนไขครบทั้ง 2 ข้อดังต่อไปนี้:
- ผู้ที่รับรายได้จากต่างประเทศและอยู่ในประเทศไทยในปีนั้น (ไม่ว่าจะเดินทางเข้าออกประเทศไทยกี่ครั้งก็ตาม) หากรวมทั้งหมดแล้วได้ตั้งแต่ 180 วัน เป็นต้นไป
- ผู้ที่รับรายได้จากต่างประเทศแล้วนำกลับเข้ามาในไทยในปีเดียวกันกับปีที่ได้รับค่าจ้าง
อย่างไรก็ตาม แต่ละคนล้วนมีลักษณะงานเฉพาะของตัวเอง จึงไม่แปลกที่หลายคนยังสงสัยว่าเราเข้าข่ายเสียภาษีในไทยหรือเปล่า ลองมาดูตัวอย่างของงานลักษณะต่างๆว่า ใครต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย หรือใครที่ไม่เข้าข่ายบ้าง
ฉะนั้นฟรีแลนซ์คนใดที่อยู่ประเทศไทยตั้งแต่ 180 วัน และนำเงินค่าจ้างจากต่างประเทศเข้ามาในปีนั้นๆ ก็เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายไทย ยกเว้นกรณีที่เปิดบัญชีไว้ที่ต่างประเทศ และไม่ได้นำเงินก้อนนั้นเข้าในไทยเลยในรอบปีภาษี
ออกบิลสกุลเงินตราต่างประเทศด้วย FlowAccount
ฟรีแลนซ์คนใดที่กังวลเรื่องการออก Invoice เรียกเก็บเงินค่าจ้างจากต่างประเทศ FlowAccount ช่วยคุณได้ตั้งแต่เริ่มรับงาน ระหว่างการทำงาน จนกระทั่งจบงาน โดยโปรแกรมสามารถเปิดเอกสารที่ใช้ในการรับงานเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่กำหนดเองได้ พร้อมเชื่อมต่ออัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเลือกสกุลเงินสำหรับเปิดเอกสารแล้ว ระบบจะดึงอัตราแลกเปลี่ยนเวลาสร้างเอกสารมาให้อัตโนมัติ
คุณเองก็สามารถออกเอกสารสกุลเงินต่างประเทศได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม FlowAccount ไม่ว่าจะเป็น
- ใบเสนอราคา (Quotation) เอกสารที่ใช้แจ้งรายละเอียดงาน ประเมินราคา และเงื่อนไขการรับงาน ให้กับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร
- ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เอกสารที่ใช้เรียกเก็บเงินจากลูกค้าหลังจากทำงานเสร็จ บางครั้งอาจจะ เรียกเก็บค่ามัดจำมาก่อน หรือเก็บเงินเป็นงวดๆ ตามความสำเร็จของงานก็ได้เช่นกัน
- ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) หลังจากได้รับชำระเงินจากลูกค้าแล้ว เพื่อยืนยันการรับชำระเงิน แต่ฟรีแลนซ์อย่างเราถือเป็นอาชีพอิสระ ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี หากยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรีแลนซ์ที่เริ่มรับงานต่างประเทศสามารถศึกษาวิธีออก Invoice เป็นสกุลเงินต่างประเทศของโปรแกรม FlowAccount ได้ทางลิงก์ https://flowaccount.com/faq/knowledge-base/multi-currencies-invoice/
ฟรีแลนซ์เสียภาษีอย่างไร ต่างจากการทำงานในไทยหรือเปล่า
คำตอบก็คือ ยื่นภาษีตามปกติเหมือนเวลาทำงานในไทยเลย และส่วนมากจะมี 2 กรณี ดังนี้
- กรณีที่เรามีค่าจ้างจากงานประจำในไทยอยู่แล้ว แต่รับงานฟรีแลนซ์ต่างประเทศด้วย ให้นำค่าจ้างจากทั้งสองส่วนมารวมกัน และยื่นภาษีตามปกติ
- กรณีที่เราเป็นฟรีแลนซ์ที่ได้เงินจากต่างประเทศเป็นหลักหรือทั้งหมดเลยก็ตาม และเข้าเงื่อนไขการเสียภาษีประเทศไทย (A และ B) 2 ข้อตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราก็จะต้องยื่นภาษีตามปกติเช่นกัน
การยื่นภาษีในแต่ละปีของทั้งสองกรณีจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับคนที่มีค่าจ้างอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน หรือคนที่รับค่าจ้างแบบไม่ใช่งานประจำ ตามแบบฉบับชาวฟรีแลนซ์เต็มตัว อย่างไรก็ตาม ระบบยื่นภาษีของกรมสรรพากรจะเลือกแบบที่ตรงกับลักษณะรายได้เราให้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเลือกผิดแบบแล้วมีปัญหาในภายหลัง ที่สำคัญที่สุดคือ ยื่นภาษีทุกปีให้ครบถ้วน จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องโดนค่าปรับย้อนหลัง
TIPS: ประเทศไทยมี “อนุสัญญาภาษีซ้อน” กับหลายประเทศทั่วโลกเพื่อป้องกันการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซ้ำซ้อนกับต่างประเทศ สามารถดูรายละเอียดและรายชื่อประเทศคู่สัญญาได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร
\
About Author
บริษัทด้านการบัญชี ให้คำปรึกษาด้านการวางแผนภาษีและบริการอื่นๆ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งในแวดวงบัญชีและหลากหลายธุรกิจ มุ่งเน้นความเข้าใจในตัวธุรกิจและความถูกต้องตามหลักการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการ SMEs ยุคใหม่