ซื้อ Gift Voucher ของสมมนาคุณแจกลูกค้า ต้องขอเอกสารใด บันทึกบัญชีอย่างไร

แจกของสมมนาคุณลูกค้า

การแจก Gift Voucher โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็นกี่แบบบ้าง แต่ละแบบจะเกิด Tax Point เมื่อใด การซื้อ Voucher แต่มีการนำ Voucher นั้นไปซื้อสินค้าหรือบริการ จะมีผลต่อการบันทึกบัญชี และจัดการเอกสารภาษีอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้กันค่ะ 

อยากขายของได้ก็ต้องทำโปรโมชั่น และทางเลือกหนึ่งในการทำโปรโมชั่นก็คือ การซื้อ Gift Voucher มาแจกลูกค้าค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Gift Voucher ร้านอาหารหรือบัตรแทนเงินสด แต่ทุกคนสงสัยเหมือนกันใช่ไหม บางครั้งซื้อ Gift Voucher ในใบเสร็จบ้างก็มี VAT บ้างก็ไม่มี VAT แบบนี้เอกสารที่เราได้รับถูกหรือผิดกันแน่ คำตอบที่ถูกต้องมันคืออะไร Tax Point อยู่ตรงไหน และบันทึกบัญชีเมื่อไร เราสรุปมาให้ในบทความนี้เลยค่ะ

 

Tax point ของสินค้าและบริการคืออะไร แตกต่างกันยังไง

 

ก่อนจะไปถึงขั้นวิธีการออกใบกำกับภาษีของ Gift Voucher เราต้องรู้จักกับ Tax point ของภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนค่ะ

 

Tax point คือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในมัลติเวิร์สของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นแตกออกเป็นหลายกรณีมาก แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีทั่วไป คือ การขายและให้บริการกันนะคะ 

 

Tax point ขายสินค้า ตามมาตรา 78 (1)

  • ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า
  • หรือเมื่อ โอนกรรมสิทธิ์สินค้าก่อน
  • หรือเมื่อ ได้รับชำระราคาสินค้าก่อน
  • หรือเมื่อ ได้ออกใบกำกับภาษีก่อน

Tax point ให้บริการ ตามมาตรา 78/1 (1)

  • ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ
  • หรือเมื่อ ได้ออกใบกำกับภาษีก่อน
  • หรือเมื่อ ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อน

 

ความแตกต่างระหว่าง Tax Point ขายสินค้าและบริการ

 

ดังนั้น สรุปง่ายๆ ก็คือ ในกรณีทั่วไป ถ้าเป็นการขายสินค้าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อส่งมอบ และถ้าเป็นบริการต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระราคา

 

ตัวอย่างการแจก Gift Voucher รูปแบบต่างๆ

 

ทีนี้เรามาทำความรู้จักตัวอย่างการแจก Gift Voucher ที่มักจะพบกันบ่อย 3 เรื่องกันค่ะ

 

 

 

Gift Voucher ประเภทแรก อาจมาในรูปแบบ “คูปองแลกสินค้าและบริการ” ที่หน้าคูปองจะระบุชัดเจนว่านำไปแลกสินค้าหรือบริการอะไร หรือใช้คูปองนี้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร เช่น คูปองตรวจสภาพรถ หน้าคูปองจะเขียนไว้ชัดว่าเอาไว้แลกกับบริการตรวจสภาพรถ 1 คูปอง แลกตรวจสภาพรถได้ 1 ครั้ง เป็นต้น

 

 

  • Gift Voucher แทนเงินสด 

ประเภทถัดมาเป็น Gift Voucher ที่ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์การแลกสินค้าหรือบริการเอาไว้ ได้แก่ “คูปองแทนเงินสด” ในความหมายของสรรพากรจะเท่ากับ “บัตรเงินสด” โดยหน้าบัตรจะเขียนไว้ว่าใช้แทนเงินสดเท่าไหร่ 

 

ซึ่งตัวบัตรเงินสดนี้เราสามารถเอาไปแลกสินค้าหรือบริการอะไรก็ได้ เท่ากับมูลค่าในหน้าบัตรเงินสด เช่น บัตรเงินสดมูลค่า 2,000 บาท ของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เราสามารถเอาบัตรนี้ไปซื้ออะไรก็ได้ในห้างด้วยมูลค่า 2,000 บาท เป็นต้น

 

 

  • บัตรเติมเงิน (Wallet)

ในยุคดิจิทัลแบบนี้ การแจกคูปองแบบกระดาษคงจะไม่ทันสมัยนัก บางครั้งร้านค้าอาจแจกบัตร Wallet แบบเติมเงิน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง Gift Voucher เพื่อแลกสินค้าและบริการ หรือใช้แทนเงินสดก็ได้ เช่น

 

  • แจกบัตร Easy Pass แน่นอนว่าสักวันหนึ่งมันจะกลายไปเป็นค่าทางด่วน แบบนี้จะเข้าลักษณะเหมือนกับคูปองแลกสินค้าหรือบริการ
  • แจกเงินในกระเป๋าเงินออนไลน์ของร้านสะดวกซื้อหมายเลข 7-11 กระเป๋าเงินนี้ไม่ได้บอกวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถเอาไปใช้จ่ายชำระแทนเงินสดได้เท่าจำนวนที่เติมเงินเข้าไป ซื้ออะไรก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ก็จะเข้าลักษณะของคูปองเงินสดนั่นเอง

 

ซื้อ Gift Voucher มาแจกเกิด Tax Point เมื่อใด

 

พอจะเข้าใจประเภทของ Gift Voucher แล้วใช่ไหมคะว่ามี 2 แบบใหญ่ๆ ก็คือ 1) คูปองแลกสินค้าและบริการ 2) คูปองแทนเงินสด 

 

และก่อนที่เราจะไปเฉลยว่า Tax Point การออกใบกำกับภาษีของ Gift Voucher แต่ละประเภทนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ต้องบันทึกบัญชีแบบไหน เรามาดูนิยามเรื่องการขายสินค้าหรือบริการตาม มาตรา 77/1 ของภาษีมูลค่าเพิ่มกันสักนิด 

 

“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ 

 

“สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด

 

“บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเอง ไม่ว่าประการใดๆ 

 

ตัวอย่าง Tax Point และการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับ บัตรของขวัญ

 

ตัวอย่าง Tax Point และการบันทึกบัญชี

 

ตัวอย่าง Tax Point และการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับ Gift Voucher

 

Tax Point และการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับ Gift Voucher

 

ตัวอย่าง Tax Point และการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับ คูปองเติมเงิน

 

Tax Point และการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับ Gift Voucher

 

สรุป

จากที่เล่ามา เพื่อนๆ น่าจะพอสรุปกันได้ว่าการแจก Gift Voucher โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบค่ะ 1) ถ้าใช้แลกสินค้าหรือบริการ ต้องออกใบกำกับเมื่อรับชำระเงินค่าซื้อ Voucher 2) ใช้แทนเงินสด จะไม่เกิด Tax Point เมื่อซื้อ Voucher แต่จะเกิดในภายหลังเมื่อนำ Voucher นั้นไปซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะมีผลต่อการบันทึกบัญชี และจัดการเอกสารภาษีค่ะ ดังนั้น ทุกครั้งก่อนซื้อ Voucher อย่าเช็คสิ่งนี้ให้ครบถ้วนด้วยนะคะ

 

อ้างอิง

ข้อหารือ กค 0811/พ.02289

ข้อหารือ 0702/5900

ข้อหารือ กค 0706/6895

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like