Highlight:
- เจ้าของธุรกิจหลายคนมักจะจ่ายโบนัสให้พนักงานโดยคิดจากกำไร ถ้าปีนี้บริษัทได้กำไรดี ก็จ่ายโบนัสไป ถ้าปีไหนกำไรน้อยหรือขาดทุนก็งดจ่าย ซึ่งวิธีนี้คิดถูก แต่ถือว่าผิดหลักเกณฑ์กรมสรรพากร
- การคิดโบนัสจากฐานผลกำไร จะเข้าข่ายเป็นรายจ่ายต้องห้าม และอาจทำให้เจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีเพิ่ม
- การจ่ายโบนัสจึงควรวัดจากผลการดำเนินงานหรือเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กำไร ซึ่งต้องทำเป็นระเบียบแจ้งพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้างานแต่แรก
หน้าที่หนึ่งเจ้าของเจ้านายทุกสิ้นปีราวต้นปีคือ “จ่ายโบนัส” เพื่อเพิ่มกำลังใจให้พนักงาน และยังใช้แทนคำขอบคุณที่พนักงานมีส่วนช่วยสร้างผลประกอบการที่ดีหรือสร้างชื่อเสียงให้บริษัท ซึ่งเจ้าของธุรกิจเล็กๆ มือใหม่ หรือที่ไม่ใหม่แล้วหลายคนมักจะมองว่า ถ้าปีนี้บริษัทได้กำไรดี ก็จ่ายโบนัสไป ถ้าปีไหนกำไรน้อยหรือขาดทุนก็งดจ่าย ซึ่งวิธีนี้คิดถูก แต่ถือว่าผิดหลักเกณฑ์กรมสรรพากรนะจ๊ะ
แม้เจ้าของธุรกิจจะดูผลกำไรของบริษัทมาประเมินการจ่ายโบนัสพนักงานก็จริง แต่หากคิดโบนัสจากผลกำไร จะถือว่าผิดหลักเกณฑ์กรมสรรพากร เพราะจะเข้าข่ายเป็นรายจ่ายต้องห้าม (อ่านมาตราที่ 65 ตรี (19)) ไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ เนื่องจากโบนัสถือเป็นค่าใช้จ่ายหนึ่งของบริษัท ต้องหักออกจากรายได้ หากคิดโบนัสโดยใช้กำไรเป็นฐานในการคำนวณ ผลกำไรจะทำให้เงินโบนัสถูกตีกลับเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทำให้ต้องบวกกลับ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
ลองดูตัวอย่าง บริษัทล้างรถแห่งหนึ่งที่จ่ายโบนัสให้พนักงาน โดยคิดจากผลกำไร และแบบที่ไม่คิดจากผลกำไร บริษัทนี้มีพนักงาน 5 คน เงินเดือนคนละ 10,000 บาท มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท เจ้านายอยากให้โบนัสแก่พนักงานคนละ 1 เดือน จะต้องเสียภาษีเท่าไร
วิธีคิดค่าใช้จ่ายของบริษัทโดย “จ่ายโบนัส” จากเกณฑ์อื่นและคิดจากผลกำไร
พนักงาน 5 คน เงินเดือนคนละ 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 600,000 บาท
โบนัสคนละ 1.5 เดือน ทั้ง 5 คน รวมทั้งสิ้น 75,000 บาท
จะเห็นได้ว่าบริษัทที่คิดโบนัสจากกำไรของบริษัทจะต้องเสียภาษีมากกว่า
แล้วจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ “จ่ายโบนัส” แทนผลกำไรดี?
คำตอบคือควรจะวัดจากผลการดำเนินงานหรือเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่กำไร ซึ่งตรงนี้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทอาจจะทำระเบียบแจ้งพนักงานไว้ตั้งแต่แรกที่เข้ามาเริ่มงาน เช่น พนักงานขาย ทางบริษัทอาจจะมีการตั้งยอดจำนวนชิ้นงานที่พนักงานควรจะต้องทำได้ ถ้าพนักงานขายได้ 200 ชิ้น เกินจากเป้าที่วางไว้ 100 ชิ้น ก็สามารถเอามาประเมินการจ่ายโบนัสให้พนักงานหนึ่งเดือน เป็นต้น หรือหากจะหักโบนัส ก็พิจารณาจากการเข้างาน หากมาสาย ลาหยุด มากเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็อาจจะมีการหักโบนัสที่จะให้ เช่น จากหนึ่งเดือนเหลือเพียงครึ่งเดือน เป็นต้น
ส่วนบริษัทจะต้องมีกำไรเท่าไร ถึงควรจะจ่ายโบนัสให้พนักงาน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับใจของเจ้าของธุรกิจเลยว่า กำไรในปีนั้นพอเพียงต่อตัวคุณแล้วหรือยัง ถ้าแฮปปี้ที่จะจ่ายก็จ่ายเลย หรืออาจจะมีการให้โบนัสพนักงานในรูปแบบอื่นๆ ก็แล้วแต่ลักษณะของธุรกิจนั้นๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทไม่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน การประมาณการค่าใช้จ่ายของบริษัทไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยให้บริษัทสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้แม่นยำ ทดลองทำเอกสารรายรับรายจ่ายเพื่อประเมินการค่าใช้จ่ายได้ที่นี่
บางครั้งเจ้าของธุรกิจหลายคนจึงมีการวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน โดยนำเงินจ่ายโบนัสของพนักงานคิดรวมเข้ากับเงินเดือนของพนักงานคนนั้นไปด้วยเลย หรือเป็นการคิดเงินเดือน 13 เดือน แต่จ่าย 12 เดือน นั่นเอง