วิธีหัก กยศ. จากเงินเดือนพนักงาน เพื่อยื่นกรมสรรพากร

กยศ.-FlowPayroll

ผู้ประกอบการที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กยศ. ให้หักเงินเดือนพนักงานที่เป็นผู้กู้ยืม กยศ. เพื่อชำระหนี้กองทุนฯ คุณสามารถใช้โปรแกรมเงินเดือน FlowPayroll ในการสร้างรายการเงินเดือนและทำรายการหักค่าใช้จ่าย กยศ. ของพนักงาน เพื่อนำส่งกรมสรรพากรได้ค่ะ

กยศ. คืออะไร

 

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 

 

ปัจจุบันกองทุนได้มีพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 กำหนดให้สถานประกอบการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนฯ แจ้งให้ทราบ 

 

โดยมีกำหนดยื่นส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากสถานประกอบการไม่ได้ดำเนินการจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนจากยอดเงินที่ต้องนำส่ง

 

นายจ้างต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 

 

1. กยศ. จะตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ยืมจาก ประกันสังคม กรมบัญชีกลาง หรือกรมสรรพากร และทำการส่งหนังสือแจ้งทั้งผู้กู้ยืม และนายจ้างเพื่อเตรียมหักเงินเดือน 

 

2. เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือจาก กยศ. แล้ว ต้องดำนินการสมัครสมาชิกยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต  (e-Filing) เพื่อนำส่งเงินคืน กยศ. (ภ.อ.01 หรือ ภ.อ.02 ) ของกรมสรรพากรก่อน แล้วจึงสมัครสมาชิก e-PaySLF ในระบบ กยศ.


ดูวิธีการสมัครในขั้นตอนนี้ได้ที่นี่

 

 

3. เพิ่มรายการนำส่งเงินกู้ยืม กยศ. ภ.อ.02


พนักงานคนไหนที่ต้องหัก กยศ.

 

พนักงานที่เป็นผู้กู้ยืมเงินที่ถึงครบกำหนดชำระหนี้ทุกราย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเข้าสู่ระบบการหักชำระผ่านนายจ้างทุกราย จนกว่าจะครบจำนวนเงินในสัญญา

 

หากนายจ้างไม่สามารถหักเงินเดือนพนักงานตามที่กองทุนฯ ได้แจ้งไว้ เช่น หักได้ไม่เต็มจำนวนหรือนำส่งเป็นยอด 0 บาท ให้แจ้งเหตุผลต่อกองทุนผ่านระบบ e-PaySLF ซึ่งพนักงานจะต้องอยู่ในสถานะดังต่อไปนี้

  • ลาออก ถูกปลดออก ไล่ออก หรือโอนย้าย
  • รายได้คงเหลือไม่พอหักเงินเพื่อชำระหนี้ (หลังหักรายการตามกฎหมาย)
  • ลาโดยไม่ได้รับเงินเดือน
  • ได้รับโทษทางวินัยไม่ได้รับเงินเดือน
  • ชำระหนี้เสร็จสิ้น
  • มีสถานะพักการจ้างโดยไม่ได้รับเงินเดือน
  • ไม่เป็นพนักงาน/ลูกจ้างของหน่วยงาน
  • เสียชีวิต


วิธีการจ่ายเงินเดือน และ
หัก กยศ. ในระบบ FlowPayroll

 

การหัก กยศ. จากเงินเดือนของพนักงาน จะอยู่ในส่วนรายการปรับลด ซึ่งระบบ FlowPayroll จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขรายการทั้งปรับเพิ่ม หรือปรับลดของพนักงานแต่ละบุคคลระหว่างที่สร้างรายการเงินเดือน/ค่าจ้างได้เลย ทั้งการเพิ่มค่าคอมมิชชั่น หรือการหักเงินขาด ลา มาสาย และอื่นๆ

แก้ไขรายการปรับลด

 

 1. เช็กยอดนำส่ง กยศ. ของพนักงานแต่ละคนใน https://slfrd.dsl.studentloan.or.th/ แล้วแก้ไขข้อมูลพนักงานที่ต้องการหัก กยศ. > คลิกที่จุดไข่ปลา > เลือกแก้ไขรายการปรับเพิ่ม/ลด

 

รายการปรับลด กยศ.

 

2. ระบบจะขึ้นป๊อปอัพให้สังเกตที่หัวข้อ +เพิ่มรายการปรับลด แล้วเลือก เงินกู้ยืม กยศ./กรอ.

 

วิธีหัก กยศ. จากเงินเดือนพนักงาน เพื่อยื่นกรมสรรพากร

 

3. ใส่ยอดหักตามที่ได้รับแจ้ง แล้วกดเปลี่ยนแปลงข้อมูล

 

รวมรายการปรับลด กดบันทึก

 

4. คลิกที่ตัว I เพื่อดูสรุปรายการปรับลด จากนั้นกดบันทึกเอกสาร เมื่อจ่ายเงินเดือนที่ธนาคารเสร็จแล้ว ให้มาบันทึกการจ่ายเงินเดือนที่ท้ายเอกสาร

 

การระบุวันจ่ายเงิน FlowAccount

 

5. ระบุวันจ่ายเงินเดือน แล้วกดบันทึกยืนยันการจ่ายเงินเดือน ระบบจะเปลี่ยนสถานะรายการว่า ชำระเงิน เแล้ว

 

รายงานจะแสดงยอด กยศ.

 

 6. เมื่อดาวน์โหลดรายงานเงินเดือน จะเห็นว่ามีการสรุปเงินกู้ยืม กยศ. ที่ต้องนำส่ง มาให้  

 

FlowAccount ลงบัญชีค้างจ่าย

 

7. และจะลงบัญชีให้ในระบบ FlowAccount โดยดูได้ที่สมุดรายวันทั่วไป ตรงรายการหัก “เจ้าหนี้สรรพากร” 

สลิปเงินเดือน กยศ.

 

8. เมื่อออกสลิปเงินเดือนให้พนักงาน จะเห็นว่ามีค่าปรับลด กยศ. แจ้งให้กับพนักงานทราบ

 

วิธีการนำส่ง กยศ. ของพนักงาน ในเว็บกรมสรรพากร

 

login กรมสรรพากร

 

1. เข้าเว็บไซต์ https://slfrd.dsl.studentloan.or.th/SLFRD/login ใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร Username และ PIN Code 

 

ยืนยีนการตรวจสอบข้อมูล กยศ.

 

2. เข้าสู่เมนูยืนยันตรวจสอบข้อมูล ที่ตารางเลือกคลิกดูรายละเอียดเพื่อเช็กยอดเงิน กยศ. ที่ต้องนำส่ง และแจ้งพนักงานให้ทราบว่าจะต้องหักเท่าไหร่บ้าง


การระบุวันที่หักเงินเดือน

 

3. เมื่อเข้าหน้ารายละเอียด ระบบจะแจ้งว่ามีรายชื่อพนักงานคนไหนบ้าง และจำนวนเงิน กยศ. ที่ต้องนำส่ง ให้ระบุวันที่หักเงินเดือน (วันที่ทำจ่ายเงินเดือนพนักงาน)



สำหรับพนักงานที่ไม่ได้ทำงานในองค์กร ให้ระบุสาเหตุที่ไม่สามารถนำส่งเงินได้ ให้เลือกเงื่อนไข และติ๊กถูกว่าไม่ได้นำส่งเงิน

 

ยืนยันการหักเงินเดือนในระบบ ก.ย.ศ.

 

4. ตรวจข้อมูลเสร็จแล้ว กดปุ่มยืนยันการหักเงินเดือน ระบบจะขึ้นป๊อปอัพสรุปยอดแล้วกดตกลง

 

ชุดชำระเงิน กยศ.

 

5. กดพิมพ์ใบนำส่ง Pay in Slip เพื่อนำไปชำระเงินตามช่องทางธนาคารที่สะดวก

 

คุณยังสามารถทำค่าปรับเพิ่ม หรือปรับลดอื่นๆ ได้อีก ในระบบ FlowPayroll และยังสามารถดูสรุปรายงานเงินเดือน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานได้ในเมนูแดชบอร์ด ทำให้การทำจ่ายเงินเดือนสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น เริ่มต้นทดลองใช้งานฟรี 30 วันกันได้ที่นี่

 

 

เรียนบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ

 

 

 

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like