อัปเดตค่าธรรมเนียมการขายของผ่านแพลตฟอร์ม e-commerce: Shopee, Lazada และ TikTok Shop ล่าสุดปี 2025 หากขายของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไร เท่าไหร่บ้าง มาอัปเดตและทำความเข้าใจกันค่ะ |
รวบรวมตัวเลขน่ารู้สำหรับคนขายของออนไลน์ เผื่อใช้ในการวางกลยุทธ์การขาย จะได้มั่นใจได้ว่าเรามีกำไรที่เหมาะสม และสามารถสร้างใบกำกับภาษีขายของออนไลน์และลงบัญชีได้อย่างถูกต้อง
เลือกอ่านได้เลย!
1. ค่าธรรมเนียม TikTok Shop ล่าสุด 2568
ขายของบน TikTok มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่? (ตัวเลขนี้ทาง TikTok อัปเดตเมื่อ 1/1/2025 ซึ่งเป็นอัปเดตล่าสุด ณ วันที่เขียนบทความนี้)
ค่าธรรมเนียมในการขายของใน TikTok Shop จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าคอมมิชชั่น และค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อ โดยมีอัตราเรียกเก็บดังนี้
1.1 ค่าคอมมิชชั่น TikTok (Marketing Commission Fee)
ค่าคอมมิชชั่น คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บกับผู้ขาย โดยอัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขาย จะแตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้าและตามประเภทของร้านค้า โดบแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ร้านค้า Mall และร้านค้าทั่วไป ดังนี้
1.2 ค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อ TikTok (Transaction Fee)
ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ บน TikTok Shop
อัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะอยู่ที่ 3.21% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของราคาคำสั่งซื้อ รวมค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ
ตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียมของ TikTok Shop
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับค่าธรรมเนียมการขายสินค้าใน TikTok Shop สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การจัดการเรื่องค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายควรรู้ก่อนขายของบน TikTok Shop
ทั้งนี้สำหรับตัวเลขค่าธรรมเนียมควรอ้างอิงจากบทความนี้เป็นหลักค่ะ
2. ค่าธรรมเนียมขายของบน Shopee ล่าสุด 2568
ขายของบน Shopee มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่? (ตัวเลขนี้ทาง Shopee อัปเดตเมื่อ 11/07/2024 ซึ่งเป็นอัปเตดล่าสุด ณ วันที่เขียนบทความนี้)
ค่าธรรมเนียมในการขายของใน Shopee จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการขาย, ค่าธรรมเนียมการบริการ และค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยมีอัตราการเรียกเก็บและวิธีการคำนวณ ดังนี้
2.1 ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee
ค่าธรรมเนียมการขาย คือค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายต้องชำระเมื่อขายสินค้าได้ โดยคำนวณจากราคาสินค้าหลังจากหักลบมูลค่าส่วนลดหรือโปรโมชั่นที่สร้างโดยผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด หรือโปรโมชั่นส่วนลด เรียบร้อยแล้ว ซึ่งค่าธรรมเนียมการขายจะคำนวณจากคำสั่งซื้อที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว และหักออกจากยอดรายรับโดยอัตโนมัติ
2.2 ค่าธรรมเนียมการบริการ Shopee
ค่าธรรมเนียมบริการ คือ อัตราค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายจำเป็นต้องชำระสำหรับบริการจาก Shopee เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมส่วนลดกับทาง Shopee
ค่าธรรมเนียมบริการจะคำนวณอัตราเปอร์เซ็นต์จากราคาสินค้าที่ขายได้ โดยมีการคิดอัตราที่แตกต่างกันไปตามหมวดหมู่สินค้าและโปรแกรมที่เข้าร่วม ดังนี้
2.3 ค่าธรรมเนียมธุรกรรม Shopee
ค่าธรรมเนียมธุรกรรม คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ บน Shopee
อัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะอยู่ที่ 3.21% (รวม VAT 7%) ของราคาคำสั่งซื้อรวมค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ หลังจากหักลบกับการใช้โค้ดส่วนลดจาก Shopee หรือ Shopee Coins หากชำระเงินแบบปกติ (ไม่มีการผ่อนชำระ)
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ชำระผ่านช่องทาง SPayLater จะมีค่าธรรมเนียม 3% และช่องทาง Special SPayLater มีค่าธรรมเนียม 3-6% โดยจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ซื้อเลือกชำระเงิน
ตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียมของ Shopee
อย่างไรก็ตาม หากร้านค้าไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมส่วนลดกับทาง Shopee จะถูกเรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมการขายและค่าธรรมเนียมธุรกรรมเท่านั้น
3. ค่าธรรมเนียมขายของบน Lazada ล่าสุด 2568
ขายบน Lazada มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่? (ตัวเลขนี้ทาง Lazada อัปเดตเมื่อ 15/06/2024 ซึ่งเป็นอัปเดตล่าสุด ณ วันที่เขียนบทความนี้)
ค่าธรรมเนียมในการขายของใน Lazada จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าบริการมาเก็ตเพลส และค่าธรรมเนียมการชำระเงิน โดยมีอัตราการเรียกเก็บและวิธีการคำนวณ ดังนี้
3.1 ค่าบริการมาร์เก็ตเพลส Lazada
ค่าบริการมาเก็ตเพลส คือค่าธรรมเนียมการใช้บริการที่ผู้ขายต้องชำระเมื่อขายสินค้าได้ โดยคำนวณจากราคาสินค้าหลังจากหักลบมูลค่าส่วนลดหรือโปรโมชั่นที่สร้างโดยผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด หรือโปรโมชั่นส่วนลด เรียบร้อยแล้ว
อัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายจะแตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้าและตามประเภทของร้านค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ร้านค้า LazMall และ ร้านค้าทั่วไป ดังนี้
3.2 ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน Lazada
ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ บน Lazada
อัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะอยู่ที่ 3.21% (รวม VAT 7%) ของราคาคำสั่งซื้อรวมค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ
ตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียมของ Lazada
สรุป
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 แพลตฟอร์มมีวิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมที่ใกล้เคียงกัน แต่จะแตกต่างกันที่อัตราค่าธรรมเนียมของสินค้าแต่ละหมวดหมู่ และขึ้นอยู่กับว่าร้านค้าได้มีการเข้าร่วมแคมเปญจ์กับผู้ให้บริการหรือไม่ หากมีการเข้าร่วมแคมเปญพิเศษก็อาจถูกเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มขึ้นได้
ดังนั้น ในการตั้งราคาสินค้าหรือคำนวณรายรับ ค่าใช้จ่าย อย่าลืมคำนึงถึงค่าธรรมเนียมจากการใช้แพลตฟอร์มขายสินค้าเหล่านี้ไปด้วยนะคะ
สำหรับผู้อ่านพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่กำลังหัวหมุน อยากได้ตัวช่วยทางตัวเลขและบัญชีที่ใช้งานง่ายและตอบโจทย์การขายออนไลน์ เราขอแนะนำหลักสูตรเรียนบัญชีฟรีสำหรับผู้ประกอบการ รวมถึงโปรแกรมทำบัญชี ทำใบกำกับภาษี ขายของออนไลน์ FlowAccount มีแพคเกจตั้งแต่ใช้ฟรี ถึงราคาไม่แพง คุ้มค่ามากๆ ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
About Author
A graduate student with degrees in Accounting and Financial Management, complemented by professional experience as an external auditor at a Big4 firm and as a Business Analyst in the financial sector.