เปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย ของการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาและบริษัทจำกัด

ข้อดี - ข้อเสีย ของการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา และ บริษัทจำกัด

รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับคนที่ทำมาสักระยะหนึ่งแล้ว คงจะมีคิดถึงการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทกันบ้างไม่มาก็น้อยใช่ไหมหละคะ ต้องบอกก่อนว่า การทำธุรกิจไม่ว่าจะทำในรูปแบบใดก็ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยด้วยกันทั้งนั้นค่ะ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ มาหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ

เรียนบัญชี FlowAccount

 

การทำธุรกิจนอกจากจะค้าขายเก่ง อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ การเลือกรูปแบบในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือ การทำธุรกิจบริการ เช่น ไกด์นำท่องเที่ยว ร้านล้างรถ การให้เช่าหอพัก หรือธุรกิจใดๆ ก็ควรต้องคำนึงถึงการเติบโตในอนาคต การเพิ่มความน่าเชื่อถือ และการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไปจนถึงการเพิ่มโอกาสขอกู้จากสถาบันทางการเงิน

 

ถ้าจะพูดถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับคนที่ทำมาสักระยะหนึ่งแล้ว คงจะมีคิดถึงการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทกันบ้างไม่มาก็น้อยใช่ไหมหละคะ ต้องบอกก่อนว่า การทำธุรกิจไม่ว่าจะทำในรูปแบบใดก็ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยด้วยกันทั้งนั้นค่ะ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ

 

ในฐานะมือใหม่จะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจของเราควรจดในรูปแบบไหนดีระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล มาหาคำตอบกันค่ะ

 

ข้อดี - ข้อเสียของการทำธุรกิจ 2 แบบ

 

การทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาจะเหมาะกับช่วงเริ่มต้นเพื่อหาความเป็นไปได้ในการสร้างรายได้ของธุรกิจ แต่เมื่อใดที่คิดจะประกอบธุรกิจอย่างจริงจัง หรือเริ่มเห็นโอกาสของการเติบโตในอนาคต การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็เป็นทางเลือกที่จะมาตอบโจทย์นะคะ 

 

ในการเลือกรูปแบบธุรกิจอาจจะมองจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งขนาดของธุรกิจ ต้นทุนในการทำบัญชีและดำเนินงาน การบริหารควบคุมกิจการ การบริการภาษีเงินได้ และการขยายกิจการในอนาคต

 

วันนี้ FlowAccount จะมาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของทั้ง 2 แบบให้ทุกคนฟังกันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มอ่านกันเลยค่ะ

 

มาเริ่มกันที่...ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา

 

กิจการเป็นกิจการขนาดเล็ก การบริหารจัดการทุกอย่างขึ้นตรงกับเจ้าของเพียงคนเดียว หรือเป็นการตกลงร่วมกันทำธุรกิจร่วมกันทำระหว่างสามีภรรยา เป็นต้น

 

มักมีรูปแบบธุรกิจทั่วไปที่ไม่ซับซ้อน เช่น ซื้อมาขายไป ร้านค้าออนไลน์ ซึ่งจริงๆแล้วลักษณะการเสียภาษีจะอาจไม่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลเหมือนที่ทุกคนเคยเข้าใจก็ได้ ลองศึกษาเพิ่มเติมจากบทความ “จดทะเบียนบริษัทตอนไหนดี” ดูนะคะ

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดตามขั้นบันไดที่มีอัตราสูงสุด 35%  ดังนั้นหากมีรายได้สุทธิสูง ก็จะเสียภาษีมากตามอัตราภาษีสูงสุดได้นั่นเอง แต่มีข้อดีคือ ง่ายและสะดวกสำหรับคนที่ไม่ชอบความยุ่งยากในรูปแบบนิติบุคคล หรือผู้ประกอบการที่ไม่ติดขัดในเรื่องของเงินทุน ไม่ต้องจัดทำบัญชี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านเอกสารต่างๆ

 

ข้อดี-ข้อเสียการทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา

 

ทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล

 

การธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะมีสิ่งที่ตามมาติดๆคือ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่างๆ เช่น  การจัดทำบัญชี การนำส่งงบการเงิน การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือน เป็นต้น แต่การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดหนึ่งข้อได้เปรียบของนิติบุคคล นั่นก็คือสามารถนำไปใช้ยื่นขอสินเชื่อธุรกิจ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องได้นั่นเอง

 

การมีนโยบายด้านภาษีสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จากทางภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นกำไรทางภาษีสุทธิ 300,000 บาทแรก และสิทธิลดอัตราภาษีเหลือเพียง 15% แต่ธุรกิจต้องมีเงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนดไว้คือทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี

 

ยิ่งไปกว่านั้น หากประกอบธุรกิจแล้วมีขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วยและยังสามารถเอาเงินที่ขาดทุนไปหักเป็นรายจ่ายภาษีในปีภาษีต่อไปได้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี นั่นเองค่ะ

 

การทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล

 

การเลือกดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในรูปบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ทั้งการเสียภาษี การจัดทำบัญชี ความน่าเชื่อถือ ความรับผิดต่อหนี้สินของกิจการ ไปจนถึงการจัดหาแหล่งเงินทุน

 

ข้อดี - ข้อเสีย การทำธุรกิจบุคคลธรรมดา และ บริษัท

 

การประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคลเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการประกอบธุรกิจที่หวังผลต่อการเติบโตในอนาคต การจดทะเบียนนิติบุคคลถือป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างเป็นทางการ

 

กับดักที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าจดทะเบียนบริษัท

 

กับดักที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าจดทะเบียนบริษัท

 

กับดักที่หนึ่ง

เพราะคิดว่ากระบวนการจดทะเบียนบริษัทมีความซับซ้อน แต่หากมีเอกสารครบถ้วน การจดทะเบียนสามารถเสร็จได้ภายใน 1 วัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด 

 

ง่ายไปกว่านั้นคือ FlowAccount รับจดจัดตั้งนิติบุคคล พร้อมมอบโปรแกรมบัญชีออนไลน์ และสิทธิประโยชน์ อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ให้บริหารธุรกิจด้วยตัวเองได้อย่างมั่นใจตั้งแต่ก้าวแรก

 

จริงๆแล้วปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ 7 กมภาพันธ์ 2566) การจดทะเบียนบริษัทจำกัดมีผู้ร่วมก่อตั้งเพียง 2 คน ก็สามารถจดทะเบียนได้แล้ว 

 

กับดักที่สอง

ผู้ประกอบการบางคนอาจจะยังคิดว่าธุรกิจตัวเองยังมีขนาดเล็ก ทุนสำหรับจดทะเบียนคงไม่พอ ซึ่งในความเป็นจริงตามกฎหมายระบุว่าหุ้นมีราคาไม่ต่ำกว่า 5 บาทเท่านั้น หมายความว่าหากต้องการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดมีผู้ร่วมหุ้นขั้นต่ำ 2 คน ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำก็เริ่มต้นที่ 10 บาทเท่านั้นเองค่ะ

กับดักที่สาม

ความคุ้นเคยที่คนจำนวนมากเคยชินกับการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจ แต่เมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัวการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาคงไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดทั้งในด้านภาษี และการลงทุนในอนาคต ซึ่งคนจำนวนมากยังคงถนัดกับวิถีเดิมๆที่ทำให้เสียประโยชน์ตรงนี้ไปอย่างน่าเสียดายค่ะ

 

ทุกท่านคงได้ทราบข้อมูลกับครบแล้ว จากนี้ก็จะอย่าลืมตัดสินใจเลือกการดำเนินธุรกิจให้เหมาะกับขนาดของกิจการและการขยายตัวในอนาคตกันนะคะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like