วิธีอ่านงบกระแสเงินสด เพื่อตรวจสอบสภาพคล่องธุรกิจ

วิธีอ่านงบกระแสเงินสด เพื่อตรวจสอบสภาพคล่องธุรกิจ

งบกระแสเงินสด คืองบบอกที่มาที่ไปของเงินสดว่ากิจการมีกระแสเงินสดเข้าและเงินสดออกจากกิจกรรมอะไรบ้าง และงบนี้จะบอกการเดินทางของเงินสดตลอดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ต้นปีมีเงินเท่านี้ ระหว่างปีเข้า-ออกอย่างไรบ้าง และเงินเหลือปลายปีเป็นเท่าไร

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวใจของธุรกิจ คือ การมีเงินสดที่เพียงพอ เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง ดำเนินกิจการได้แบบราบรื่น ไม่ชะงักกลางคันหรือเจ๊งทั้งๆ ที่ยังมีกำไร

 

เพื่อการบริหาร “สภาพคล่อง” และเข้าใจ “เงินสด” ให้มากขึ้น เราเริ่มต้นได้จากการอ่านงบกระแสเงินสด

 

เรียนบัญชี FlowAccount

 

งบกระแสเงินสดคืออะไร

 

งบกระแสเงินสด คืองบบอกที่มาที่ไปของเงินสดว่ากิจการมีกระแสเงินสดเข้าและเงินสดออกจากกิจกรรมอะไรบ้าง

 

และงบนี้จะบอกการเดินทางของเงินสดตลอดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ต้นปีมีเงินเท่านี้ ระหว่างปีเข้า-ออกอย่างไรบ้าง และเงินเหลือปลายปีเป็นเท่าไร

 

เข้าใจ 3 กิจกรรมในงบกระแสเงินสด

 

เงินสดเข้า-ออกจะแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลักๆ ถ้าอยากทำความเข้าใจงบกระแสเงินสด เราควรเริ่มจากทำความเข้าใจทั้ง 3 กิจกรรมนี้ไปพร้อมๆ กัน

 

1. กิจกรรมดำเนินงาน (Cash Flow from Operating: CFO)

 

คือ กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายในธุรกิจ ที่มีทั้งการรับ (เป็นเครื่องหมายบวก) และการจ่าย (เครื่องหมายลบ) เช่น

 

+ เงินสดรับจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ 

- เงินสดจ่ายเพื่อซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าบริการ จ่ายค่าแรงพนักงาน

  

วิธีวัดผลง่ายๆ ให้สังเกตว่าเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าธุรกิจหลักของเราสามารถสร้างเงินเข้าได้มากกว่าเงินที่จ่ายออกไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา

 

2. กิจกรรมการลงทุน (Cash Flow from Investing: CFI)

 

คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอย่างที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หรือใช้เงินลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ตัวอย่างเงินสดรับ (เป็นเครื่องหมายบวก) และจ่าย (เครื่องหมายลบ) เช่น

 

- เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในธุรกิจย่อย 

- เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน โรงงาน

+ เงินสดรับจากการขายธุรกิจย่อย

+ เงินสดรับจากการขายที่ดิน โรงงาน  

 

ข้อสังเกตง่ายๆ กิจกรรมลงทุนนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดจ่ายก้อนโตที่เกิดขึ้นไม่บ่อย จึงไม่ผิดที่เรามักเห็นเงินสดสุทธิในกิจกรรมลงทุนติดลบเสมอ แต่ถ้าในอนาคตสร้างเงินสดรับเข้ามาในกิจกรรมดำเนินงานมากกว่าที่ลงทุนไปก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

 

3. กิจกรรมการจัดหาเงิน (Cash Flow from Financing: CFF)

 

คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดหาเงินของกิจการ โดยปกติแล้วจะมาจาก 2 ทางคือ การกู้ยืมเงิน หรือผู้ถือหุ้นลงทุนเพิ่ม ตัวอย่างเงินสดรับและจ่าย เช่น

 

+ เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน 

+ เงินสดรับจากการเพิ่มทุน

- เงินสดจ่ายคืนเงินกู้ 

 

กิจกรรมนี้อาจจะมีทั้งกระแสเงินสดรับและจ่ายปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดหาเงินและช่วงเวลาจ่ายชำระของแต่ละกิจการ 

 

สรุปสมการงบกระแสเงินสด

 

เมื่อเข้าใจทั้ง 3 กิจกรรมของงบกระแสเงินสดแล้ว เรามาสรุปสมการกระแสเงินสดแบบสั้นๆ กันตั้งแต่ต้นงวดไปจนถึงปลายงวด

 

สรุปสมการงบกระแสเงินสด

สรุปสมการงบกระแสเงินสด

 

ตัวอย่างงบกระแสเงินสด

 

งบกระแสเงินสด จะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ งบกระแสเงินสดทางตรง และงบกระแสเงินสดทางอ้อม

 

งบกระแสเงินสดทางตรง จะเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับเจ้าของกิจการ เพราะในแต่ละกิจกรรมจะแยกให้เห็นชัดเจนว่า อะไรคือเงินสดรับ และเงินสดจ่ายบ้าง 

 

ในที่นี้เราจึงขอยกตัวอย่างงบกระแสเงินสดทางตรงมาให้เพื่อนๆ ลองหัดอ่านกัน

 

งบกระแสเงินสด (แบบทางตรง)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน CFI

 

ในตัวอย่างนี้เป็นงบกระแสเงินสำหรับปีสิ้นสุด 2564 หมายถึง งบนี้จะบอกกระแสเงินสดเข้าออกในปีนี้ทั้งปีว่ามาจากที่ใดบ้าง

 

พอไล่ลงมาคร่าวๆ เราจะเห็นว่ากระแสเงินสดถูกแบ่งออกมาแสดงเป็น 3 กิจกรรมหลัก ตามที่ได้อธิบายไป แล้ว ถ้าลองดูในแต่ละกิจกรรมจะมีรายละเอียดปลีกย่อยออกมา ตามนี้

 

1. เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) = 265,000 บาท 

 

ในกิจกรรมดำเนินงาน มีเงินสดเป็นบวกสุทธิ ส่วนใหญ่มาจากการรับเงินจากการขาย ที่มีมากกว่ารายจ่ายค่าสินค้า ค่าเบี้ยประกัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 

 

2. เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน (CFI) = -100,000 บาท 

 

สำหรับกิจกรรมการลงทุน ปีนี้ธุรกิจลงทุนในสาขา 2 และซื้ออุปกรณ์มาเพิ่มในร้าน จึงทำให้เงินสดในกิจกรรมลงทุนติดลบ คือ จ่ายเงินมากกว่ารับเงินเข้ามา

 

3. เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) = 90,000 บาท 

 

กิจกรรมจัดหาเงินมีกระแสเงินสดเป็นบวกส่วนใหญ่มาจากการได้รับเงินกู้ 100,000 บาท ในขณะเดียวกันมีการจ่ายค่าผ่อนรถ 10,000 บาท 

 

ทีนี้เราลองมารวมกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไปสุทธิ และกระทบยอดกับเงินสดต้นงวดกัน

 

กระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไปสุทธิ และกระทบยอดกับเงินสดต้นงวด

 

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า กิจการมีเงินสดตั้งต้นที่ 30,000 และได้เงินสดสุทธิในระหว่างงวด = +265,000-100,000+90,000 = 255,000 ทำให้ปลายงวดมีเงินสดสุทธิเหลืออยู่ที่ 285,000 บาท

 

สรุปงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็นแบบไหน

 

นอกจากอ่านงบเป็นแล้ว อย่าลืมเช็กสภาพคล่องจากงบกระแสเงินสดในเบื้องต้นตามตารางนี้

 

เช็กสภาพคล่องจากงบกระแสเงินสด

 

ถ้าวันนี้ใครกำลังทำธุรกิจแล้วติดปัญหาว่าเงินสดไม่พอ สภาพคล่องไม่พอ อย่าลืมลองทำความเข้าใจเงินสด มาหัดอ่านงบกระแสเงินสดเพื่อตรวจสอบว่าสภาพคล่องธุรกิจตอนนี้ยังดีอยู่กันนะคะ

 

สำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรมบัญชี FlowAccount สามารถนำรายงานบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบทดลองจากในระบบไปจัดทำงบกระแสเงินสดต่อได้เลย 

 

โปรแกรมบัญชี FlowAccount เปิดเอกสารธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา เริ่มต้นได้ง่ายๆ กับ โปรแกรมทำบัญชีออนไลน์ ที่ช่วยบันทึกบัญชีได้ครบทุกรูปแบบธุรกิจ

 

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like