งบการเงิน นักบัญชีจะใช้โปรแกรมบัญชีช่วยปิดงบได้อย่างไร

ปิดงบการเงินด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์

 

อ่านสั้นๆ:

 

  • งบการเงิน เป็นบัญชีที่นักบัญชีต้องทำปีละ 2 ครั้ง เพื่อนำส่งภาษีครึ่งปี และภาษีเงินได้แบบเต็มปี 
  • การทำงบการเงินมีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจที่จะต้องทำให้ทันเวลาต่อการตัดสินใจ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีข้อมูลทางการเงินที่ช่วยวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
  • นักบัญชีสามารถใช้โปรแกรมบัญชีช่วยปิดงบและจัดการและรายการ Daily Operation ได้โดยอัตโนมัติ หากมีการทำเอกสารผ่านระบบอย่างสม่ำเสมอ


สำหรับนักบัญชี การปิดงบการเงินนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าคุณทำบัญชีให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบนะครับ  

 

ตาม พ.ร.บ. การบัญชี และประมวลรัษฎากร อย่างน้อยต้องปิดงบการเงินปีละ 2 ครั้ง เพื่อนำส่งภาษีครึ่งปี และภาษีเงินได้แบบเต็มปี

แล้วปิดงบใครได้ประโยชน์? หลักๆ แล้ว งบการเงินจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจเห็นตัวเลขของกิจการว่าปีนี้มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนธุรกิจ และวางแผนภาษีอากร 

 

ลองอ่านบทความ “ปิดงบการเงิน เจ้าของธุรกิจได้รู้อะไรเมื่อสิ้นรอบบัญชี” ที่เล่าถึงสิ่งที่เจ้าของกิจการจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมนะครับ 

 

ถ้างบการเงินมีประโยชน์ขนาดนี้ นักบัญชีจึงจำเป็นต้องทำงบให้เจ้าของธุรกิจได้ทันเวลาก่อนที่จะใช้ในการตัดสินใจ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีข้อมูลทางการเงินที่ช่วยวางแผนได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การเห็นงบการเงินเพียงปีละครั้งย่อมไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจได้

 

อย่างที่ผมชอบพูดบ่อยๆ ชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แล้วง่ายคืออะไร ง่ายของผมคือ ไม่ต้องทำ ให้ระบบทำงานให้แทน แต่ก่อนที่จะให้ระบบทำงานแทน เราเองก็ต้องทราบกระบวนการก่อนจริงไหมครับ


ทำความเข้าใจการทำงบการเงินเบื้องต้น

ก่อนที่นักบัญชีจะให้โปรแกรมบัญชีทำงานแทน เราก็ต้องทราบกระบวนการกันก่อนนะครับ

 

การปิดงบการเงินคือการทำรายงานผลการดำเนินการของบริษัท ประกอบด้วยรายงานต่างๆ คือ 

  • งบกำไรขาดทุน 
  • งบแสดงฐานะการเงิน 
  • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
  • และหมายเหตุงบการเงิน (ถ้าคุณทำกิจการที่มีคำว่า “มหาชน” ต้องทำงบกระแสเงินสดเพิ่มด้วยนะครับ)

 

กระบวนการทำงบการเงินทั้งหมด โปรแกรมบัญชีจะทำในส่วนงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินให้นะครับ ส่วนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นและงบกระแสเงินสด นักบัญชีจะต้องเป็นคนทำให้

 

 

งบการเงิน กระบวนการปิดงบการเงิน
ขั้นตอนการปิดงบการเงิน
  1. รวบรวมเอกสารรายการค้า (รายได้-รายจ่าย) - เก็บเอกสารทางการเงินของกิจการทั้งหมด เรียงตามวันที่เกิดรายการ แยกตามหมวดหมู่ให้เรียบร้อย
  2. ทำบัญชีแยกประเภท - เป็นการรวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ แล้วจัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ
  3. ทำงบทดลอง - จัดทำงบทดลองเพื่อให้เห็นยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี และใช้เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของตัวเลข
  4. ปรับปรุงบัญชีค้างรับ ค้างจ่าย และค่าเสื่อมราคา - ลงบัญชีที่ยังค้างอยู่ให้ครบเรียบร้อย โดยเฉพาะบัญชีค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยค้างรับ เป็นต้น
  5. ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือเข้าบัญชีต้นทุนสินค้าขาย - นำยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ โอนเข้าบัญชีต้นทุนสินค้าขาย 
  6. ปิดบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าขาย เข้างบกำไรขาดทุน - นำรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าขายของกิจการมากระทบกัน เพื่อหายอดกำไรขาดทุน จะได้ทราบกำไรของกิจการ
  7. งบแสดงฐานะการเงิน - แสดงยอดคงเหลือของกิจการว่าสรุปแล้วมีเงินสดเท่าไหร่ ลูกหนี้เท่าไหร่ สินค้าที่มีไว้ขายอีกมากน้อยแค่ไหน และหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระอีกเท่าไหร่

 

จะเห็นว่ามีกระบวนการทั้งหมด 7 ขั้นตอน โดยกระบวนการที่ 4 และ 5 จะต้องใช้กระบวนการด้านบัญชีในการคำนวณมูลค่า นอกนั้นโปรแกรมบัญชีช่วยทำให้หมดแล้วครับ


ผลจากการปิดงบการเงิน

ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจ งบการเงินจะต้องทำให้รู้ว่า เมื่อเอาตัวเลขรายได้เทียบกับรายจ่ายแล้ว ธุรกิจจะมีเงินสดเหลือมากน้อยแค่ไหน มีเงินสดคงเหลือเพิ่มขึ้น หรือลดลงในแต่ละปีที่มาจากการทำธุรกิจของเรา 

 

และถ้ามองไปล่วงหน้าแล้วเห็นว่าเงินไม่พอ ก็จะได้เตรียมตัววางแผนทางการเงินเนิ่นๆ ก่อนนะครับ


เครื่องมือช่วยปิดงบการเงิน

กลับมาที่การหาเครื่องมือมาช่วยปิดงบการเงินกันครับ เราสามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยในการปิดงบการเงิน และรายการ Daily Operation ได้โดยอัตโนมัติ หากมีการทำเอกสารผ่านระบบอย่างสม่ำเสมอ

 

ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถรู้ผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลาทันที ลองดูงบการเงินจาก FlowAccount ในเมนูบริหารบัญชี

 

งบการเงิน FlowAccount งบกำไรขาดทุน
งบกำไรขาดทุน ใน FlowAccount สามารถเรียกดูได้ที่เมนูบริหารบัญชี

เมื่อเข้ามาที่เมนูย่อย รายงานด้านบัญชี จะสามารถเรียกดูรายงานประเภทต่างๆ ของงบการเงิน ซึ่งจะให้ข้อมูลเบื้องต้นที่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในการพิจารณาได้ทันที 

 

อย่างในภาพ ผมเรียกดูงบกำไรขาดทุน แค่นี้ก็ตอบได้แล้วว่า กิจการมีรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลกำไรสุทธิเป็นจำนวนเท่าไหร่  

Note:

 

รายงานของงบการเงินจะมีจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจที่ทำ

 

ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นธุรกิจให้บริการ ซึ่งมีลักษณะธุรกิจซับซ้อนน้อยกว่าธุรกิจซื้อมาขายไป ดังนั้นส่วนประกอบในงบการเงิน เริ่มจากงบกำไรขาดทุนก็จะสั้นกว่าถ้าเทียบกับธุรกิจซื้อขาย เพราะมีสินค้าคงเหลือ 

 

ส่วนธุรกิจซื้อขายจะต้องมีรายงานสินค้าคงเหลือ (Stock Card) และต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการซื้อขาย 

 

และธุรกิจผลิตสินค้าขาย จะมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มเข้ามา ดังนั้นจะต้องมีการทำรายงานวัตถุดิบเพิ่ม และหากกรณีสินค้ายังผลิตไม่เสร็จ มูลค่าที่เกี่ยวข้องก็ต้องนำมารายงานในงบการเงินด้วย 

 

เพื่อความเข้าใจง่าย สรุปได้คร่าวๆ ดังตาราง

 

ประเภทของธุรกิจ/ประเภทของงบการเงิน ให้บริการ ซื้อขาย ผลิต
งบกำไรขาดทุน รายได้ 
ค่าใช้จ่าย/วัสดุสิ้นเปลือง ต้นทุนสินค้าขาย ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนสินค้าขาย
งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย์/หนี้สิน ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ  
สต็อกสินค้าที่มีไว้ขาย สต็อกวัตถุดิบที่มีไว้ใช้ในการผลิต
สต็อกสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จ 
สต็อกสินค้าที่มีไว้ขาย

 

จะเห็นได้ว่าจากตาราง งบการเงิน ของแต่ละประเภทของธุรกิจจะมีสาระสำคัญที่ไม่เท่ากันนะครับ ดังนั้น กระบวนการด้านเอกสารเพื่อให้ได้ข้อมูลมาแสดงของในแต่ละประเภทของกิจการก็จะไม่เท่ากันนะครับ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like