เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับกิจการโรงแรม

เราเที่ยวด้วยกัน

การกลับมาของโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพิ่มการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วันนี้ FlowAccount จะมาไขข้อสงสัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการโรงแรมในบทความนี้กันค่ะ

การกลับมาของโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกันในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ช่วยสร้างสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วันนี้ FlowAccount จะมาไขข้อสงสัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทโดยเฉพาะกันค่ะ

 

ก่อนอื่นขออธิบายสำหรับทุกท่านที่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ์ในเฟสก่อนหน้านี้ กันก่อนนะคะ…

 

บุคคลธรรมดาที่เคยลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน มาแล้วในเฟส 1, 2, 3 และเฟส 4 สามารถกดรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง เพื่อรับสิทธิ์ในเฟส 5 ได้เช่นกัน

 

ส่วนคนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ์มาก่อน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 เริ่มดำเนินการโครงการ 7 มีนาคม - 30 เมษายน 2566 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนพร้อมกัน 27 กุมภาพันธ์ นี้ ผ่าน www.เราเที่ยวด้วยกัน.com

 

ระยะเวลาโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5

 

ระยะเวลาใช้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ปี 2566 จะมีระยะเวลาของผู้ประกอบการรายใหม่ และประชาชนที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ

 

  • เริ่มรับสมัครสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ระหว่างวันที่ 8 -15 กุมภาพันธ์
  • เปิดให้ประชาชนจองโรงแรมเพื่อใช้สิทธิ์
    • ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ สำหรับผู้ไม่เคยได้รับสิทธิ์
    • บุคคลที่เคยลงทะเบียนแล้วกดยืนยันสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม เป็นต้นไป
  • เริ่มเข้าพักวันแรกได้วันที่ 10 มีนาคม
  • วันที่เข้าไปจองโรงแรมได้เป็นวันสุดท้ายคือวันที่ 26 เมษายน เพื่อให้วันสุดท้ายของการเข้าพักและวันสิ้นสุดโครงการเป็นวันที่ 30 เมษายน

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการรายใหม่

 

สำหรับเจ้าของโรงแรม ที่พักที่ยังไม่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการมาก่อน FlowAccount รวบรวมขั้นตอนการสมัครมาให้แล้วค่ะ

  • สมัครใช้บริการแอปพลิเคชันถุงเงิน ที่ www.ถุงเงินกรุงไทย.com
  • เข้าสู่เว็บไซด์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลผ่านระบบ TAT E-Form ของ ททท. ระหว่างวันที่ 8 – 15 กุมภาพันธ์ 2566

บุคคลธรรมดารับสิทธิ์ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 มีเงื่อนไขและข้อกำหนดอะไรบ้าง

 

มาดูฝั่งบุคคลที่สามารถใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน เพื่อความเข้าใจมากขึ้นของเจ้าของกิจการโรงแรม ขอเน้นย้ำว่าผู้ที่จะใช้สิทธิ์ได้จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะไม่สามารถใช้ได้นะคะ ซึ่งเงื่อนไขและข้อกำหนดมีดังนี้

 

  • ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
  • ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com พร้อมติดตั้งแอปพลิเคชันเป๋าตัง
  • รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน
  • จำกัดสิทธิ์คนละไม่เกิน 5 ห้อง หรือ 5 สิทธิ์
  • จองห้องพักล่วงหน้าก่อนเดินทาง 3 วัน
  • ไม่สามารถเช็คอินโรงแรม หรือใช้จ่ายคูปองอาหารและท่องเที่ยวกับร้านที่อยู่จังหวัดเดียวกันกับทะเบียนบ้านได้
  • ประชาชนต้องสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนในขั้นตอนการ Check-in

ประเภทกิจการที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

 

ที่นี้ก็ถึงเวลาที่เจ้าของกิจการจะมาเช็คกันแล้วค่ะว่า กิจการของเราเข้าเงื่อนไขโครงการนี้หรือไม่นะคะ มาเช็ครายละเอียดกิจการตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

  • โรงแรม ที่พัก ที่มีใบอนุญาตประกอบการธุรกิจโรงแรม และ โรงแรมที่พักที่ไม่มีใบอนุญาตแต่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20 )
  • ร้านอาหาร
  • สถานที่ท่องเที่ยว ตามรายชื่อของ ททท.
  • ร้าน OTOP ที่มีใบอนุญาตประกอบการตามกระทรวงมหาดไทย
  • สปา นวดเพื่อสุขภาพ (มีใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ)
  • รถเช่า เรือเช่า (มีใบอนุญาตประกอบกิจการ)

 

เราเที่ยวด้วยกัน

 

ขอมาโฟกัสรายละเอียดเพื่อผู้ประกอบการโรงแรม ที่พัก และรีสอร์ทไปพร้อมๆ กันนะคะ

 

สนับสนุนส่วนลดค่าโรงแรมที่พัก

 

มาดูกันต่อนะคะว่ามีส่วนใดบ้างที่ทางโครงการได้สนับสนุนกิจการโรงแรมและรีสอร์ทกันบ้าน และเงื่อนไขที่ควรทราบมีอะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ

  • รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน (นั่นหมายความว่าอีก 60% บุคคลธรรมดาจะเป็นผู้จ่ายนั่นเองค่ะ)
  • จำกัดสิทธิ์คนละไม่เกิน 5 ห้อง หรือ 5 คืน
  • เมื่อจองที่พักแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้แต่สามารถเลื่อนวันเข้าพักได้ การเลื่อนเข้าพักต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด

 

จองโรงแรมและรีสอร์ทโดยตรงกับทางที่พัก

 

สนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว

 

หากผู้ที่ไปท่องเที่ยวถ้าไม่ทานอาหาร หรือ ไปสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ก็คงจะแปลกใช่ไหมคะ ดังนั้นโครงการนี้จึงให้สิทธิ์ประโยชน์เพื่อกระตุ้นกิจการที่เกี่ยวเนื่องกันด้วยเช่นกันค่ะ สนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวจะมี ดังนี้

 

  • สนับสนุนคูปองอาหารและท่องเที่ยวมูลค่า 600 บาทต่อห้องต่อคืน ให้กับประชาชนเมื่อ Check-in โรงแรมหรือที่พักสำเร็จ
  • จะได้รับคูปองอาหารและท่องเที่ยว วันละ 1 ครั้ง หลังเวลา 17.00 น. ของวัน Check-in โดยคูปองจะหมดอายุเวลา 23.59 น. ของวัน Check-out
  • คูปองอาหารและท่องเที่ยวสามารถใช้ได้ที่ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการ โดยประชาชนชำระ 60% และรัฐบาลสนับสนุนอีก 40% ผ่านการตัดเงินจากคูปอง

 

เมื่อเข้าใจรายละเอียดทั้งฝั่งบุคคลที่รับสิทธิ์และเจ้าของกิจการที่พักแล้ว ที่นี้ เราจะมาเน้นย้ำแนวทางออกใบกำกับภาษีสำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ที่เจ้าของกิจการควรรู้กันค่ะ

 

แนวทางการออกใบกำกับภาษีของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ

 

เจ้าของกิจการโรงแรม รีสอร์ท หรือที่พักก็สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง FlowAccount ในการออกใบกำกับภาษี ที่ใช้งานง่าย เหมาะกับนักธุรกิจยุคใหม่กันได้นะคะ ส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-tax invoice by email ได้อีกด้วยนะคะ

 

สามารถเพื่อทางเลือกช่องทางการรับชำระเงินให้กับลูกค้าได้ เพียงเชื่อมต่อ FlowAccount กับ Payment Gateway ระดับโลกอย่าง Stripe ไม่ว่าลูกค้าจะอยากจ่ายผ่านพร้อมเพย์ บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตก็เพียงแค่แชร์ลิงก์เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม และให้ลูกค้าเลือกจ่ายเงินด้วยช่องทางที่สะดวกได้เลย

 

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีสำหรับการให้บริการโรงแรมในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

1) แนวทางในการออกใบกำกับภาษีสำหรับโรงแรม รีสอร์ท และที่พักที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน 

  • ออกใบกำกับภาษีในนามของลูกค้าผู้ใช้บริการ 
  • ออกใบกำกับภาษีจำนวนเต็ม (ทั้งส่วนที่ลูกค้าจ่าย 60% และส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 40%)
  • ออกใบกำกับภาษีอย่างช้าที่สุดในวันที่ลูกค้า Check-out

 

2) ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 

  • ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท และที่พักที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

3) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีในนามของลูกค้าผู้ใช้บริการ 

  • เพราะประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์เป็นผู้ใช้บริการโรงแรมที่พัก โดยได้รับเงินสนับสนุนค่าที่พักจากรัฐในอัตราร้อยละ 40 ของราคาสุทธิ แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องต่อคืน หรืออีกนัยหนึ่งคือ รัฐไม่ใช่ผู้ใช้บริการโรงแรมที่พักนั่นเองค่ะ

 

4) ใบกำกับภาษีออกในนามนิติบุคคลได้หรือไม่ 

    • ไม่ได้ค่ะ ใบกำกับภาษีต้องออกในนามประชาชนบุคคลธรรมดาผู้ใช้สิทธิ์ภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เท่านั้น เนื่องจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันเป็นโครงการให้ที่สิทธิ์กับบุคคลธรรมดาเท่านั้น

5) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีจำนวนเงินเต็ม ทั้งส่วนที่ลูกค้าจ่ายและส่วนที่ได้รับจากรัฐ

    • ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งส่วนที่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ชำระเอง และส่วนที่รัฐสนับสนุนค่าที่พักให้กับประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์

6) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมจึงออกใบกำกับภาษีในวันที่ลูกค้า Check-out 

    • ในทางปฏิบัติ กรณีทั่วไปที่ลูกค้ามาใช้บริการ ผู้ประกอบการโรงแรมจะสามารถสรุปยอดค่าบริการได้ ในวันที่ลูกค้า Check-out และ 
    • ในกรณีที่ลูกค้าไม่มาใช้บริการ หรือไม่ Check-in ใน application เป๋าตัง ผู้ประกอบการโรงแรมจะไม่ได้รับชำระเงินส่วนที่รัฐสนับสนุน 
    • อีกทั้ง ผู้ประกอบการโรงแรมจะได้รับข้อมูล ชื่อ-สกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของลูกค้าผู้ใช้บริการเมื่อลูกค้ามาใช้บริการ ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมและคำนึงถึงข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติการออกใบกำกับภาษีในวันที่ลูกค้า Check-out จึงเป็นวันที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติที่สุด

7) ถ้าโรงแรมออกใบกำกับภาษีส่วนที่ได้รับจากลูกค้าร้อยละ 60 ไปล่วงหน้าแล้วต้องทำอย่างไร

    • ผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องออกใบกำกับภาษีในส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ภายในวันที่ลูกค้า Check-out

8) มูลค่าที่นำไปรวมเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบฯ ภ.พ.30 เป็นเท่าไหร่

    • ผู้ประกอบการโรงแรมต้องนำมูลค่าเต็มจำนวน ทั้งส่วนที่ลูกค้าชำระและได้รับเงินจากรัฐ ไปรวมเป็น ยอดขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีนั้น

9) ผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีรูปแบบใดได้บ้าง

    • ผู้ประกอบการโรงแรมที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ใช้บริการ และในกรณีที่การให้บริการของกิจการโรงแรมที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยบุคคลจำนวนมาก ผู้ประกอบการโรงแรมมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แก่ผู้ใช้บริการได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
    • อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าผู้ใช้บริการร้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการโรงแรมต้องจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป พร้อมส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้ผู้รับบริการ

อ้างอิง : คำถามที่พบบ่อยโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

เมื่อได้ทุกคนเข้าใจรายละเอียดและสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ แล้ว ก็อย่าลืมเช็ควันว่าง ลาหยุดและออกไปเที่ยวช่วยชาติกันนะคะ

 

เริ่มต้นใช้งานกับ FlowAccount ได้ง่ายๆ ทดลองใช้ฟรี 30 วัน หรือสมัครแพ็กเกจกับเรา ราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 165 บาทไม่จำกัดจำนวนเอกสาร แถมยังใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือได้ด้วย ผู้ประกอบการยุคใหม่ปรับมาใช้บัญชีออนไลน์กันเยอะๆ นะคะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like