ค่าใช้จ่ายต้องห้าม คืออะไร มีผลอะไรในการคำนวณภาษี

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามคืออะไร มีผลกระทบกับการจ่ายภาษียังไงบ้าง รายจ่ายต้องห้ามทั้งหลายเหล่านี้ มักเกิดจากอะไรบ้าง เข้าใจว่ารายจ่ายบางอย่างที่เกี่ยวกับธุรกิจ ถึงแม้จะเบิกบัญชีได้ แต่ทางภาษีก็ต้องห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ

“ปีนี้เฮียต้องเสียภาษีเยอะนะคะ เพราะค่าใช้จ่ายที่เฮียส่งมา เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทั้งนั้นเลย” ประโยคนี้หลายท่านอาจจะคุ้นๆ

 

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามคืออะไร ทำไมทำธุรกิจแล้วโดนห้ามคิดค่าใช้จ่าย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เจ้าของกิจการต้องรู้ ไม่ว่าจะยุคไหนหรือสมัยไหน เพราะค่าใช้จ่ายต้องห้าม อาจทำให้เราต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้นโดยไม่รู้ตัวค่ะ 

 

เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการทุกท่านเสียสิทธิ์จากการคำนวณภาษี วันนี้นุชจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายต้องห้าม และผลกระทบจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในธุรกิจกันค่ะ

 

เริ่มต้นเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีกันก่อน

 

อันดับแรก อยากชวนทุกคนมาตั้งสติก่อนสตาร์ท ความเข้าใจเรื่องบัญชีและภาษีกันก่อนค่ะ

 

ปกติแล้วในทางบัญชี การจ่ายเงินออกไป สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรฐานการบัญชี (เรียกยาวๆ สมัยนี้ว่ามาตรฐานรายงานทางการเงิน) 

 

แต่ในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกัน เพราะเค้ายึดตามกฎหมายประมวลรัษฎากรค่ะ 

 

นี่จึงเป็นสาเหตุให้ ทำไมเราจ่ายเงินออกไปแล้วเบิกค่าใช้จ่ายทางบัญชีได้ แต่พอมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี นักบัญชีบอกว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี” นั่นเองค่ะ 

 

สำหรับคนที่อยากเข้าใจมากขึ้น ลองมาดูตารางเปรียบเทียบระหว่างหลักเกณฑ์ ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีกันนะคะ

 

เปรียบเทียบระหว่างหลักเกณฑ์ ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี

 

โดยปกติแล้ว นักบัญชีจะบันทึกบัญชีตามมาตรฐานบัญชีค่ะ ทำให้เห็นกำไรขาดทุนทางบัญชีจากงบการเงิน เสร็จปุ๊บเมื่อถึงคราวยื่นภาษี นักบัญชีจะต้องมาสำรวจว่าค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่บันทึกไปทั้งหมดนั้น มีตัวไหนบ้างไม่เข้าหลักเกณฑ์ภาษี และแยกออกมาเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี และปรับปรุงตอนคำนวณภาษีนั่นเองค่ะ

 

การปรับปรุงเมื่อคำนวณภาษี 

 

จากที่เล่าไปก่อนหน้าว่า กำไรทางบัญชีเป็นพื้นฐานตั้งต้นในการคำนวณและปรับปรุงภาษีตามประมวลรัษฎากร มาถึงตอนนี้อยากจะเล่าให้ทุกคนเห็นภาพแบบกว้างๆ ค่ะว่าการปรับปรุงทางภาษีมีทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้

 

ปรับปรุงทางบัญชีเมื่อคำนวณภาษี

 

ถ้าลองสังเกตดีๆ ตัวที่ทำให้ เสียภาษีเพิ่มขึ้น ก็คือ รายการปรับปรุงรายได้ภาษีเพิ่ม และค่าใช้จ่ายต้องห้าม เพราะสองรายการนี้ ทำให้กำไรทางภาษีสูงขึ้น จึงต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้น แต่หลักๆ แล้วที่เราจะเจอบ่อยมากในชีวิตประจำวันก็คือ “ค่าใช้จ่ายต้องห้าม” นั่นเอง

 

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามมีอะไรบ้าง

 

เมื่อพูดถึง ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี สิ่งที่เราต้องรู้อันดับแรกก็คือ ค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ซึ่งสรุปแบ่งประเภทตามตารางได้ดังนี้ค่ะ

 

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ

 

อ่านมาจนถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษีกันบ้างแล้วว่า คืออะไร มีรายการอะไรบ้าง? ต่อมาเราลองมาดูตัวอย่างกันต่อ ถึงวิธีการคำนวณภาษีกรณีมีค่าใช้จ่ายต้องห้ามกันค่ะ

 

สมมติ บริษัท กำไรงาม จำกัด มีฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% ปีนี้มี

  • รายได้ 1,000,000 บาท 
  • ต้นทุน   300,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร   300,000 บาท
  • กำไรทางบัญชี       400,000 บาท

 

ในปีที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายต้องห้ามดังต่อไปนี้

  1. บริษัทจ่ายค่าปรับยื่น vat ล่าช้า 20,000 บาท
  2. จ่ายเงินให้ซัพพลายเออร์ด้วยเงินสด แต่ไม่ได้รับใบเสร็จ 70,000 บาท 
  3. ผู้บริหาร จ่ายค่าทริปเที่ยวต่างประเทศส่วนตัว  50,000 บาท 

 

ตัวอย่างคำนวณค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

จากตัวอย่างนี้ เดิมทีถ้าทุกรายจ่ายไม่ใช่รายจ่ายต้องห้าม บริษัทต้องเสียภาษี = 400,000x20% = 80,000 บาท แต่กรณีนี้มีค่าใช้จ่ายต้องห้ามบวกกลับไปรวมทั้งสิ้น 20,000+70,000+50,000 = 140,000 บาท ทำให้ต้องเสียภาษี = 540,000x20% = 108,000 บาท (ส่วนต่าง = 140,000 x20% = 28,000 บาท)

 

สรุปเรื่องค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ทุกคนน่าจะพอเข้าใจว่า ค่าใช้จ่ายต้องห้ามคืออะไร มีผลกระทบกับการจ่ายภาษียังไงบ้าง รายจ่ายต้องห้ามทั้งหลายเหล่านี้ มักเกิดจาก 1. ค่าใช้จ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ 2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้ว เราจะเห็นความสำคัญเกี่ยวกับหลักฐานการชำระเงินหรือเอกสารที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เข้าเกณฑ์ค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร รวมถึงเข้าใจว่ารายจ่ายบางอย่างที่เกี่ยวกับธุรกิจ ถึงแม้จะเบิกบัญชีได้ แต่ทางภาษีก็ต้องห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย