เจ้าของธุรกิจที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์สินและสร้างธุรกิจอย่างมั่นคง เมื่อแก่ตัวแล้ว เราก็อยากมั่นใจว่า มรดกตกทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องจ่ายภาษีเยอะๆ ถ้าเข้าใจสิ่งนี้ ก็สามารถเริ่มต้นวางแผนได้ตั้งแต่วันนี้เลย |
เจ้าของธุรกิจที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์สินและสร้างธุรกิจอย่างมั่นคง เมื่อแก่ตัวแล้ว เราก็อยากมั่นใจว่า มรดกตกทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องจ่ายภาษีเยอะๆ
รู้หรือไม่ เจ้าของธุรกิจเองก็สามารถวางแผนภาษีมรดกได้ ถ้าเข้าใจสิ่งนี้ ในบทความนี้ FlowAccount จะพาทุกไปทำความรู้จักภาษีมรดก และวิธีวางแผนให้ได้ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด จะได้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ลูกหลานในอนาคตค่ะ
ภาษีมรดกคืออะไร สำคัญอย่างไร
ในเบื้องต้นทุกคนน่าจะพอเข้าใจอยู่แล้วว่า เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้น ย่อมตกทอดแก่ทายาททันที
มรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ด้วย ซึ่งทายาทของผู้ตายต้องรับสืบทอดหนี้สินของผู้ตายไปพร้อมกับทรัพย์สิน
เอาล่ะทีนี้ พอทายาทได้รับมรดกมาแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ “ภาษีมรดก” ค่ะ
ภาษีมรดก (Inheritance Tax) เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เจ้าของมรดกตาย และมีผู้รับมรดก ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกตามกฎหมายกำหนด เมื่อรับมรดกสุทธิ (ทรัพย์สิน - หนี้สิน) ไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทนั่นเอง
แม้ว่าภาษีมรดกจะเกิดจากให้เปล่า แต่ก็มีความแตกต่างจากภาษีการให้ เพราะ
ภาษีจากการให้ เกิดขึ้นเมื่อของเจ้าของมรดกได้มอบทรัพย์สินในขณะที่มีชีวิตอยู่ให้กับทายาท เช่น พ่อแม่ให้กับลูกหลาน ผู้รับทรัพย์สินจะต้องเสียภาษีต่อเมื่อมูลค่าที่ได้รับเกินกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไปค่ะ
สรุปง่ายๆ ก็คือ ภาษีทั้งสองตัวเกี่ยวข้องกับการให้ทรัพย์สินเหมือนกัน แต่ต่างตรงที่ ภาษีมรดกเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของทรัพย์สินตายแล้ว ส่วนภาษีจากการให้เกิดขึ้นในขณะเจ้าของทรัพย์สินมีชีวิตอยู่
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกมีอะไรบ้าง
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เป็นทรัพย์สินที่จดทะเบียนดังต่อไปนี้
- อสังหาริมทรัพย์
- หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
- ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
- ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าทรัพย์สินที่ไม่จดทะเบียนอย่างเช่น ทอง เพชร เครื่องประดับ พระเครื่อง หรือของสะสม ผู้ที่รับไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมรดกนะคะ (ถือว่ารอดตัวไป…ฮ่าๆ)
อัตราภาษีมรดกเป็นอย่างไร
ถัดมาเรามาทำความเข้าใจอัตราภาษีมรดกกันค่ะ ในที่นี้จะขอแบ่งผู้รับมรดกออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งถ้าได้รับมรดกเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ผู้รับจะต้องเสียภาษีที่อัตราต่างกันตามนี้จ้า
อสังหาริมทรัพย์ หุ้น เงินฝาก ประเมินมูลค่ามรดกอย่างไร
ถัดมาเรามาดูตัวอย่างการประเมินมูลค่ามรดกสำหรับทรัพย์สินสุดฮิตที่มักส่งต่อให้ลูกหลานกัน 3 ชนิดนี้ ว่าวิธีคำนวณภาษีมรดกจะประเมินอย่างไร
ส่งต่อมรดกอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทางภาษีสูงที่สุด
1. ต้องรู้ก่อนว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินอะไรบ้าง
นอกเสียจากการทำบัญชีสำหรับธุรกิจแล้ว เจ้าของกิจการเองต้องทำบัญชีส่วนตัวด้วยนะ เพื่อสำรวจว่าตัวเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไรบ้าง จะได้วางแผนส่งต่อมรดกไว้แต่เนิ่นๆ
นอกจากนี้แล้ว อย่าลืมเช็กประเภททรัพย์สินที่มีว่าเป็นทรัพย์สินแบบจดทะเบียนเท่าใด และไม่จดทะเบียนเท่าใด ถ้าสมมติเช็กแล้วว่ามีทรัพย์สินจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท และผู้รับมอบมรดกต้องเสียภาษีแน่ๆ อาจต้องวางแผนต่อในลำดับถัดไปค่ะ
2. ก่อนตาย – ใช้ประโยชน์จากภาษีการให้
ถ้าไม่อยากให้ภาระภาษีตกกับลูกหลานหลังจากเสียชีวิต อาจจะวางแผนให้ทรัพย์สินบางอย่างในระหว่างมีชีวิตอยู่ เช่น ทยอยให้ทรัพย์สินลูกๆ ปีละไม่เกิน 20 ล้าน ถ้าเป็นเคสแบบนี้ ลูกๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษีจากการให้ค่ะ
3. ทำประกันชีวิตไว้
การทำประกันชีวิต และระบุชื่อผู้รับสินไหมมรณะกรรมเป็นทายาท ลักษณะนี้จะไม่ถือเป็นมรดก เพราะเกิดขึ้นหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต ฉะนั้น ก็เป็นอีกวิธีการนึงที่ช่วยประหยัดภาษีให้ทายาทค่ะ
4. ทำพินัยกรรม สำหรับทรัพย์สินที่เหลืออยู่
การทำพินัยกรรมไว้ล่วงหน้า เป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกหลานไม่ต้องมาทะเลาะกันในภายหลัง และที่สำคัญเรายังสามารถส่งต่อทรัพย์สินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุพการี คู่สมรส หรือทายาทได้อีกด้วย
โดยสรุปแล้ว การวางแผนภาษีมรดกเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ถ้าอยากส่งต่อทรัพย์สินให้ลูกหลานแบบไม่ทิ้งภาระภาษีไว้ในอนาคต อย่าลืมวางแผนภาษีมรดกไว้ล่วงหน้านะคะ
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่