สิ่งที่ SMEs ต้องรีบทำ เมื่อธุรกิจขาดสภาพคล่อง

Investree for SMEs

เมื่อธุรกิจ SMEs ขาดสภาพคล่อง ผู้ประกอบการควรรีบทำความเข้าใจวงจรการดำเนินธุรกิ เพื่อที่จะได้รู้ต้นตอของปัญหา จากนั้นลองเจรจากับเจ้าหนี้การค้า เพื่อชดเชยกระแสเงินสด ถัดมาแนะนำให้ลองคำนวณเงินทุนหมุนเวียน เพื่อที่จะได้รู้ว่า ธุรกิจของเรามีความต้องการเงินทุนอีกเป็นจำนวนเท่าไร ก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อระยะสั้น จากสถาบันการเงิน หรือระดมทุนแบบ Crowdfunding

“การขาดสภาพคล่องทางการเงิน” ถือเป็นฝันร้ายที่ผู้ประกอบการ SMEs คนไหนก็ไม่อยากเจอ เพราะเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกให้รู้ว่า ธุรกิจของเรากำลังสะดุด และอาจไปต่อไม่ไหว

 

หากคุณกำลังเผชิญปัญหาเงินสดหมุนเวียนในกิจการลดน้อยลง เงินทุนสำรองร่อยหรอจนเริ่มเข้าเนื้อ อย่าเพิ่งท้อแท้ และรีบตัดสินใจปิดกิจการที่ลงทุนปั้นมากับมือ ขอแนะนำให้ลองทำความเข้าใจ 5 ข้อเหล่านี้เสียก่อน แล้วคุณจะพบว่า ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน แท้จริงแล้วเป็นเรื่องที่แก้ไขได้


วงจรการดำเนินธุรกิจ

 

 

1. เข้าใจวงจรการดำเนินธุรกิจ

 

ขั้นแรกผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจวงจรการดำเนินธุรกิจของตัวเองให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีต้นตอมาจากจุดไหน

 

เช่น บริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ทำยอดขายได้สูงในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกๆ ปี เนื่องจากเป็นช่วงหน้าร้อน แต่หลังจากนั้นยอดขายจะตกลงมา เพราะความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศลดน้อยลง

 

หากมาดูวงจรการดำเนินธุรกิจ จะพบว่า ในระหว่างปี บริษัทต้องใช้ระยะเวลาผลิตและสต็อกสินค้าเพื่อเตรียมไว้ขายในช่วงหน้าร้อนเป็นเวลานานถึง 9 เดือน โดยที่บริษัทต้องจ่ายเงินไปกับค่าวัตถุดิบ ค่าแรงพนักงาน และค่าจัดเก็บตลอดระยะเวลานั้น กว่าจะได้รับเงินจากการขายสินค้า ก็ต้องรอการขายไปจนถึงเดือนมีนาคมที่เริ่มเข้าหน้าร้อนพอดี และส่วนใหญ่บริษัทมักจะให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ 30-90 วัน จึงเป็นไปได้ว่า ลูกค้าที่ตกลงซื้อเครื่องปรับอากาศในเดือนมีนาคม อาจชำระเงินในเดือนพฤษภาคม

 

จะเห็นได้ว่า สาเหตุที่บริษัทไม่มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในธุรกิจ เป็นเพราะเงินไปจมอยู่กับค่าสต็อกสินค้า และการให้เครดิตกับลูกค้านั่นเอง



วงจรการดำเนินธุรกิจ

 

 

2. เจรจากับคู่ค้า

 

เมื่อเงินจมไปเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการหลายคนมักจะนึกถึงการกู้ยืมเงินเป็นทางออกแรก แต่ความจริงแล้ว ยังมีอีกวิธีที่ช่วยให้เราไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมที่มากจนเกินไป นั่นก็คือ การเจรจากับเจ้าหนี้การค้า

 

ถ้าก่อนหน้านี้คุณเคยซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบด้วยเงินสด แนะนำให้ลองต่อรองขอเปลี่ยนมาจ่ายเป็นเงินเชื่อ หรือขอเครดิตเทอมจากคู่ค้า (Supplier) แทน เพื่อยืดระยะเวลาการจ่ายเงินออกไป ทำให้เหลือเงินสดในมือมาหมุนใช้จ่ายในกิจการมากขึ้น

 

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้เช่นกัน คือการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าให้เร็วขึ้น โดยอาจนำเสนอโปรโมชั่นที่น่าสนใจ เช่น การให้ส่วนลดเงินสด เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยากชำระเงินเป็นเงินสดทันที หรือชำระด้วยเครดิตที่สั้นลง


3. ประเมินการใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไร

 

เมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจของเราขาดสภาพคล่อง และลองแก้ไขแบบเบื้องต้นไปเรียบร้อยแล้ว หากยังจำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาเสริมสภาพคล่อง ผู้ประกอบการควรหาคำตอบให้ได้ก่อนว่า ธุรกิจของเรามีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนอีกเป็นจำนวนเท่าไร


Working Capital Needed

 

วิธีการคำนวณเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) สามารถทำได้ใน 6 Steps ด้านล่างนี้

 

Step 1: คำนวณระยะเวลาเรียกเก็บหนี้

 

ด้วยการนำจำนวนเงินที่เราให้เครดิตกับลูกค้า (ลูกหนี้การค้า) ในปีนั้น x 365 วัน / รายได้จากการขายต่อปีของบริษัท

 

เช่น บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้า 4 ล้านบาทต่อปี มีจำนวนเงินที่ยังไม่ได้รับชำระจากลูกหนี้การค้าจำนวน 1 ล้านบาท นั่นแปลว่า ระยะเวลาที่บริษัทให้เครดิตการค้ากับลูกค้า หรือเรียกสั้นๆ ว่า ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้เท่ากับ 1,000,000 x 365 / 4,000,000 = 91 วัน

 

 

Step 2: คำนวณระยะเวลาสินค้าคงเหลือ

 

ด้วยการนำสินค้าคงเหลือที่แสดงอยู่ในรายการสินทรัพย์บนงบการเงินของปีนั้น x 365 วัน / ต้นทุนขายต่อปีของบริษัท

 

สมมติว่า บริษัทมีสินค้าคงเหลือ 1 ล้านบาท มีต้นทุนขายสินค้า 3 ล้านบาท นั่นแปลว่า บริษัทต้องสต็อกสินค้าไว้เป็นระยะเวลา 1,000,000 x 365 / 3,000,000 = 122 วัน

 

 

Step 3: คำนวณวงจรสินทรัพย์ เพื่อการดำเนินงาน

 

เมื่อนำระยะเวลาเรียกเก็บหนี้และระยะเวลาสินค้าคงเหลือมารวมกันแล้ว จะเห็นได้เลยว่า บริษัทต้องจ่ายเงินสดออกไป 91 + 122 = 213 วัน โดยที่ยังไม่มีกระแสเงินสดเข้ามา สิ่งที่จะมาชดเชยกระแสเงินสดในส่วนนี้ได้ ก็คือการขอเครดิตการค้าจากเจ้าหนี้การค้า ตามที่แนะนำไปในตอนต้นนั่นเอง เมื่อขอเครดิตจากเจ้าหนี้ได้เรียบร้อยแล้ว ก็นำมาคำนวณใน Step ถัดไปได้เลย

 

Step 4: คำนวณระยะเวลาชำระหนี้การค้า

 

ด้วยการนำเครดิตการค้าที่เจ้าหนี้ให้กับเรา x 365 วัน / ต้นทุนขายต่อปีของบริษัท

 

หากเจ้าหนี้การค้าให้เครดิตบริษัทจำนวน 5 แสนบาท มีต้นทุนขายสินค้า 3 ล้านบาท นั่นแปลว่า บริษัทได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้าเป็นระยะเวลา 500,000 x 365 / 3,000,000 = 61 วัน

 

Step 5: คำนวณช่วงเวลาที่ต้องการเงินกู้

 

ด้วยการนำจำนวนวันวงจรสินทรัพย์ เพื่อการดำเนินงาน (ใน Step 3) ลบด้วยจำนวนวันชำระหนี้การค้า (ใน Step 4) เท่ากับว่า บริษัทต้องเสียกระแสเงินสดออกไปเป็นระยะเวลา 213 - 61 = 152 วัน ซึ่งหมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินมาใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจในช่วงระยะเวลา 152 วันนี้เอง

 

Step 6: คำนวณเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ (Working Capital Need)

 

ด้วยการนำรายได้จากการขาย x ช่วงเวลาที่ต้องการเงินกู้ / 365 วัน

 

ดังนั้น บริษัทต้องการเงินทุนทั้งหมด 4,000,000 x 152 / 365 = 1,665,753 บาทต่อปี เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนให้กิจการอยู่รอด

 


ประเภทของงบการเงิน

 

4. ยื่นขอสินเชื่อระยะสั้น จากสถาบันการเงิน

 

หลังจากที่รู้แล้วว่า เราต้องการกระแสเงินสดอีกเท่าไร เพื่อสำรองใช้จ่ายในกิจการ ขั้นตอนถัดมา ก็หนีไม่พ้นการมองหาสินเชื่อระยะสั้น จากสถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ

 

สิ่งที่สถาบันการเงินนำมาใช้เป็นหลักในพิจารณาปล่อยกู้ ก็คือ “งบการเงิน” เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ผลการดำเนินธุรกิจของเราเป็นอย่างไรบ้าง โดยพิจารณาจากทั้ง 3 งบการเงิน ดังนี้

  • งบแสดงฐานะทางการเงิน ที่แสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของผู้ประกอบการ 
  • งบกำไรขาดทุน ที่แสดงให้เห็นรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลกำไรสุทธิของกิจการในแต่ละปี
  • งบกระแสเงินสด ที่แสดงการเปลี่ยนแปลง การได้มา และการใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาหนึ่งบัญชี

 

นอกจากนี้สถาบันการเงินที่พิจารณาให้สินเชื่อมักจะประเมินสินทรัพย์ที่นำไปเป็นหลักประกันด้วย โดยสินทรัพย์ที่ว่านี้ อาจเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้หลักแก่ผู้กู้ เช่น สำนักงาน โกดังสินค้า เครื่องจักร หรือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ เช่น ที่ดินว่างเปล่า ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับธุรกิจหลัก ซึ่งในการประเมินสินเชื่อจะให้น้ำหนักกับสินทรัพย์สองประเภทนี้ต่างกัน

 

5. ระดมทุน เพื่อสนับสนุนโครงการหรือธุรกิจ (Crowdfunding)

 

ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน มักจะเจอปัญหาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินไม่ผ่าน เพราะธนาคารจะพิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับธุรกิจที่จดทะเบียนมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรือบางคนอาจติดปัญหาเรื่องสินทรัพย์ที่นำไปเป็นหลักประกัน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าเพียงพอ ติดภาระ หรือขาดสภาพคล่องทางการตลาด


หุ้นกู้คลาวด์ฟันดิ้ง (Clould Funding)

 

หากผู้ประกอบการเจอปัญหาเหล่านี้ แนะนำให้ลองใช้วิธี Crowdfunding ซึ่งเป็นการระดมทุน เพื่อสนับสนุนโครงการ หรือธุรกิจในรูปแบบของการออกหุ้นกู้ ที่หากหุ้นกู้มีอัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูด นักลงทุนก็จะให้ความสนใจลงทุนในหุ้นกู้นั้นๆ และเมื่อถึงวันครบกำหนดหุ้นกู้ ผู้ประกอบการก็ต้องชำระค่าหุ้นกู้คืนให้กับนักลงทุน โดยการระดมทุนที่ว่านี้ จะทำผ่านแพลตฟอร์มตัวกลาง ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต ซึ่งช่วยทำให้ผู้ระดมทุนและนักลงทุนเจอกันได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น

 

การระดมทุนในลักษณะนี้ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ SMEs เพราะช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนมาแล้วหลายปี ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถใช้เอกสารอย่างใบวางบิล/ใบแจ้งหนี้ (Invoice) งบการเงิน หรือระบบจัดการสินทรัพย์ ที่ออกจากระบบบัญชี FlowAccount เป็นเอกสารประกอบ ก็สามารถขอสินเชื่อได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการที่กำลังหนักใจกับปัญหาธุรกิจขาดสภาพคล่อง น่าจะเริ่มมีความหวัง และมองเห็นทางออกของปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นแล้ว สามารถขอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการระดมทุนแบบ Crowdfunding จากทาง Investree สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเงิน ผู้ให้บริการระบบ Crowdfunding ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่นี่เลย https://www.investree.co.th/funding



About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like