เจ้าของกิจการหลายแห่งยังจ้างแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายอยู่ ทำให้ต้องหลบๆ ซ่อนๆ แบบนี้ถ้าถูกจับได้จะมีความผิด และต้องเสียค่าปรับไม่ใช่น้อย เอาล่ะ ถ้าใครอยากทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย มาดูกันในบทความนี้ค่ะ |
การจ้างแรงงานต่างด้าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ของคนทำธุรกิจ เพราะเถ้าแก่ทั้งหลายก็อยากมีลูกน้องขยันขันแข็งมาช่วยงาน ในขณะเดียวกันการจ้างแรงงานต่างด้าวนั้น ช่วยลดต้นทุนแรงงานได้เยอะเลยทีเดียวค่ะ
แต่เชื่อไหมคะ เจ้าของกิจการหลายแห่งยังจ้างแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายอยู่ ทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องหลบๆ ซ่อนๆ มิหนำซ้ำลูกจ้างก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร แบบนี้ถ้าถูกจับได้นายจ้างก็มีความผิด และต้องเสียค่าปรับไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
เอาล่ะ ถ้าใครอยากมีลูกจ้างต่างด้าว แล้วทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง เรามาดูกัน
จ้างพนักงานต่างด้าว เจ้าของกิจการต้องทำอะไรบ้าง
การจ้างแรงงานต่างด้าวในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งมักจะทำการจ้างงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ (MOU) สำหรับต่างด้าวจาก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
แต่ที่สำคัญแรงงานต่างด้าวนั้นสามารถประกอบอาชีพได้จำกัดเท่าที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้น ศึกษาเพิ่มเติมอาชีพต้องห้ามได้ที่นี่ https://www.mol.go.th/employee/occupation_prohibited
ทีนี้เราไปดูกันต่อว่า ถ้าเจ้าของกิจการอยากจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย ต้องทำยังไงบ้าง
เลือกอ่านได้เลย!
ขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงาน และจ้างแรงงานต่างด้าว
กิจการจะต้องยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้นลูกจ้างต่างด้าวต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ที่สำนักงานจัดหางานประจำจังหวัด โดยมีขั้นตอนการขออนุญาตดังนี้
- นายจ้างต้องไปยื่นคำร้องขอนำเข้ารายงานต่างด้าว ที่สำนักงานจัดหางาน
- เจ้าหน้าที่จะพิจารณาคำขอ และเสนอผู้มีอำนาจลงนาม
- ทางการประเทศต้นทาง จะรับสมัครแรงงาน และส่งรายชื่อพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางให้แก่นายจ้าง
- นายจ้างยื่นคำขอรับใบอนุญาตเข้าทำงานแทนคนต่างด้าว ที่สำนักจัดหางานที่ได้ลงทะเบียนไว้ก่อนหน้า
- กรมจัดหางานจะแจ้งให้นายจ้างทราบ พร้อมออกหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ด่านตรวจคนเข้าเมือง,สถานทูตไทยในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่)
- คนต่างด้าวต้องเข้ารับการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้าง เมื่อผ่านการอบรม คนต่างด้าวจะได้รับใบอนุญาตเข้าทำงาน
- ต้องพาคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ และส่งผลตรวจให้สำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต
- นายจ้างต้องแจ้ง การเข้าทำงานของคนต่างด้าวภายใน 15 วัน ณ สำนักงานจัดหางาน
เอกสารที่ต้องเตรียมจ้างแรงงานต่างด้าว
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง ได้แก่
การคุ้มครองลูกจ้างแรงงานต่างด้าว
ส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของกิจการที่จ้างแรงงานต่างด้าวจะเป็นผู้จัดหาที่พักให้ จัดหาอาหารให้ เนื่องจากคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย เขาเองก็ไม่มีแหล่งที่พักอาศัย ส่วนใหญ่เราจึงเห็น แคมป์คนงานต่างด้าว ตามจุดทำงานต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่นายจ้างควรจะเตรียมไว้ให้ลูกจ้างต่างด้าว
อีกอย่างนึง ที่คนมักจะเข้าใจผิด ว่าแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานชั้น 2 ตามจริงแล้วแรงงานต่างด้าว ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับแรงงานไทย กิจการยังคงต้องยื่นประกันสังคม และให้สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงานทั่วไปค่ะ
ดังนั้น ลูกจ้างต่างด้าวจะมีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล มีกฎหมายแรงงานคุ้มครอง เหมือนกับพนักงานคนไทยทั่วไปเช่นกัน
ถ้าทำไม่ถูกต้องมีโทษอย่างไร
ถ้าเรารับแรงงานต่างด้าวเข้ามา อย่างถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไหร่ที่ เราไม่ได้เข้าตามตรอก ออกตามประตู พยายามหลบบ้างล่ะ พยายามหลีกเลี่ยงบ้างล่ะ หากถูกตรวจพบก็จะมีโทษตามกฎหมาย เรามาดูกันว่าโทษตามกฎหมายที่ว่ามีอะไรบ้าง
หน้าที่ของนายจ้าง
เมื่อนายจ้างจดทะเบียนใบอนุญาตให้ลูกจ้างเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ นายจ้างยังมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอีก ดังนี้
- แจ้งการรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน ให้นายทะเบียนสำนักงานจัดหางานทราบ ภายใน 15 วัน
- แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนทราบภายใน 15 วัน (กรณีคนต่างด้าว MOU แจ้งต่อนายทะเบียนและบริษัทนำเข้าภายใน 7 วัน)
- ส่งลูกจ้างกลับประเทศต้นทาง เมื่อลูกจ้างทำงานครบสัญญา
- แสดงสัญญาจ้างต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
สรุป
การจ้างแรงงานต่างด้าว นอกจากที่เราจะได้ลูกจ้างขยันๆ ทำงานที่ใช้แรงงานหนัก และค่าแรงไม่ได้แพงมากแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การขึ้นทะเบียนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ เพราะจะได้ไม่ต้องทำงานอย่างกังวลว่าจะถูกจับและปรับเงิน ที่สำคัญนี่เป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้นายจ้างได้มีโอกาสดูแลลูกจ้าง เป็นการตอบแทนที่พวกเค้าอุตส่าห์ทำงานหนักๆ แทนเราอีกด้วยนะคะ
อ้างอิง
คู่มือการขออนุญาตทำงาน ของแรงงานต่างด้าว สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการ
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/96dd0f4c136f52018cc9700f067f0377.pdf
การกำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา กำหนดในอาชีพและวีชาชีพ ที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522
About Author
นักบัญชี ผู้สอบบัญชี และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ cpdacademy.co คอร์สอบรมบัญชี CPD ออนไลน์สำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพมากกว่า 10 ปี และอยากส่งต่อความรู้เพื่อเพื่อนนักบัญชีให้มีทักษะอย่างมืออาชีพและก้าวทันโลกดิจิทัล
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่