หัวใจสำคัญของการสร้างกำไรจากร้านทุกอย่าง 20 บาทคือ การบริหารจัดการสินค้า และการวิเคราะห์ข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เติบโต และไม่ต้องกังวลด้านบัญชีภาษีอีกต่อไปด้วย MobilePOS จาก FlowAccount ค่ะ |
ใครที่กำลังมีความฝันจะทำธุรกิจร้านทุกอย่าง 20 บาท แล้วอยากจะสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจส่วนตัวแวะมาอ่านบทความนี้ได้เลยค่ะ FlowAccount ทำขึ้นมาเพื่อร้านค้าประเภทนี้โดยเฉพาะเลย แถมยังมีตัวช่วยดีๆ ที่เจ้าของร้านต้องร้องว้าวมาฝากกันตอนท้ายด้วยน้าาา
จุดเด่นร้าน 20 บาท นอกจากของต้องมีครบแล้วก็ต้องราคาถูกตามชื่อร้านด้วยจริงไหมคะ ตอบโจทย์ลูกค้าในพื้นที่ที่มีความต้องการสินค้าไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น อาม่าต้องการกะละมัง หม้อ เหล่าอี๊ต้องการซื้อครก อาหมวนน้อยอยากได้ยางมัดผม เมื่อเดินเข้ามาก็ได้ครบกันทุกคน
เท่ากับว่าร้านค้าประเภทนี้มีจุดเด่นเรื่องประเภทสินค้าที่หลากหลาย การบริหารจัดการต้นทุนและสินค้า สำหรับคนที่ยังไม่รู้ มาทำความเข้าใจไว้ก่อนเปิดร้านกันเล้ยย
เลือกอ่านได้เลย!
1. เลือกทำเลเปิดร้านค้า
มีใครเคยได้ยินไหมคะว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มีคนเดินเข้าร้านเยอะๆ นั้น สิ่งสำคัญที่มีคือ ทำเล ทำเล และทำเลค่ะ หลายคนบอกว่าสมัยนี้แค่ปักหมุดใน Google map ก็เพียงพอแล้ว แต่อ๊ะ ๆ ต้องดูกันก่อนนะคะว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านทุกอย่าง 20 บาท จะเข้าไปเสิร์ชจริงหรือเปล่า หรือจริง ๆ แล้วของในร้านไม่ได้มีความแตกต่างกัน เพียงแต่ลูกค้าตองการความสะดวก ครบ สบายเท่านั้นเอง
ทำเลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับร้าน แถมทำเลยังช่วยเจ้าของร้านประเมินได้ว่าร้านต้องมีสินค้าแบบใดเป็นพิเศษหรือเปล่า ถ้าร้านอยู่ใกล้หมู่บ้าน อพาร์ตเม้นท์ก็เตรียมอุปกรณ์ทำอาหาร เครื่องครัว จาน ชามเข้าไว้ในร้านมากหน่อย แล้วถ้าใครมีพื้นที่หน้าบ้านที่เปลี่ยนมาเปิดร้านได้ก็จะมีแต้มต่อช่วยประหยัดค่าเช่าไปได้อีกเยอะเลยนะคะ
2. คำนวณเงินลงทุน
ก่อนจะเริ่มธุรกิจอะไรสักอย่างต้องตั้งต้นด้วยการพิจารณาเงินที่ลงทุน ระยะเวลาที่การลงทุนนั้นจะให้เงินกลับมา และระยะเวลาที่จะคืนทุน ทุกอย่างเกี่ยวกับการบริหารเงินสดหมดเลยค่ะ บอกได้เลยว่าสภาพคล่อง หรือ ที่คุ้นเคยกับคำว่า หมุนเงินเนี่ยสำคัญมากๆ เลยนะคะ
อ๊ะที่นี้ลองมาดูในบริบท เงินลงทุนเปิดร้าน 20 บาท กันดูค่ะ ต้องพิจารณาพื้นที่ว่ามีขนาดใหญ่ประมาณไหน มีการออกแบบร้านให้มีชั้นวาง ทางเดิน เค้าเตอร์ชำระสินค้าอย่างไร เพราะจะส่งให้เกิดค่าลงทุนตามมานั้นก็คือ ค่าตกแต่งร้าน ค่าซื้ออละติดตั้งชั้นวางสินค้า และสำคัญที่สุดคือลงทุนซื้อสินค้ามาสต็อกไว้ แต่อาจจะเริ่มจากการสอยย่อยเปิดร้านขนาดเล็กไปก่อน แล้วหากกิจการดีจึงทยอยเติมสินค้าก็ได้เช่นกันค่ะ
ร้านขายทุกอย่าง 20 บาทจะตั้งราคาสินค้าให้ขาย 20 บาทแล้วได้กำไรก็ต้องเข้าใจต้นทุนสินค้าก่อนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือช่วยสรุปจำนวนสินค้า ราคาขายสินค้าเฉลี่ย และราคาซื้อสินค้าเฉลี่ย เพื่อตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่าราคาขายมากกว่าราคาซื้อสินค้าโดยเฉลี่ยมั๊ย เพราะถ้าหากมีข้อมูลครบ การตั้งราคาขายสินค้าในร้านชำก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งราคาสินค้าให้ได้กำไรที่บทความนี่ค่ะ
3. การจดทะเบียนพาณิชย์
พอจะเริ่มทำธุรกิจจริงๆ สิ่งที่เลี่่ยงไม่ได้เลยก็คือ ต้องดูก่อนว่ามีกฎระเบียบอะไรที่ต้องดำเนินการบ้าง อย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ ที่เจ้าของกิจการร้าน 20 บาทต้องไปยืนยันว่ากำลังดำเนินธุรกิจ ค้าขายหรือให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยใช้ชื่อร้านค้าว่าอะไร ตั้งอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะทำในนามบุคคล หรือนิติบุคคลก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ค่า
บอกเลยว่าเงื่อนไขในการจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ (โดยไม่สนใจว่าเราจะมีรายได้เท่าใดนะจ้ะ) อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ ซึ่งถ้าไม่จดทะเบียนพาณิชย์จะมีความผิดตามมาด้วยนะคะ
4. จัดวางสินค้าตามหมวดหมู่
การจัดวางสินค้า 20 บาท ด้วยความที่สินค้าต้องแน่นเต็มร้าน ก็ยิ่งควรจัดวางให้อยู่ในระดับสายตา ลูกค้าเวลาเดินดูก็หยิบจับได้ง่าย และอย่าลืมจัดวางตามหมวดหมู่ เช่น โซนเครื่องครัว โซนอุปกรณ์ทานอาหาร โซนอุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น มีทริคเล็กๆ ยกระดับให้สินค้าขายง่ายขึ้นไปอีกด้วยการเรียงสินค้าที่ใกล้เคียงกันไว้ข้างๆ กัน เช่น วางสบู่ ไว้ข้างๆ ยาสระผม เพื่อจากเดิมลูกค้าอาจจะซื้ออย่างเดียวก็กลายเป็นซื้อทั้งสองอย่างไปได้ และที่สำคัญควรเว้นระยะห่างให้เหมาะสมบริเวณทางเดิน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้าร้านหาของและเดินเหินได้สะดวกนะคะ
การจัดวางก็มีหลายแบบที่เลือกใช้ในร้านกันได้ ยกตัวอย่างชัดๆเหมือนร้านสะดวกซื้อดังๆ เค้าทำกันจะมีดังนี้ค่ะ
- ชั้นแขวนสินค้า เหมาะกับการแขวนโชว์สินค้าที่มีความเบา ลักษณะเป็นชิ้นเล็ก เช่น ขนมถุง กิ๊ฟช้อป
- ชั้นวาง/ตู้โชว์สินค้า เหมาะกับการวางสินค้าที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ๆ เช่น กะละมัง จาน ชาม
- เคาน์เตอร์ชำระสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าชิ้นเล็ก เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อ ณ จุดชำระเงิน เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม
นอกจากจัดเป็นระเบียบแล้วนั้น การติดป้ายเพื่อฮุกความสนใจของลูกค้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้นะคะ เช่น ป้าย “สินค้าขายดี” ป้าย “สินค้ามาใหม่” ป้าย “สินค้าลดราคา” ค่ะ
5. การเก็บข้อมูลสินค้า
แน่นอนว่าธุรกิจทุกอย่าง 20 บาท เงินลงทุนก็จะอยู่ที่สินค้านี่แหละค่ะ ดังนั้นพระเอกที่เจ้าของกิจการต้องพิถีพิถันก็เลือกร้านและต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก็คือ ร้านค้าส่ง หรือ โรงงาน Supplier ว่ามีความน่าเชื่อถือไหม สินค้ามีคุณภาพดีหรือเปล่า และมีของเพียงพอกับการสั่งของกิจการเรามั๊ย
ที่นี่เราจะรู้ได้อย่างไรหละว่า สินค้าไหนควรซื้อเยอะ สินค้าไหนควรซื้อน้อย ในช่วงแรกอาจจะเป็นแค่การประเมินคร่าวๆ จากกลุ่มเป้าหมายในบริเวณนั้น แต่ถ้าในอนาคตสิ่งที่จะช่วยได้มากที่สุดก็คือข้อมูลการขายของนั่นเอง ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ยอดขายและสินค้าที่ดีที่สุดแบบไม่ต้องลงทุนเพิ่มก็คือ Mobile POS ของ FlowAccount นี่หละค่ะ
6. ตัวช่วยบริหารร้านค้า 20 บาท
จะดีกว่าไหม ถ้าสามารถเปลี่ยนจากเครื่อง POS ที่ต้องลงทุนหลายหมื่นบาท มาเป็น POS เก็บเงิน ตัดสต๊อกสินค้าผ่านมือถือ แถมยังลงบัญชีอัตโนมัติได้ในที่เดียว ลองมาทำความเข้าใจฟีเจอร์ต่างๆ ที่ร้านค้าทุกอย่าง 20 บาท สามารถนำไปใช้ต่อยอดกันได้ พร้อมกันค่ะ
ดูประวัติการขายสินค้าบน MobilePOS ย้อนหลังได้ จะนานแค่ไหนก็บันทึกไว้หมด ตรวจสอบประวัติการขายสินค้าในเมนูแคชเชียร์ได้ไม่จำกัดวันย้อนหลัง แถมสามารถพิมพ์เอกสารย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อ ผ่านเมนูแคชเชียร์ และกดดูประวัติการขาย ด้วยนะคะ
Mobile POS by FlowAccount สามารถเชื่อมต่อและสั่งพิมพ์ใบเสร็จผ่านเครื่องปริ๊นต์เทอมัล (Thermal) ผ่านระบบ Bluetooth และ Wifi เพื่อออกใบเสร็จอย่างย่อให้กับลูกค้าเป็นหลักฐานในการซื้อสินค้าได้ด้วยนะ พนักงานที่ต้องนำบิลไปเบิกกับบริษัทเวลาขอเอกสาร ร้านค้าก็สามารถออกได้อย่างง่ายดาย
หมดห่วงเรื่องลูกค้าจ่ายเงินไม่ครบ หรือกรอกเลขผิด เมื่อเรียกเก็บเงินผ่านการสแกน QR Code เพราะสามารถระบุยอดเงินแบบ Dynamic QR Code บน MobilePOS ได้ รับเงินสบายใจเสมือนการล็อคเลขเก็บเงินผ่าน QR Payment by KBank ผ่าน “เมนูแคชเชียร์” > เลือก “เก็บเงินทันที” > กรอกยอดชำระ แล้วกด “เก็บเงิน” > เลือก “QR Payment by KBank” เท่านั้นเองค่ะ
เจ้าของร้านสามารถดาวน์โหลด QR Code เพื่อขอใบกำกับภาษี ได้ทั้งบนเว็บไซด์และแอพพลิเคชัน เพื่อนำไปวางที่เค้าเตอร์เก็บเงินหน้าร้าน ให้ลูกค้าสแกน QR แล้วกรอกข้อมูลเอง ประหยัดเวลา ป้องกันข้อมูลผิดพลาดในการออกใบกำกับภาษีได้ด้วยนะคะ
ตอนนี้เชื่อเลยว่า ว่าที่เจ้าของร้านทุกอย่าง 20 บาท ต้องได้ไอเดียการทำธุรกิจและไอเดียการใช้เครื่องมือให้การบริหารร้านง่ายและสะดวกมากขึ้นกันแล้ว นับเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนสำหรับคนที่ต้องการเปิดร้านขายสินค้าที่หลากหลายประเภท ที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับร้านค้าปลีกชนิดอื่น เรียกไ้ว่าซื้อง่ายขายคล่อง มีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเป็นประจำ
หัวใจสำคัญของการสร้างกำไรจากร้านทุกอย่าง 20 บาทคือ การบริหารจัดการสินค้า และการวิเคราะห์ข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เติบโต และไม่ต้องกังวลด้านบัญชีภาษีอีกต่อไปด้วย MobilePOS จาก FlowAccount ค่ะ
About Author
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA Thailand) เจ้าของเพจ “Chalitta Accounting” มีประสบการณ์ตรวจสอบบัญชีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษีแก่ผู้ประกอบการ SMEs
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนของ FlowAccount ได้ที่นี่