นักบัญชีที่เปิดสำนักงานบัญชีเป็นของตัวเองแล้ว ต่อมาสอบ CPA เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แล้ว อยากเปิดสำนักงานสอบบัญชีได้หรือไม่ มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้ ต้องเช็กอะไรบ้าง และสิ่งที่ต้องรายงานเป็นประจำทุกปีมีอะไร เรามาหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ |
นักบัญชีมีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การเปิดสำนักงานบัญชีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การตรวจสอบบัญชีก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับคนเรียนจบบัญชีค่ะ
และนักบัญชีที่เปิดสำนักงานบัญชีเป็นของตัวเองแล้ว ต่อมาสอบ CPA เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้แล้ว อยากเปิดสำนักงานสอบบัญชีได้หรือไม่ มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้ และต้องเช็กบ้าง เรามาหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ
งานทำบัญชี ต่างกับ งานตรวจสอบบัญชีอย่างไร
ก่อนอื่นต้องอธิบายให้นักบัญชีมือใหม่เข้าใจแบบนี้ก่อนว่า งานบัญชีต่างกับงานตรวจสอบบัญชี อย่างไรบ้าง
เปิดสำนักงานบัญชี คู่กับสำนักงานสอบบัญชี ทำได้หรือไม่
สำหรับนักบัญชีที่สอบ CPA ได้แล้ว อยากจะเปิดสำนักงานบัญชี คู่กับสำนักงานสอบบัญชีก็สามารถทำได้ค่ะ
ยิ่งนักบัญชีมีความสามารถเยอะขึ้น ก็สามารถหารายได้ได้หลายทางขึ้น และนี่ก็เป็นอีกโอกาสนึงที่นักบัญชีสามารถมีรายได้จากการตรวจสอบบัญชีอีกทางหนึ่ง
เลือกอ่านได้เลย!
เงื่อนไขในการจดทะเบียนสำนักงาน
เนื่องด้วยการทำบัญชีและการตรวจสอบบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายควบคุมไว้ ดังนั้น การเปิดสำนักงานบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีในรูปแบบนิติบุคคล ต้องขอจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีค่ะ รายละเอียดการจดทะเบียนนั้นมีเงื่อนไขขั้นต่ำดังต่อไปนี้
ข้อความระวังในการรับทำบัญชี และตรวจสอบบัญชีพร้อมกัน
สำหรับสำนักงานบัญชี ที่ต้องการรับทั้งงานทำบัญชีและสอบบัญชีพร้อมกัน ต้องระวังข้อผิดพลาดจรรยาบรรณ เรื่องความอิสระ เนื่องจากเราไม่สามารถเป็นทั้งผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีให้กับลูกค้าคนเดียวกันได้ค่ะ สาเหตุก็เพราะหากเราเป็นทั้งคนทำบัญชี และตรวจสอบบัญชีในเวลาเดียวกัน มีโอกาสสูงมากที่จะทำงานผิดแล้วตรวจสอบไม่พบ
ดังนั้น เราจะต้องเลือกเพียงหนึ่งบริการสำหรับลูกค้าว่าจะเลือกให้บริการทำบัญชีหรือตรวจสอบบัญชีนะคะ
ขั้นตอนการเปิดสำนักงานบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี
ถัดมาเรามาดูขั้นตอนการจดทะเบียนเปิดสำนักงานบัญชีและสำนักสอบบัญชีกับทางสภาวิชาชีพบัญชีกันค่ะ
- จดทะเบียนนิติบุคคลเสียก่อน
- จดทะเบียนสำนักงานบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี
- แจ้งรายละเอียดหลักประกัน เพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่ 3
- ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน
นี่เป็นเพียงขั้นตอนโดยสรุปเท่านั้น สำหรับเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทความ อยากเปิดสำนักงานบัญชี สำนักงานตรวจสอบบัญชี มีขั้นตอนอย่างไร
แต่ละปีต้องแจ้งรายชื่ออย่างไร
แม้จะจดทะเบียนเป็นสำนักงานบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีกับทางสภาวิชาชีพบัญชีเรียบร้อยแล้ว ก็ใช่ว่าหน้าที่ของเราจะจบลงนะคะ เราจะต้องแจ้งรายชื่อลูกค้าที่เราให้บริการกับหน่วยงานที่ดูแลด้วย มีอะไรที่ต้องทำบ้างลองมาดูรายละเอียดกัน
ควรแยกบริษัททำบัญชีออกจากบริษัทตรวจสอบบัญชีเมื่อใด
สมมติว่าเราเปิดสำนักงานที่รับงานบัญชี และงานสอบบัญชี เมื่อเวลาผ่านไป สำนักงานมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนพนักงานของเราก็จะเพิ่มมากขึ้น ที่นี้จุดไหนล่ะ ที่เราควรจะแยกสำนักงานบัญชี ออกจากสำนักงานสอบบัญชีดี เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
ยกตัวอย่างเช่น
- ความคล่องตัวในการทำงาน บริหารจัดการทีมแยกจากกัน
- การคำนวณกำไรขาดทุนแยกต่างหากออกจากกัน
- ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะรายได้จากการทำบัญชีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายได้จากงานสอบบัญชีได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หากงานทำบัญชีมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็อาจจะเหมาะสม ที่แยกสำนักงานทำบัญชีออกจากสำนักงานสอบบัญชี เพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้
สรุป
การทำสำนักงานบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับคนที่เรียนจบบัญชีทุกคนค่ะ เพราะการมีรายได้หลายทางก็ดีกว่ามีรายได้ทางเดียวอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนต้องรู้ก็คือ วิธีการทำงาน เงื่อนไขการจดทะเบียน การแจ้งรายชื่อ ของสำนักงานบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ เรื่องจรรยาบรรณก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญหากต้องการทำงานในวิชาชีพนี้อย่างภาคภูมินะคะ
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่