เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับกิจการโรงแรม

เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับกิจการโรงแรม

การกลับมาของโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพิ่มการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วันนี้ FlowAccount จะมาไขข้อสงสัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการโรงแรมในบทความนี้กันค่ะ

การกลับมาของโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกันในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ช่วยสร้างสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วันนี้ FlowAccount จะมาไขข้อสงสัย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทโดยเฉพาะกันค่ะ

 

ก่อนอื่นขออธิบายสำหรับทุกท่านที่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ์ในเฟสก่อนหน้านี้ กันก่อนนะคะ…

 

บุคคลธรรมดาที่เคยลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน มาแล้วในเฟส 1, 2, 3 และเฟส 4 สามารถกดรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง เพื่อรับสิทธิ์ในเฟส 5 ได้เช่นกัน

 

ส่วนคนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ์มาก่อน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 เริ่มดำเนินการโครงการ 7 มีนาคม – 30 เมษายน 2566 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนพร้อมกัน 27 กุมภาพันธ์ นี้ ผ่าน www.เราเที่ยวด้วยกัน.com

 

ระยะเวลาโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5

 

ระยะเวลาใช้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ปี 2566 จะมีระยะเวลาของผู้ประกอบการรายใหม่ และประชาชนที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ

 

  • เริ่มรับสมัครสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ระหว่างวันที่ 8 -15 กุมภาพันธ์
  • เปิดให้ประชาชนจองโรงแรมเพื่อใช้สิทธิ์
    • ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ สำหรับผู้ไม่เคยได้รับสิทธิ์
    • บุคคลที่เคยลงทะเบียนแล้วกดยืนยันสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม เป็นต้นไป
  • เริ่มเข้าพักวันแรกได้วันที่ 10 มีนาคม
  • วันที่เข้าไปจองโรงแรมได้เป็นวันสุดท้ายคือวันที่ 26 เมษายน เพื่อให้วันสุดท้ายของการเข้าพักและวันสิ้นสุดโครงการเป็นวันที่ 30 เมษายน

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการรายใหม่

 

สำหรับเจ้าของโรงแรม ที่พักที่ยังไม่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการมาก่อน FlowAccount รวบรวมขั้นตอนการสมัครมาให้แล้วค่ะ

  • สมัครใช้บริการแอปพลิเคชันถุงเงิน ที่ www.ถุงเงินกรุงไทย.com
  • เข้าสู่เว็บไซด์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com
  • ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลผ่านระบบ TAT E-Form ของ ททท. ระหว่างวันที่ 8 – 15 กุมภาพันธ์ 2566

บุคคลธรรมดารับสิทธิ์ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 มีเงื่อนไขและข้อกำหนดอะไรบ้าง

 

มาดูฝั่งบุคคลที่สามารถใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน เพื่อความเข้าใจมากขึ้นของเจ้าของกิจการโรงแรม ขอเน้นย้ำว่าผู้ที่จะใช้สิทธิ์ได้จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะไม่สามารถใช้ได้นะคะ ซึ่งเงื่อนไขและข้อกำหนดมีดังนี้

 

  • ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  • อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
  • ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com พร้อมติดตั้งแอปพลิเคชันเป๋าตัง
  • รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน
  • จำกัดสิทธิ์คนละไม่เกิน 5 ห้อง หรือ 5 สิทธิ์
  • จองห้องพักล่วงหน้าก่อนเดินทาง 3 วัน
  • ไม่สามารถเช็คอินโรงแรม หรือใช้จ่ายคูปองอาหารและท่องเที่ยวกับร้านที่อยู่จังหวัดเดียวกันกับทะเบียนบ้านได้
  • ประชาชนต้องสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนในขั้นตอนการ Check-in

ประเภทกิจการที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

 

ที่นี้ก็ถึงเวลาที่เจ้าของกิจการจะมาเช็คกันแล้วค่ะว่า กิจการของเราเข้าเงื่อนไขโครงการนี้หรือไม่นะคะ มาเช็ครายละเอียดกิจการตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

  • โรงแรม ที่พัก ที่มีใบอนุญาตประกอบการธุรกิจโรงแรม และ โรงแรมที่พักที่ไม่มีใบอนุญาตแต่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20 )
  • ร้านอาหาร
  • สถานที่ท่องเที่ยว ตามรายชื่อของ ททท.
  • ร้าน OTOP ที่มีใบอนุญาตประกอบการตามกระทรวงมหาดไทย
  • สปา นวดเพื่อสุขภาพ (มีใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ)
  • รถเช่า เรือเช่า (มีใบอนุญาตประกอบกิจการ)

 

กิจการที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

ขอมาโฟกัสรายละเอียดเพื่อผู้ประกอบการโรงแรม ที่พัก และรีสอร์ทไปพร้อมๆ กันนะคะ

 

สนับสนุนส่วนลดค่าโรงแรมที่พัก

 

มาดูกันต่อนะคะว่ามีส่วนใดบ้างที่ทางโครงการได้สนับสนุนกิจการโรงแรมและรีสอร์ทกันบ้าน และเงื่อนไขที่ควรทราบมีอะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ

  • รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน (นั่นหมายความว่าอีก 60% บุคคลธรรมดาจะเป็นผู้จ่ายนั่นเองค่ะ)
  • จำกัดสิทธิ์คนละไม่เกิน 5 ห้อง หรือ 5 คืน
  • เมื่อจองที่พักแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้แต่สามารถเลื่อนวันเข้าพักได้ การเลื่อนเข้าพักต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด

 

จองโรงแรมและรีสอร์ทโดยตรงกับทางที่พัก

 

สนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว

 

หากผู้ที่ไปท่องเที่ยวถ้าไม่ทานอาหาร หรือ ไปสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ก็คงจะแปลกใช่ไหมคะ ดังนั้นโครงการนี้จึงให้สิทธิ์ประโยชน์เพื่อกระตุ้นกิจการที่เกี่ยวเนื่องกันด้วยเช่นกันค่ะ สนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวจะมี ดังนี้

 

  • สนับสนุนคูปองอาหารและท่องเที่ยวมูลค่า 600 บาทต่อห้องต่อคืน ให้กับประชาชนเมื่อ Check-in โรงแรมหรือที่พักสำเร็จ
  • จะได้รับคูปองอาหารและท่องเที่ยว วันละ 1 ครั้ง หลังเวลา 17.00 น. ของวัน Check-in โดยคูปองจะหมดอายุเวลา 23.59 น. ของวัน Check-out
  • คูปองอาหารและท่องเที่ยวสามารถใช้ได้ที่ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการ โดยประชาชนชำระ 60% และรัฐบาลสนับสนุนอีก 40% ผ่านการตัดเงินจากคูปอง

 

เมื่อเข้าใจรายละเอียดทั้งฝั่งบุคคลที่รับสิทธิ์และเจ้าของกิจการที่พักแล้ว ที่นี้ เราจะมาเน้นย้ำแนวทางออกใบกำกับภาษีสำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ที่เจ้าของกิจการควรรู้กันค่ะ

 

แนวทางการออกใบกำกับภาษีของโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ

 

เจ้าของกิจการโรงแรม รีสอร์ท หรือที่พักก็สามารถใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง FlowAccount ในการออกใบกำกับภาษี ที่ใช้งานง่าย เหมาะกับนักธุรกิจยุคใหม่กันได้นะคะ ส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-tax invoice by email ได้อีกด้วยนะคะ

 

สามารถเพื่อทางเลือกช่องทางการรับชำระเงินให้กับลูกค้าได้ เพียงเชื่อมต่อ FlowAccount กับ Payment Gateway ระดับโลกอย่าง Stripe ไม่ว่าลูกค้าจะอยากจ่ายผ่านพร้อมเพย์ บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตก็เพียงแค่แชร์ลิงก์เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม และให้ลูกค้าเลือกจ่ายเงินด้วยช่องทางที่สะดวกได้เลย

 

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีสำหรับการให้บริการโรงแรมในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

1) แนวทางในการออกใบกำกับภาษีสำหรับโรงแรม รีสอร์ท และที่พักที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกัน 

  • ออกใบกำกับภาษีในนามของลูกค้าผู้ใช้บริการ 
  • ออกใบกำกับภาษีจำนวนเต็ม (ทั้งส่วนที่ลูกค้าจ่าย 60% และส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 40%)
  • ออกใบกำกับภาษีอย่างช้าที่สุดในวันที่ลูกค้า Check-out

 

2) ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 

  • ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท และที่พักที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

3) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีในนามของลูกค้าผู้ใช้บริการ 

  • เพราะประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์เป็นผู้ใช้บริการโรงแรมที่พัก โดยได้รับเงินสนับสนุนค่าที่พักจากรัฐในอัตราร้อยละ 40 ของราคาสุทธิ แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องต่อคืน หรืออีกนัยหนึ่งคือ รัฐไม่ใช่ผู้ใช้บริการโรงแรมที่พักนั่นเองค่ะ

 

4) ใบกำกับภาษีออกในนามนิติบุคคลได้หรือไม่ 

    • ไม่ได้ค่ะ ใบกำกับภาษีต้องออกในนามประชาชนบุคคลธรรมดาผู้ใช้สิทธิ์ภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เท่านั้น เนื่องจากโครงการเราเที่ยวด้วยกันเป็นโครงการให้ที่สิทธิ์กับบุคคลธรรมดาเท่านั้น

5) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีจำนวนเงินเต็ม ทั้งส่วนที่ลูกค้าจ่ายและส่วนที่ได้รับจากรัฐ

    • ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งส่วนที่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์ชำระเอง และส่วนที่รัฐสนับสนุนค่าที่พักให้กับประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์

6) ทำไมผู้ประกอบการโรงแรมจึงออกใบกำกับภาษีในวันที่ลูกค้า Check-out 

    • ในทางปฏิบัติ กรณีทั่วไปที่ลูกค้ามาใช้บริการ ผู้ประกอบการโรงแรมจะสามารถสรุปยอดค่าบริการได้ ในวันที่ลูกค้า Check-out และ 
    • ในกรณีที่ลูกค้าไม่มาใช้บริการ หรือไม่ Check-in ใน application เป๋าตัง ผู้ประกอบการโรงแรมจะไม่ได้รับชำระเงินส่วนที่รัฐสนับสนุน 
    • อีกทั้ง ผู้ประกอบการโรงแรมจะได้รับข้อมูล ชื่อ-สกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของลูกค้าผู้ใช้บริการเมื่อลูกค้ามาใช้บริการ ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมและคำนึงถึงข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติการออกใบกำกับภาษีในวันที่ลูกค้า Check-out จึงเป็นวันที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติที่สุด

7) ถ้าโรงแรมออกใบกำกับภาษีส่วนที่ได้รับจากลูกค้าร้อยละ 60 ไปล่วงหน้าแล้วต้องทำอย่างไร

    • ผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องออกใบกำกับภาษีในส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ภายในวันที่ลูกค้า Check-out

8) มูลค่าที่นำไปรวมเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบฯ ภ.พ.30 เป็นเท่าไหร่

    • ผู้ประกอบการโรงแรมต้องนำมูลค่าเต็มจำนวน ทั้งส่วนที่ลูกค้าชำระและได้รับเงินจากรัฐ ไปรวมเป็น ยอดขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีนั้น

9) ผู้ประกอบการโรงแรมออกใบกำกับภาษีรูปแบบใดได้บ้าง

    • ผู้ประกอบการโรงแรมที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ใช้บริการ และในกรณีที่การให้บริการของกิจการโรงแรมที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยบุคคลจำนวนมาก ผู้ประกอบการโรงแรมมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้แก่ผู้ใช้บริการได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
    • อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าผู้ใช้บริการร้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการโรงแรมต้องจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป พร้อมส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้ผู้รับบริการ

อ้างอิง : คำถามที่พบบ่อยโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

 

เมื่อได้ทุกคนเข้าใจรายละเอียดและสิทธิ์ประโยชน์ต่างๆ แล้ว ก็อย่าลืมเช็ควันว่าง ลาหยุดและออกไปเที่ยวช่วยชาติกันนะคะ

 

เริ่มต้นใช้งานกับ FlowAccount ได้ง่ายๆ ทดลองใช้ฟรี 30 วัน หรือสมัครแพ็กเกจกับเรา ราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 165 บาทไม่จำกัดจำนวนเอกสาร แถมยังใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือได้ด้วย ผู้ประกอบการยุคใหม่ปรับมาใช้บัญชีออนไลน์กันเยอะๆ นะคะ

About Author

รับวันใช้งานฟรี 30 วัน
เมื่อสมัครทดลองใช้ FlowAccount วันนี้
สมัครเลย

บทความที่คุณน่าจะสนใจ