คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ประเด็น ภาษีสำหรับคนขายของออนไลน์

ภาษีโครงการคนละครึ่งและช้อปดีมีคืน

ข้อดีของการทำความเข้าใจเรื่องการเสียภาษีเงินได้ จะส่งผลให้เราหาคำตอบเรื่องการเก็บข้อมูลรายได้อย่างถูกต้อง และคิดถึงเรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายโดยอัตโนมัติ รวมถึงให้ความสำคัญกับการทำบัญชี ไม่ว่ารูปแบบธุรกิจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ก็ตาม

โดย TaxBugnoms

ในช่วงที่นโยบายคนละครึ่งและช้อปดีมีคืนเป็นที่ฮอตฮิตแบบนี้ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาทั้งหลายกลัวนั้น คงไม่พ้นเรื่องของภาษีแน่นอน แต่ก่อนจะกลัวภาษีไปมากกว่านี้ เราคงต้องกลับมาตั้งคำถามว่า “เราจะอยู่รอด” หรือ “อยู่ต่อไปเพื่อหนีภาษี” เพื่อให้เราเลือกทางที่ถูกต้องให้กับตัวเองเสียก่อนครับ

 

ผมเคยเขียนบทความเรื่อง คนละครึ่ง กับ โอกาสของธุรกิจรายย่อย ไว้ ซึ่งประเด็นสำคัญในนั้นคือ เราควรเลือกทางเลือกที่ให้ธุรกิจอยู่รอดมากกว่ากลัวเรื่องของภาษี

 

แต่สำหรับบทความนี้ เมื่อเรามีทั้งคนละครึ่งและช้อปดีมีคืนมารวมกัน จะเห็นว่าโอกาสของธุรกิจก็ยิ่งมากกว่าเก่า ไม่ว่าเราจะขายของออนไลน์หรือไม่ หรือทำธุรกิจทั่วไปก็ตาม การจัดการภาษีให้ถูกต้องจะเพิ่มโอกาสให้กับเรามากขึ้นเช่นกัน

 

สมมติว่าเราตกลงปลงใจเลือกการเสียภาษีให้ถูกต้อง (ตามที่ผมพยายามโน้มน้าวมาทั้งหมดนี้) สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจจะมีประเด็นสำคัญอยู่  3 ข้อครับ นั่นคือ 

 

1. รายได้ทั้งหมดที่ได้รับจากทั้งสองกรณี ต้องเอามาเสียภาษีเงินได้ให้ถูกต้องตามรูปแบบของธุรกิจ และควรรวมรายได้ทั้งหมดที่ได้รับด้วย อย่างเช่น 

    1. กรณีของคนละครึ่ง รายได้ที่เราเอามาคำนวณภาษีนั้น จะไม่ได้เกี่ยวเฉพาะแค่รายได้จากคนละครึ่งเท่านั้น แต่เป็นรายได้ทั้งหมดที่เราได้รับจากการทำธุรกิจในทั้งปี 
    2. กรณีช้อปดีมีคืนก็เช่นเดียวกัน รายได้ที่เรานำมาคำนวณภาษีนั้น ต้องเป็นรายได้ทั้งหมด ไม่ใช่เลือกเฉพาะส่วนที่ให้ลูกค้าใช้สิทธิ์มาคำนวณภาษี

ข้อดีของการเข้าใจประเด็นตรงนี้ จะส่งผลให้เราหาคำตอบเรื่องการเก็บข้อมูลรายได้อย่างถูกต้อง และคิดถึงเรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายโดยอัตโนมัติ รวมถึงให้ความสำคัญกับการทำบัญชี ไม่ว่ารูปแบบธุรกิจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ก็ตาม 

 

2. เรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับการมีรายได้ โดยแต่ละกลุ่มจะคำนึงถึงเรื่องที่แตกต่างกันดังนี้ 

    1. กรณีของคนละครึ่ง ถ้าหากรายได้ทั้งหมดเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เรามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องภายใน 30 วันหลังจากที่มีรายได้เกิน ซึ่งตรงนี้จะมีประเด็นตามมาเรื่องของการตั้งราคาขายว่าต้องคิดภาษีส่วนนี้ด้วย
    2. กรณีของช้อปดีมีคืน การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องถูกต้องตามเงื่อนไข เพื่อให้ลูกค้าสามารถเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ (กรณีที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังนั้น ทางฝั่งธุรกิจเองควรมีระบบการออกใบกำกับภาษีที่รองรับเรื่องเหล่านี้เช่นเดียวกัน ไปจนถึงการบันทึกรายได้ส่วนนี้ให้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องอีกด้วย

จากตรงนี้จะเห็นว่า การศึกษาเรื่องระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งที่ต้องทำในลำดับถัดมา เพราะว่าถ้าหากเรารู้เรื่องนี้แล้ว ก็จะช่วยวางแผนจัดการได้ตั้งแต่การตั้งราคา และการจัดการกำไรไปพร้อมๆ กันครับ 

 

3. ข้อมูลบัญชีรายรับรายจ่าย คือสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งเรื่องนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้อง 

    1. ทำเพื่อยืนยันความถูกต้อง เพราะมีเรื่องของการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร อย่าลืมนะครับว่ากรณีของคนละครึ่ง เรากำลังใช้แอปเป๋าตัง ซึ่งหากข้อมูลจำนวนครั้งหรือจำนวนเงินถึงเงื่อนไขการส่งข้อมูลที่กฎหมายกำหนด ทางระบบมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรด้วย ดังนั้นเราต้องรู้ข้อมูลของตัวเองด้วยเช่นกัน ในขณะที่ช้อปดีมีคืน การรับเงินผ่านบัญชีธนาคารต่างๆ ก็มีเรื่องนี้ไม่แตกต่างกัน
    2. ทำเพื่อให้บันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง ไปจนถึงการคำนวณต้นทุนที่เหมาะสม จะได้วางแผนและจัดการกำไรของธุรกิจได้อย่างดี พร้อมกับมีหลักฐานเสียภาษีที่ถูกต้องไปด้วย

เห็นไหมครับว่า จาก 3 ประเด็นนี้ นอกจากประเด็นเรื่องของภาษีที่พูดมาแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากเตือนไว้ นั่นคือ การจัดการข้อมูลของธุรกิจเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในยุคนี้ เพื่อให้เราได้รู้และวางแผนเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงได้รับข้อมูลการทำธุรกิจที่ดีพอที่จะตัดสินใจในอนาคตต่อไป 

 

และที่สำคัญ เราคงปล่อยให้คนอื่นรู้ข้อมูลธุรกิจของเรามากกว่าตัวเราไม่ได้หรอก จริงไหมครับ …

 

เริ่มต้นจัดการข้อมูลธุรกิจฟรีได้ที่ FlowAccount ระบบบริหารธุรกิจ SME ที่นี่

 

 

อ่านบทความ 9 ที่ควรรู้ก่อนวางแผนภาษี สำหรับคนขายของออนไลน์ ต่อเลย

 

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like