ขั้นตอนยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน ภ.พ. 30 ออนไลน์ที่มือใหม่ก็ทำได้

ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน

บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจวิธีการทำเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษีรายเดือนอย่างภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ออนไลน์กันค่ะ เริ่มทำความเข้าใจตั้งแต่ concept ของการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม การบริหารภาษีซื้อ จนถึงแคปภาพขั้นตอนการยื่นทีละสเต็ป

บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจวิธีการทำเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษีรายเดือนอย่างภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 กันค่ะ จะมาเริ่มทำความเข้าใจตั้งแต่ concept ของการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม การบริหารภาษีซื้อ ไปจนถึงภาพให้เห็นขั้นตอนการยื่นทีละสเต็ปกันเลยค่า

 

Concept การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มง่ายๆ

 

ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการยื่นภาษี ภ.พ.30 รายเดือนกัน มาทำความเข้าใจที่มาที่ไปกันแบบง่ายๆกันค่ะ

 

นิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็เท่ากับว่าทุกเดือนหลังจากนั้นจะมีหน้าที่เพิ่มขึ้้นมา 1 อย่างก็คือ การยื่น ภ.พ.30 หรือการนำส่งภาษีซื้อภาษีขายนนั่นเอง

 

หลังจากการจดทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่มแล้วทุกการซื้อ การขายจะเป็นดังนี้ค่ะ 

 

ฝั่งรายได้ ภาษีขาย

 

ทุกรายการที่มีการขายหรือให้บริการจะต้องคิด VAT 7% จากลูกค้าเสมอ ไม่ว่าจะขายสดขายเชื่อก็ตาม ในส่วนนี้ก็เท่ากับว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มเราได้ผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ให้จ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแทนกิจการเรา

 

ฝั่งค่าใช้จ่าย ภาษีซื้อ

 

เมื่อมีการซื้อสินค้า อุปกรณ์ หรือบริการใดๆ หากเราเลือกซื้อกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับเรา และขอใบกำกับภาษีเต็มรูปมาเป็นหลักฐานประกอบ กิจการของเราก็สามารถนำใบกำกับภาษีที่เราซื้อสินค้าที่มีการคิด VAT 7% ที่เราถูกคิดไป มาใช้เป็นสิทธประโยชน์ภาษีซื้อได้เลย

 

ทุกๆดือนหลังจากที่เรามีทั้งภาษีขาย และภาษีซื้อ ก็สามารถนำมาหักกลบกันเพื่อยื่น ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ถ้ายื่นผ่านออนไลน์ก็จะขยายได้เพิ่มอีก 8 วันค่ะ

 

  • กรณีที่ ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ : กิจการจะต้อวชำระค่าภาษีเพิ่ม
  • ส่วนกรณีที่ ภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ : กิจการสามารถขอคืนภาษี หรือ พันยอดไปใช้ในเดือนถัดไปได้ค่ะ (แต่แนะนำให้พันยอดภาษีจะดีกว่านะคะ) 

 

จากทั้งหมดที่ว่ามา สามารถอธิบายเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ตามด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

แผนภาพการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

การบริหารภาษีซื้อใน 6 เดือน

 

หลายคนเคยได้ยินกันมาว่า ภาษีซื้อที่ไปซื้อสินค้า หรือใช้บริการมาเนี่ยสามารถนำใบกำกับภาษีมาใช้ได้ถึง 6 เดือน ก็คือว่า เช่น เดือนมกราคม ได้รับใบกำกับภาษีไม่ทันรอบหรือมีเหตุสุดวิสัย ตามเงื่อนไขด้านล่างนี้ ก็สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อใบนั้นมาใช้ได้ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่ระบุในใบกำกับภาษี

 

ข้อควรระวังในการใช้ภาษีซื้อที่ใช้ภายใน 6 เดือน ต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อนี้

 

  1. เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า
  2. เหตุสุดวิสัย
  3. ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่น

 

ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ จะเลื่อนใช้ได้เลยนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะมีความผิดได้ โดยมีสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม คือ ต้องระบุคำว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี...” ในเดือนภาษีที่เรานำไปใช้ด้วยนะคะ

 

แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะ FlowAccount มีโปรแกรมช่วยระบุการบริหารภาษีซื้อบนระบบออนไลน์ไว้ให้เลย ว่าสามารถใช้เอกสารใบนี้ได้ภายในเดือนใด โดยไม่ต้องมานั่งดูเอกสารใหม่ทุกครั้ง

 

พอทำความเข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาดูขั้นตอนที่ละ step กันเลยค่ะ ว่าการยื่น ภ.พ.30 ออนไลน์ต้องทำอย่างไรบ้างนะคะ

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

1. เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ กรมสรรพากร กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและรหัสผ่าน

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

2. คลิกเลือกไปที่เมนู “ยื่นแบบ” จากนั้นเลือก “ภ.พ. 30” ภายใต้หัวข้อภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

  1. ระบบจะแสดงข้อมูลบริษัท ให้ลองอ่านทวนข้อมูลทั้งหมดให้ครบถ้วน 
    • เลือกเดือนภาษีที่ต้องการยื่น 
    • เลือกการแยกยื่นเป็นรายสถานประกอบการ หรือ ยื่นรวมกัน

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

  1. กรอกยอดตัวเลขลงบนฟอร์ม 
  • ฝั่งยอดขาย
    • ระบุ ยอดขายในเดือน
    • ระบุ ยอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0
    • ระบุ ยอดขายที่ได้รับยกเว้น
  • ฝั่งยอดซื้อ
    • ระบุ ยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาในการคำนวณเดือนนี้
  • ภาษีขายเดือนนี้ และ ภาษีซื้อเดือนนี้
    • ระบบจะทำการคำนวณให้อัตโนมัติจากการคูณ 7%

หากมี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระเกินยกมาให้ระบุตัวเลขที่ยกมาตามจริงให้เรียบร้อยนะคะ

 

การคำนวณพบว่า ยอดภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ สามารถเลือกทางเลือกได้ 3 ทางดังนี้

  • คืนเงินสด
  • คืนผ่านธนาคาร
  • ขอนำภาษีไปใช้เดือนถัดไป (แนะนำ)

 

เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป” ได้เลยค่ะ

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

5. ระบบจะพามายังหน้าสรุปรายการภาษี หากตรวจสอบโดยการ “พิมพ์แบบ” เรียบร้อยแล้วไม่มีการแก้ไข ก็สามารถกด “ตกลงยื่นแบบ” ได้เลย

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

  1. ระบบจะ preview ให้ดูอีกครั้งหนึ่ง หากมั่นใจแล้วว่าถูกต้องก็สามารถกด “ยืนยันการยื่นแบบ” ได้เลยนะคะ

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

7. ระบบจะแสดงผลการยื่นแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 เพื่อให้ดำเนินการชำระเงินในลำดับถัดไป

 

ขั้นตอนการนำส่ง ภ.พ.30 ออนไลน์

 

เพียงเท่านี้การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มก็แถบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่เราทำได้เหมือนวิ่งออกกำลังกายที่เป็นกิจวัตรประจำเดือนของเราได้แล้วหละค่ะ ของเพียงอย่างเดียวที่ต้องรักษาวินัยไว้ให้ได้ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บเอกสารให้ถูกต้องเสมอนั่นเอง

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย