เรื่องสำคัญทางบัญชีและภาษีที่เจ้าของธุรกิจโรงแรมและโฮสเทลต้องรู้ค่ะ ถ้าอยากทำธุรกิจให้เป๊ะ รันบัญชีและภาษีให้ปัง อย่าลืม ทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ไว้ให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลังนะคะ |
อีกเดี๋ยวเดียวก็จะเข้าสู่ High Season ฤดูแห่งการท่องเที่ยวของประเทศไทย ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมหรือโฮสเทล น่าจะรู้กันดีว่า รายการค้าของธุรกิจโรงแรมนั้นซับซ้อน วุ่นวายกว่าธุรกิจทั่วไปมาก แล้วถ้าวันนี้มีโรงแรมเป็นของตัวเอง เราต้องเข้าใจเรื่องบัญชีและภาษีอย่างไรบ้าง FlowAccount จะชวนทุกคนมาเรียนรู้กันค่ะ
รายรับของโรงแรมและโฮสเทล
มาเริ่มต้นเรื่องแรกกันที่รายรับของธุรกิจนี้กัน โดยปกติแล้วโรงแรมมักรับจองห้องพักจากลูกค้าแล้วเรียกรับเงินมัดจำไว้ก่อน จากนั้นค่อยเรียกชำระส่วนที่เหลือตอนเข้าพัก แล้วเรื่องที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับบัญชีและภาษีมีอะไรบ้าง ลองมาดูทีละหัวข้อกันค่ะ
1. เงินมัดจำค่าที่พัก
เงินมัดจำค่าที่พัก เป็นเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้ามาก่อน สำหรับการจองห้องพัก เพื่อการันตีว่าลูกค้าจะเข้าพักจริงไม่ติงนังนะ (ฮ่าๆ) ทีนี้ถ้าโรงแรมได้รับเงินค่ามัดจำห้องพักล่วงหน้า เข้ามาแล้วจะต้องทำยังไงบ้าง เราลองมาดูทีละหัวข้อกันเลยค่ะ
2. เงินค่าที่พักส่วนที่เหลือ เมื่อมาใช้บริการ
เอาล่ะ จากข้อที่ผ่านมาเมื่อโรงแรมรับเงินมัดจำลูกค้ามาแล้ว หลังจากนั้นลูกค้าผู้น่ารักลากกระเป๋าเข้ามาใช้บริการโรงแรม นอกจากจะลงทะเบียนเข้าพักให้แขกและแจก welcome drink สิ่งที่ขาดไม่ได้เรื่องบัญชีและภาษี มีดังต่อไปนี้ค่ะ
สำหรับตัวอย่างข้างต้นเป็นการออกเอกสารในกรณีที่โรงแรมรับเงินตรงจากลูกค้าค่ะ แต่ถ้าใครมีตัวแทน หรือนายหน้าที่ช่วยขายและเรียกเก็บเงินค่าห้องพักให้ โรงแรมจะได้รับเงินทีเดียวตอนปลายเดือนเลยค่ะซึ่งแนะนำว่าควรทำความเข้าใจเรื่องบัญชีและภาษีเพิ่มเติมนะคะ
รายจ่ายของโรงแรมและโฮสเทล
ทำความเข้าใจฝั่งรายรับไปแล้ว ถัดมาลองมาดูฝั่งรายจ่ายบ้างว่า จะมีอะไรที่เราต้องสนใจและโฟกัสเป็นพิเศษบ้างค่ะ
1. ค่าคอมมิชชั่น จ่ายให้แก่ Platform
ทุกวันนี้โรงแรมอาจรับลูกค้าผ่านตัวกลางที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เช่น Agoda, Booking, Traveloka ซึ่งตัวกลางเหล่านี้ไม่ได้ทำงานให้เราฟรีๆ เพราะพวกเค้าได้รับค่าคอมมิชชั่นตอบแทน (GP)
ยกตัวอย่างเช่น ตัวกลางเก็บค่าห้องพักราคาเต็ม 1000 บาท และหักค่าคอมมิชชั่นไว้ 15% เท่ากับ 150 บาท เจ้าเงิน 150 บาทนี้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายของโรงแรมค่ะ ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องบัญชีและภาษีตามนี้
2. จ่ายเงินค่าซื้อเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุสิ้นเปลือง
หัวข้อนี้หลายคนมักเข้าใจผิดว่ารายจ่ายพวกค่าเฟอร์นิเจอร์ และซื้อวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ เป็น “ค่าใช้จ่าย” ทางบัญชีทันที แต่ในความเป็นจริงเราต้องแยกให้ได้ระหว่าง “สินทรัพย์” กับ “ค่าใช้จ่าย” เสียก่อน
สินทรัพย์ ในทางบัญชีแล้วถือว่าเป็นสิ่งที่ซื้อมา และจะสร้างประโยชน์ให้กับกิจการได้ในอนาคต ซึ่งไม่ได้ถูกใช้หมดไปในทันที
สินทรัพย์บางอย่างมีอายุสั้น (สินทรัพย์หมุนเวียน) เช่น วัสดุสิ้นเปลือง สบู่ หมวกอาบน้ำ แปรงสีฟัน เป็นต้น สินทรัพย์บางอย่างมีอายุยาวนาน (สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน) เช่น เฟอร์นิเจอร์ เตียง ตู้
สินทรัพย์แตกต่างกับค่าใช้จ่ายตรงที่ ค่าใช้จ่ายจะเกิดเมื่อเราใช้ประโยชน์ทันที เช่น ซื้อดอกไม้มาจัดหน้าฟร้อนซ์ หรือจ้างพนักงานดูแลความสะอาด เป็นต้น
และทั้งหมดนี้ก็คือ เรื่องสำคัญทางบัญชีและภาษีที่เจ้าของธุรกิจโรงแรมและโฮสเทลต้องรู้ค่ะ ถ้าอยากทำธุรกิจให้เป๊ะ รันบัญชีและภาษีให้ปัง อย่าลืม ทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ไว้ให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลังนะคะ
About Author
นักบัญชี ผู้สอบบัญชี และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ cpdacademy.co คอร์สอบรมบัญชี CPD ออนไลน์สำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพมากกว่า 10 ปี และอยากส่งต่อความรู้เพื่อเพื่อนนักบัญชีให้มีทักษะอย่างมืออาชีพและก้าวทันโลกดิจิทัล
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่