หากแม่ค้าร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) ยังไม่เคยจดบัญชีรายได้ หรือยังทำไม่เป็นระบบ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีร้านอาหารอะไรบ้าง |
ร้านอาหารเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ของก็อยากขาย ลูกค้าก็อยากมี แต่ไม่ค่อยอยากเสียภาษีทำยังไงดีล่ะ
ครั้นจะปิดแอป “ถุงเงิน” ไม่ขายของก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเปิดแอปไป รัฐบาลจะมาตามเก็บภาษีจากเราไหมนะ
…
สารพันคำถามและข้อสงสัยที่ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเป็นกังวล เพราะว่าร่วมโครงการคนละครึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะโดนภาษีตามมาทีหลังอีกหรือไม่
ถ้าใครกำลังตกอยู่ในภาวะกังวลใจแบบนี้ หาทางออกยังไม่ได้ และไม่มั่นใจว่าควรเริ่มต้นจัดการภาษีตัวเองยังไงดี ลองมาทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นไปพร้อมๆ กันนะคะ
โครงการคนละครึ่งคืออะไร
โครงการคนละครึ่ง คือ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ โดยช่วยจ่ายค่าอาหาร ค่าบริการ ให้กับประชาชน (คนซื้อ) ให้แก่ร้านที่เข้าร่วมโครงการครึ่งหนึ่ง
นั่นแปลว่า ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะได้รับเงินค่าอาหารเต็มๆ เลย แต่เงินจะมาจาก 2 ส่วนตามภาพตัวอย่างนี้
รัฐรู้รายได้ของร้านอาหารได้อย่างไร
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เมื่อทุกอย่างทำผ่านแอปพลิเคชั่นของรัฐบาล ภาครัฐเองก็จะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารว่าเป็นจำนวนเท่าใด โดยที่ไม่ต้องให้ใครมานั่งสำรวจให้ยาก
ฉะนั้น ในการประเมินภาษี รัฐเองก็สามารถทำได้จากข้อมูลที่มีอยู่ แต่ต้องย้ำไว้ตรงนี้ว่า รัฐจะรู้เฉพาะ “รายได้” ของเราเท่านั้น ส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือ “ค่าใช้จ่าย” รัฐยังไม่น่าจะมีข้อมูลตรงนี้
จัดการภาษีร้านอาหารอย่างไร
จากที่เล่ามาทั้งหมดว่า ถ้าร้านอาหารเข้าโครงการคนละครึ่ง รัฐบาลจะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารโดยปริยาย มาถึงตอนนี้ต้องถามเจ้าของร้านอาหารว่า แล้วเราเองได้จดบัญชีรายได้ของร้านไว้บ้างไหม
ถ้ายังไม่จดบัญชีรายได้ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีอะไรบ้างยังไงล่ะ
โดยปกติแล้วร้านอาหารจะต้องเจอกับภาษี 2 ประเภทนี้
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลที่มีเงินได้ โดยคำนวณจาก
ข้อสังเกตจากวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สำคัญ คือ ภาษีจะเสียจากเงินได้สุทธิ ซึ่งไม่ใช่รายได้ แต่เป็นรายได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
กรณีที่ขายอาหาร ถือเป็นรายได้ประเภท 40(8) ที่เราสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ
- หักแบบเหมา 60%
- หักแบบตามจริง
นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ได้จดรายจ่ายไว้ ตัวเลือกในการเสียภาษีก็จะมีแค่การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เท่านั้น แต่ถ้าโชคร้ายรายจ่ายของร้านอาหารเรามีเยอะเกินกว่า 60% ที่ว่าเราก็จะเสียเปรียบทันที เพราะว่าต้องจ่ายภาษีสูงกว่าที่ควรจะเป็น
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของลูกค้า ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่า ถ้ากิจการมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเข้าระบบ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ภายใน 30 วัน
เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ร้านอาหารมีภารกิจที่จะต้องทำตามนี้
- เรียกเก็บ Vat 7% จากลูกค้า ซึ่งเท่ากับว่า ข้าวกะเพรา 100 บาท จานนี้ จะต้องเก็บเพิ่มเป็น 107 บาท
- นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ในส่วนภาษีขาย 7 บาท ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้า และหักกลบกับภาษีซื้อที่เราถูกเก็บไปตอนซื้อของเข้าร้าน ร้านค้าจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ แล้วนำส่งสรรพากรทุกๆ เดือน
- จัดทำรายงาน แบ่งเป็น 3 รายงาน ได้แก่ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าคงเหลือ
ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราเข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเปล่า ก็ต้องย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เรารู้หรือเปล่าว่ามี “รายได้” เท่าไร ถ้าไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ก็ยังไม่ต้องจด Vat
แต่ถ้ารายได้ถึง 1.8 ล้านบาท เข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ อยากรู้ว่าต้องนำภาษีสรรพากรอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องไปสู่จุดเริ่มต้นที่ว่าแล้วเรามี “รายจ่าย” เท่าไร เก็บเอกสารดีไหม ภาษีซื้อจะเอามาใช้หักกลบกับภาษีขายได้ทั้งหมดหรือไม่
ถ้าวันนี้ เราเปิดร้านขายข้าวกะเพรา การเข้าโครงการคนละครึ่งอาจจะไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้ “รายได้” และ “ค่าใช้จ่าย” เพราะสุดท้ายเราจะสามารถบริหาร “ภาษี” เองได้ดีกว่าการไม่มีข้อมูลอะไรเลย
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงอยาก “ทำบัญชี” ขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ… ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้กันเลยค่ะ
เริ่มต้นใช้งาน FlowAccount ฟรี 30 วันฟรี เพื่อออกบิล เก็บเงิน บันทึกบัญชี ได้ในระบบเดียว ที่เว็บไซต์ https://flowaccount.com
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่