ภ.ง.ด.50 ก่อนยื่นภาษีเต็มปี แม่ค้าออนไลน์ควรตรวจให้ดีก่อนเซ็น

ภ.ง.ด.50 ร้านค้าออนไลน์


Highlight:

  • ภ.ง.ด.50 คือเอกสารอีกหนึ่งชุดที่เจ้าของธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจะต้องใช้ยื่นเสียภาษี ภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้
  • สำหรับแม่ค้าออนไลน์ที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 และภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50
  • การเสียภาษีให้พิจารณาว่ากิจการเข้าข่ายเป็น SMEs หรือไม่ และหลังจากที่เสียภาษีแล้วต้องเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี


ภ.ง.ด.50 คือเอกสารอีกหนึ่งชุดที่เจ้าของธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจะต้องใช้ยื่นเสียภาษี ภายใน 150 วัน นับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หรือภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ (หากยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นเลยกำหนดได้อีกภายใน 8 วัน) ไม่ว่าเจ้าของธุรกิจจะมีรายได้ออกมากำไรหรือขาดทุนก็ตาม


ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็ต้องทำภ.ง.ด.50 ทั้งสิ้น แต่สำหรับบทความนี้ นักบัญชีจาก FlowAccount จะขอพูดเฉพาะเจาะจงถึงนิติบุคคลที่ทำอาชีพค้าขายออนไลน์ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ SMEs ว่าควรจะต้องรู้วิธีการทำเอกสารนี้อย่างไรบ้าง


หลักการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล


ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการจะต้องนำรายได้มาคำนวณในการเสียภาษี ยื่นเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นการยื่นเสียภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 2 จะต้องเสียภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50 ซึ่งต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป



ดาวน์โหลดฟอร์ม ภ.ง.ด.51


รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี


อันดับแรก ต้องรู้ก่อนว่าเราเป็น SMEs หรือไม่เป็น โดยธุรกิจที่เป็น SMEs จะต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อหลัก คือ

  1. มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท
  2. รายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปี (ตามรอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน 30,000,000 บาท

ถ้าเป็น SMEs จะเสียภาษีตามฐานขั้นบันได คือ

0-300,000 บาท ยกเว้น
300,001-3,000,000 บาทขึ้นไป 15%
3,000,000 บาทขึ้นไป 20%

ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 2 จะเสียภาษีตามอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก



หากรายได้คำนวณแล้วไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษี แต่ก็ยังต้องยื่นภ.ง.ด.50 อยู่นะ (แม้จะขาดทุนก็ยังต้องยื่นเหมือนกัน)


ใครต้องทำ ภ.ง.ด.50


โดยปกติแล้วบริษัทส่วนใหญ่มักว่าจ้างให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำเอกสารชุดนี้ ซึ่งแม่ค้าออนไลน์ก็อาจจะว่าจ้างสำนักงานบัญชีให้ช่วยทำให้ก็ได้ เพราะว่าเอกสารชุดนี้จะมีผู้ร่วมเซ็นหลายคน คือ นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี และเจ้าของธุรกิจ (หรือกรรมการผู้ถือหุ้น) แต่ก่อนจะเซ็นเอกสารนั้น ทุกฝ่ายก็ต้องเช็กที่มาที่ไปของตัวเลขให้เรียบร้อยถูกต้องอย่างดี ก่อนที่จะเซ็น


ยกตัวอย่าง ทำธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ ระหว่างปีมีการว่าจ้างนางแบบมาช่วยโปรโมตคอลเล็กชั่นให้ แต่ไม่มีค่าจ้างนางแบบ ค่าจ้างถ่ายภาพ ค่าโฆษณาผ่านเว็บเสิร์เอนจิ้น ในภ.ง.ด.50 เลย แบบนี้ก็อาจกลายเป็นเอกสารชวนให้กรมสรรพากรสงสัยลุกขึ้นมาตรวจสอบได้


เพื่อให้ตัวเองตรวจสอบง่าย  และบัญชีเกิดความโปร่งใส พร้อมส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร  ทำให้เราสามารถทำบัญชีเบื้องต้นได้อย่างไม่ยุ่งยาก ทดลองใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี 30 วัน




อีกเรื่องหนึ่งคือ การใช้โปรแกรมบัญชี ทำให้เจ้าของธุรกิจหัดสังเกตงบการเงินของตัวเองด้วยว่า มีบัญชีประหลาดๆ ขึ้นมาหรือเปล่าด้วยก่อนที่จะเซ็นลงไป เพราะสุดท้ายแล้ว มันคือเงินที่เราจะต้องเสียนั่นเอง เพื่อให้ตรวจสอบบัญชี


เอกสารที่เกี่ยวข้อง


สำหรับแม่ค้าขายของออนไลน์ เอกสารที่เกี่ยวข้องหลักๆ ในการทำภ.ง.ด.50 คือ

  • แบบ ภ.ง.ด.51 ที่ยื่นไปแล้วในปีเดียวกัน
  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  
  • งบการเงิน (งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และหมายเหตุประกอบงบการเงิน)
  • รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  • ฯลฯ

เอกสารต้องเก็บกี่ปี


เอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจต้องนำมาเก็บไว้เป็นหลักฐานเสมอ แม้จะมีการยื่นนำส่งภาษีไปแล้วก็ตาม เจ้าของธุรกิจก็ต้องเก็บรักษาไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี


วิดีโอสาธิต >> ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายออนไลน์ 

เรียนบัญชี FlowAccount

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like