3 เรื่องที่ทุกคนควรรู้สำหรับระบบยื่นแบบและชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่

ระบบยื่นแบบและชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการปรับปรุงหลักๆ 3 ด้านคือ 1. ระบบการลงทะเบียนและช่องทางการยื่นแบบ 2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ และ 3. ระบบการชำระเงิน 

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หลายคนได้ยินประโยคนี้แล้วอาจจะรู้สึกตกใจ ว่าจะมีเรื่องใหม่มาให้ปรับตัวกันอีกแล้วใช่ไหมครับ 

 

แต่อย่าเพิ่งตกใจไปครับ จากที่ผมทราบมา การเปลี่ยนแปลงระบบครั้งนี้น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจและนักบัญชี เพราะมีหลากเรื่องที่ช่วยให้ทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นครับ โดยมีการปรับปรุงสำคัญทั้งหมด 3 ด้านหลักๆ ดังนี้

 

เรื่องแรก: การลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี

 

  • ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแยกสาขา หรือรวมสาขาได้ สำหรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจเฉพาะ (จากเดิมที่ต้องยื่นแยกเป็นรายสาขาเท่านั้น)
  • เพิ่มช่องทางหลากหลายให้สามารถช่วยยื่นแบบ หรือจัดเตรียมแบบแสดงรายการภาษีให้ได้ด้วย จากเดิมที่เข้าสู่ระบบด้วย Username / Password เพียงช่องทางเดียว แต่ระบบใหม่สามารถกำหนดอำนาจในการยื่นแบบให้กับผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการอย่าง Service Provider (อย่าง FlowAccount) ก็สามารถเชื่อมต่อระบบยื่นภาษีระบบใหม่ได้เช่นเดียวกัน (ซึ่งอยู่ระหว่างกำลังพัฒนาระบบ คาดว่าจะใช้ได้ในปี 2565)

 

เรื่องที่สอง: การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ

 

  • ยื่นแบบแสดงรายการได้เกือบครบทุกแบบแสดงรายการ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมที่ไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.2ก ได้ ก็จะสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่างๆ เหล่านี้ได้แล้วละครับ 
  • กรณีของภาษีมูลค่าเพิ่ม มีระบบช่วยคำนวณค่าความคลาดเคลื่อน ±20 ภาษีที่ชำระ(ขอคืน) สำหรับแบบ ภ.พ.30 โดยหากค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่า 20 บาท ระบบจะไม่ให้ยื่นแบบ เพื่อป้องกันการกรอกข้อมูลที่ผิดพลาด
  • สามารถยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้แล้ว โดยระบบจะช่วยคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาที่ประหยัดเงินผู้เสียภาษีมากที่สุดให้ได้ 
  • หากมีการยื่นภาษีผิดไป (ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระ) ผู้เสียภาษีก็สามารถยกเลิกแบบแสดงรายการเองได้
  • ยื่นได้ทุกแบบ ทุกเบราว์เซอร์ และสามารถบันทึกร่าง (Save) แบบแสดงรายการภาษีเก็บไว้ได้อีกด้วย

 

เรื่องที่สาม: การชำระเงิน

 

  • ระบบสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ทันทีที่ชำระภาษี ไม่ต้องรอ 3 วันทำการอีกต่อไป
  • หากต้องการชำระภาษีแบบไม่ปัดเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกบัญชีก็สามารถทำได้แล้ว  

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูได้ที่คลิปด้านล่างนี้ครับ ผมสรุปรายละเอียดทั้งหมดไว้ในรูปแบบวิดีโอให้รับชมกันครับ

 

อัพเดต! ระบบยื่นภาษี e-Filing แบบใหม่ของกรมสรรพากร เริ่มใช้ปี 2564 มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง

 

ทีนี้ 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้มีอะไรบ้าง ผมคิดว่าผู้เสียภาษีอย่างเราทุกคนควรทำความเข้าใจเรื่องสำคัญดังต่อไปนี้ครับ 

 

1. การเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ เริ่มใช้งานในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยในระหว่างช่วงเวลาก่อนปรับปรุงสู่ระบบใหม่ ทางกรมสรรพากรมีการปิดระบบการใช้งานตามช่วงเวลาต่อไปนี้ครับ

  • ปิดระบบบริการสมัครสมาชิกเพื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน –  5 ตุลาคม 2564
  • ปิดระบบยื่นและชำระภาษีผ่านเน็ตตั้งแต่วันที่ 1 –  5 ตุลาคม 2564 

และสำหรับผู้เสียภาษีที่มีความจำเป็นในการยื่นแบบแสดงรายการช่วงนี้ สามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาครับ 

 

2. ในอนาคตต้องมีการยืนยันเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยการยืนยันบัญชีเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ จะเริ่มให้ยืนยันได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้ใช้งานระบบ (Username) เป็นเลขนิติบุคคล 13 หลัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังสามารถยื่นด้วยเลขผู้ใช้งานเก่าได้อยู่ (คาดว่าจะใช้ได้ถึงสิ้นปี 2564) ซึ่งผมแนะนำว่าถ้ามีเวลาก็ทยอยเปลี่ยนข้อมูลตรงส่วนนี้ไปได้เลยครับ 

 

3. สิ่งที่ผู้เสียภาษีอย่างเราต้องเตรียมตัวเพิ่มเติมคือ การเรียนรู้ระบบใหม่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ดังนั้นเราทุกคนควรเตรียมตัวเตรียมพร้อมสำหรับความเข้าใจระบบเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ เพื่อความสะดวกในอนาคตครับ เพราะนี่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับระบบการยื่นภาษีของกรมสรรพากรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาครับ 

 

ท้ายที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของหลายอย่างที่ตามมาในอนาคตของระบบการรับชำระภาษีของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่หน้าที่ของใครโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชี เจ้าของธุรกิจ หรือ Service Provider เจ้าไหน 

 

เพราะมันเป็นภารกิจที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจไปด้วยกันครับ 

 

ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ 53 ให้กับบริษัท สามารถใช้โปรแกรม FlowAccount ในการออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย และดาวน์โหลดไฟล์ .txt สำหรับอัพโหลดในโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลของกรมสรรพากรได้ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ ไฟล์หัก ณ ที่จ่าย ออนไลน์ สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 / 53 ผ่านอินเทอร์เน็ต

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like