สรุปวิธีจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของการตลาดออนไลน์

จัดการภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการยิงโฆษณาออนไลน์ ค่าที่ปรึกษาการตลาด ค่าจ้าง influencer และการจัดอีเว้นต์ต่างๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องบัญชีและภาษี เราจะจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้อย่างไรให้ถูกต้องตามหลักบัญชีและภาษี ในวันนี้ FlowAccount ได้สรุปมาให้ทุกคนในบทความนี้แล้วค่ะ

ถ้าทำธุรกิจแล้วสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้คือ การทำการตลาด เพื่อให้คนรู้จักสินค้า รู้จักแบรนด์ และตัดสินใจซื้อสินค้าจากเรา แล้วการตลาดที่ฮอตฮิตมาแรงสุดๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็คือ การตลาดออนไลน์ ที่ช่วยให้เราขยายฐานลูกค้าไปได้ไกลขึ้นและปังขึ้นกว่าแต่ก่อน 

 

แต่ปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับการทำการตลาดออนไลน์นั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องบัญชีและภาษี เราจะจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้อย่างไรให้ถูกต้องตามหลักบัญชีและภาษี ในวันนี้ FlowAccount ได้สรุปมาให้ทุกคนในบทความนี้แล้วค่ะ 

 

1. ค่ายิง Ads โฆษณา

 

มาเริ่มต้นกันที่ตัวแรกเลย ค่าใช้จ่ายยิงโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ให้สินค้าของเราป๊อบอัพขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ไม่ว่าจะในFacebook (หรือ Meta) และ Google 

 

บัญชี:

ดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายนี้ถือเป็นค่าโฆษณาที่จะต้องบันทึกบัญชีให้ตรงกับช่วงเวลาที่เราโฆษณาจริง เช่น ยิงโฆษณาเดือนไหน ก็ต้องลงบัญชีตามจริงในเดือนนั้นๆ ค่ะ

 

ภาษี:

สำหรับเรื่องภาษี เนื่องจากเราจ่ายเงินประเภท 40(8) ค่าโฆษณา ให้กับ Facebook และ Google ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ภาษีที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้

 

ภาษีที่เกี่ยวกับค่ายิงโฆษณาออนไลน์

 

2. ค่าที่ปรึกษาการตลาด

 

ค่าใช้จ่ายถัดมาเป็นค่าที่ปรึกษาการตลาดที่คอยปรึกษาวิธีการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Social Media หรือว่าทำ SEO ผ่าน Website เพื่อให้คำค้นหาของสินค้าเราติดหน้าแรกๆ ของ Google ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบรรดาที่ปรึกษาทั้งหลายมักทำงานในรูปแบบบริษัท และคิดค่าที่ปรึกษาเป็นรายเดือน  

 

บัญชี:

ค่าที่ปรึกษาการตลาด บันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีโดยรับรู้ค่าใช้จ่ายตามช่วงระยะเวลาที่ได้รับคำปรึกษา เช่น ถ้าสัญญา 1 ปี จำนวน 120,000 บาท ควรทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายทุกๆ เดือน เดือนละ 10,000 บาท เป็นต้น

 

ภาษี:

ค่าใช้จ่ายที่ปรึกษา กรณีที่จ่ายให้กับบริษัท ซึ่งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เรามีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษี 2 ประเภทดังต่อไปนี้

 

ภาษีที่เกี่ยวกับค่าที่ปรึกษาการตลาด

 

3. ค่าจ้าง Influencer

 

Influencer หมายถึง กลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางความคิดและการตัดสินใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต่างๆ 

 

การจ้างงาน Influencer ให้รีวิวสินค้าของเรานั้นก็เป็นอีกวิธีทางการตลาดที่นิยมมากๆ ในปัจจุบัน โดยเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ทั้งหลายก็จะมีเรทราคาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามในแต่ละช่องทางค่ะ

 

เจ้าของธุรกิจสามารถจ้างงานอินฟลูเอ็นเซอร์ได้ไม่ยาก และการจัดการเรื่องบัญชีและภาษีทำได้ดังนี้

 

บัญชี:

ค่าจ้าง Influencer ถ้ามีการจ้างงานจำนวนมาก ควรแยกบัญชีออกมาเป็นบัญชีจ้างงาน Influencer เลยค่ะ เพื่อจะได้เช็คจำนวนค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนได้เร็วขึ้นค่ะ

 

ภาษี:

ค่าจ้าง Influencer แบ่งเป็น 2 กรณี สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดของแต่ละประเภทภาษีก็มีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างดังต่อไปนี้ค่ะ

 

ภาษีที่เกี่ยวกับค่าจ้าง Influencer

 

4. ค่าจัด Event ต่างๆ

 

การจัด Event ต่างๆ แบบออฟไลน์หรือออนไลน์นั้น ก็เป็นวิธีการตลาดนึงที่นิยมใช้เพื่อให้ลูกค้ามาปฏิสัมพันธ์กับเรา และมีประโยชน์ในแง่ภาพพจน์ของกิจการ ถ้าเจ้าของธุรกิจมีทำงานมืออาชีพอาจจัด Event ต่างๆ ได้ด้วยตัวเองสบายๆ แต่ถ้าไม่ถนัดงานด้านนี้เราก็สามารถจ้างออแกไนเซอร์ดำเนินการจัดงานทุกอย่างให้ได้

 

บัญชี:

ค่าใช้จ่ายการจัด Event มักมีไม่บ่อยในกิจการ แต่อาจต้องใช้เงินเยอะมาก ดังนั้น แนะนำว่าควรกำหนด Budget ของงาน Event แต่ละงานไว้ และบันทึกบัญชีแยกเป็นรายโปรเจคเพื่อจะได้ประเมินผลง่ายขึ้นค่ะ

 

ภาษี:

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานหรือ Event ต่างๆ นั้น ต้องพิจารณา 2 เรื่องเช่นเดียวกันกับค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

ภาษีที่เกี่ยวกับค่าจัด Event

 

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างค่าใช้จ่ายการตลาดที่พบกันบ่อยๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าในยุคดิจิทัล ถ้าเราแบ่งประเภทบัญชีไว้อย่างเหมาะสม และจัดการเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องอย่างเข้าใจ แล้วทำเช่นนี้ให้เป็นนิสัย รับรองค่ะว่า เรื่องยากๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ค่ะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like