คนทำธุรกิจน่าจะมีชีวิตวนเวียนกับการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” อยู่เป็นธรรมดา แต่เชื่อไหมคะว่าอุปสรรคชิ้นใหญ่ของการรับและจ่ายเงินก็คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร มีความสำคัญกับเราอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันค่ะ |
คนทำธุรกิจน่าจะมีชีวิตวนเวียนกับการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” อยู่เป็นธรรมดา แต่เชื่อไหมคะว่าอุปสรรคชิ้นใหญ่ของการรับและจ่ายเงินเนี่ยก็คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร มีความสำคัญกับเราอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้าง
ถ้าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขั้นเทพ รับและจ่ายเงินได้แบบถูกต้อง 100% แล้วล่ะก็ พลาดไม่ได้กับบทความนี้เลยค่ะ ที่เราจะพาทุกคนไม่ทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่ต้นจนจบเลย
หักภาษี ณ ที่จ่ายไปทำไม
การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การที่ “คนจ่ายเงิน” หักภาษีบางส่วนออกก่อนจ่ายเงินให้ “ผู้รับเงิน” และค่อยนำส่งภาษีที่หักไว้ส่วนนี้ให้กับสรรพากรค่ะ
การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นมีวัตถุประสงค์หลักๆ 3 เรื่อง ได้แก่
เลือกอ่านได้เลย!
เพื่อทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า
ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. มีรายได้และต้องจ่ายภาษีทั้งปี 100,000 บาท แต่ผู้จ่ายเงินหักไว้และส่งให้ก่อนทุกๆ ครั้งรวมแล้ว 30,000 บาท สุดท้ายปลายปี นาย ก. เหลือต้องจ่ายภาษีเพิ่มแค่ 100,000 – 30,000 = 70,000 บาท เท่านั้น
แบบนี้แปลว่า นาย ก. ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายและทยอยจ่ายภาษีไปล่วงหน้าแล้ว ฉะนั้น ปลายปีก็ไม่ต้องจ่ายชำระภาษีเป็นเงินก้อนตูมเดียวค่ะ
การันตีการส่งภาษีให้กับภาครัฐ
มองในแง่ภาครัฐ พวกเค้าก็ต้องหารายได้จากการเก็บภาษีเช่นกันค่ะ และเมื่อมีการหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินก็แปลว่า ภาครัฐทยอยได้รับภาษีจ่ายชำระจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ไว้แล้วเช่นกัน
ใช้ตรวจสอบผู้เสียภาษีว่าส่งรายได้ครบถ้วนหรือไม่
การที่ผู้จ่ายเงิน หัก ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งภาษีแก่สรรพากรนั้น ทำให้ในระบบมีข้อมูลรายได้และภาษีบางส่วนของผู้รับเงินค่ะ ฉะนั้น ถ้าปลายปีผู้มีเงินได้ไม่ยอมส่งแบบยื่นภาษีล่ะก็สรรพากรรู้ทัน ตามไปทวงให้ยื่นภาษีประจำปีแน่นอนจ้า
ใครมีหน้าที่ “ต้องหัก” ภาษี ณ ที่จ่ายบ้าง
กฎหมายกำหนดให้ “คนจ่ายเงิน” มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เมื่อจ่ายเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว อย่าลืมทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายให้ “ผู้รับเงิน” เพื่อเป็นหลักฐานด้วยนะคะ และสุดท้ายทุกสิ้นเดือน “คนจ่ายเงิน” ต้องรวบรวมรายการ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งแก่กรมสรรพากรด้วย
FlowAccount ช่วยให้เจ้าของธุรกิจออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายง่ายๆ ด้วยตัวเอง และดาวน์โหลดรายงานเพื่อยื่นสรรพากร
ใครต้อง “ถูกหัก” ณ ที่จ่ายบ้าง
แน่นอนว่าผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจะเป็น “คนรับเงิน” ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลค่ะ แต่ก็ใช่ว่าค่าใช้จ่ายทุกประเภทต้องมีหัก ณ ที่จ่ายเสมอไปนะ
ค่าใช้จ่ายประเภทไหนที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายบ้าง อัตราเท่าไร เราสรุปมาให้ในตารางนี้ค่ะ
ตารางด้านบนเป็นประเภทค่าใช้จ่ายที่เราเจอกันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวันค่ะ ถ้าสังเกตดูดีๆ การขายสินค้านั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องหัก ณ ที่จ่ายนะคะ ฉะนั้น คนที่จ่ายเงินซื้อสินค้าไม่ต้องกังวลใจเรื่องนี้เลย
นอกจากนี้การหัก ณ ที่จ่ายจะต้องทำเมื่อมีจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ยกเว้น จะเป็นสัญญาระยะยาวที่ยอดต่อบิลไม่ถึง 1,000 แต่พอรวมแล้วทั้งปีเกิน 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินก็ยังต้องหัก ณ ที่จ่ายอยู่นั่นเองค่ะ
แบบภาษีที่ต้องยื่นมีกี่ประเภท
เมื่อหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ทุกๆ สิ้นเดือนต้องรวบรวมรายงานนำส่งแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่สรรพากร ภายใน 7 วันของเดือนถัดไปด้วย แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น เปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้ และประเภทผู้รับเงินได้ค่ะ
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณอย่างไร
ทำความเข้าใจเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขั้นเทพแล้วล่ะก็ เราต้องรู้วิธีการคำนวณด้วยค่ะ หัก ณ ที่จ่ายคำนวณไม่ยาก ถ้าเรารู้ประเภทค่าใช้จ่าย และอัตราภาษีค่ะ ในที่นี้เราขอยกตัวอย่าง 2 กรณี ดังนี้
หัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน 40(1)
การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินเดือนจ่ายให้กับบุคคลธรรมดานั้น เราคิดตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้า
ตัวอย่างเช่น
เงินเดือน เดือนละ 50,000 x 12 = 600,000 บาท/ปี
ค่าใช้จ่าย = 100,000 บาท/ปี
ค่าลดหย่อน = 60,000 บาท/ปี
เงินได้สุทธิ = 440,000 บาท/ปี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อปี
1 - 150,000 ยกเว้น
150,001 – 300,000 = 5% = 7,500
300,001 – 500,000 = 10% = 140,000 x 10% = 14,000
ภาษีเงินได้ต่อปี = 21,500
นายจ้างต้องหัก ณ ที่จ่าย 21,500/12 = 1,791.67 บาทต่อเดือน แล้วนำส่งสรรพากรด้วยแบบ ภงด.1 ทุกเดือนค่ะ
หัก ณ ที่จ่าย ค่าบริการ 40(8)
การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินค่าบริการที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น อัตราหัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 3% ค่ะ
การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย ให้คิดจากราคาค่าบริการแบบไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ตามนี้
ค่าบริการ 100,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 7,000 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% = 100,000 x 3% = 3,000 บาท
ค่าบริการที่ต้องจ่ายสุทธิ = 100,000 + 7,000 – 3,000 = 104,000 บาท
เห็นไหมคะว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นเข้าใจง่าย แถมยังเป็นเรื่องใกล้ตัวด้วย ถ้าพยายามทำความเข้าใจไปทีละ Step เจ้าของธุรกิจมือใหม่ก็สามารถอัพสกิลตัวเองได้ไม่ยากเลยค่ะ
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่