สำหรับการ “คำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน” นั้น จะคำนวณแตกต่างจากการจ่ายเงินประเภทอื่น ซึ่งจะคำนวณในลักษณะของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วนำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือนอีกครั้งหนึ่ง ไม่ได้มีอัตราหักเป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนการจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก บทความประเภทหัก ณ ที่จ่ายที่พบบ่อย ได้เลย |
ปิดรอยรั่วธุรกิจด้วยการออกแบบระบบการควบคุมภายในที่ดี ตอน 2
หนังสือรับรองเงินเดือนมีความสำคัญอย่างไรต่อพนักงาน
สลิปเงินเดือน ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างก่อนออกให้พนักงาน
ประกันสังคม ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ และขั้นตอนการยื่นสิทธิอย่างง่าย!
อ่านสั้นๆ
- ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับจากประกันสังคม หนึ่งในนั้นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ เมื่อพนักงานกำลังตัดสินใจเลือกเข้าทำงาน
- หากธุรกิจเรามีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียน 2 ชุดคือ 1. ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยอัตโนมัติพร้อมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมธุรกิจการค้า 2. ขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคมในครั้งแรก
- เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน
- ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป