ทำธุรกิจต้องเก็บตัวเลขอะไรบ้าง? ถึงจะรู้ว่ากิจการเรา “กำไร” หรือ “ขาดทุน” (ตอนสอง)

กำไร-ขาดทุน

"กำไรของธุรกิจ กับ ภาษี เป็นคนละเรื่องกัน"  โดยสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจนั้น คือ การแยกเรื่องคิดจากกันให้ถูกต้อง เพราะภาษีเป็นส่วนหนึ่งของกำไรธุรกิจ โดยสำหรับเจ้าของธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา สิ่งที่ได้รับผลกระทบนั้น คือ ภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งบทความในตอนนี้จะพาไปทำความเข้าใจหลักการในการคิดที่ควรใช้ เพื่อให้เราเห็นกำไรของธุรกิจมากที่สุดครับ

จากบทความในตอนที่แล้ว ทำธุรกิจต้องเก็บตัวเลขอะไรบ้าง? ถึงจะรู้ว่ากิจการเรา “กำไร” หรือ “ขาดทุน” (ตอนแรก) ทำให้เราเข้าใจเรื่องตัวเลขกำไร ขาดทุน และตัวเลขที่ควรใช้ในการวัดผลอย่างถูกต้องไปแล้วใช่ไหมครับ

 

ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงอีกตัวเลขหนึ่งที่ติดค้างมา นั่นคือ “ภาษี” ที่มีผลกระทบใน 2 เรื่อง ตั้งแต่ส่วนของรายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ นั่นเองครับ 

 

โดยนิยามเบื้องต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการของเรา ส่วนภาษีเงินได้ในส่วนนี้ขอหมายความถึงเฉพาะบุคคลธรรมดา ที่มีวิธีคำนวณจากเงินได้สุทธิและเงินได้พึงประเมินของเราครับ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ: วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

เลือกอ่านได้เลย!

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีผลกระทบต่อกิจการก็ต่อเมื่อกิจการของเราเป็นกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรามีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ต่อปี มากกว่า 1.8 ล้านบาท จะทำให้เรามีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องบวก 7% เข้าไปในยอดขายสินค้าหรือบริการของเราครับ 

 

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากธุรกิจเรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยเราขายสินค้าในราคาชิ้นละ 100  บาท ทางเลือกของเราจะมีอยู่ 2 ทาง คือ 

  • เพิ่มราคาขายตาม % ของภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นคือ ขายในราคา 100+7 = 107 บาท
  • ยอมรับ % ภาษีมูลค่าเพิ่มรวมในยอดขาย นั่นคือ ขายในราคา 100 บาทเท่าเดิม แต่มีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในนั้นจำนวน 6.54 บาท 

 

ซึ่งผลกระทบของทั้งสองกรณี จะมีความแตกต่างกันคือ กรณีแรก เราจะยังมียอดขาย 100 บาทเท่าเดิมอยู่ แต่กรณีที่สอง ยอดขายของเราจะลดลงเหลือ 93.45 บาท ซึ่งแปลว่าเราจะมีต้นทุนของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มเข้ามาส่งผลกระทบให้กำไรน้อยลงนั่นเองครับ

 

ภาษีเงินได้

ส่วนเรื่องของภาษีเงินได้นั้น (ถ้ามองในส่วนของการทำธุรกิจในรูปแบบบุคคล) เราจะสนใจประเด็นในเรื่องของการเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาหรือจริงดังนี้ครับ 

  • ธุรกิจมีสิทธิเลือกหักเหมาได้ไหม มีวิธีไหนที่คุ้มค่ากว่าระหว่างหักเหมาหรือจริง
  • ถ้าตัดสินใจเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง ธุรกิจเรามีต้นทุนในการเก็บเอกสารและหลักฐานต่างๆ มากแค่ไหน

 

แม้ว่าจะคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ค่อนข้างยาก (ในทางปฎิบัติ) แต่อย่างไรก็ตามการคำนวณภาษีเงินได้ที่เป็นต้นทุนในส่วนนี้จะทำให้เราเห็นว่ามีเงินอีกบางส่วนที่ต้องคิดเป็นต้นทุนของเราด้วยนั่นเองครับ

 

บทสรุปคือ รายได้ ต้นทุน และภาษี 

คือสิ่งที่เราต้องมองแยกจากกัน

 

ถ้ารวบรวมจากทั้ง 2 ตอนที่ให้ความเห็นเรื่องนี้ ผมออกแบบวิธีการคำนวณกำไรในมุมมองของตัวเองมาให้ลองพิจารณากันครับ นั่นคือ

 

กำไรที่แท้จริงของธุรกิจ = กำไรก่อนภาษี - รายจ่ายส่วนตัว - ภาษี

 

การแยกมองแบบนี้จะเห็นว่าเราพอจะรู้กำไรธุรกิจเบื้องต้นก่อน แล้วหลังจากนั้นถ้ากำไรยังไม่เพียงพอต่อรายจ่ายส่วนตัว นั่นแปลว่าธุรกิจยังไม่สามารถเลี้ยงเราให้อยู่รอดได้ (จุดแรกในการตัดสินใจ) และจุดต่อไปคือ ต้นทุนภาษีมีผลกระทบกำไรเท่าไร เพื่อที่เราจะได้เข้าใจจุดสุดท้ายว่า กำไรของธุรกิจที่แท้จริงนั้นมันเพียงพอแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลและตัวเลขนี้ไปตัดสินในการทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ 

 

และสำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและทำใบกำกับภาษี คุณสามารถใช้ FlowAccount ในการออกเอกสาร และเลือกใส่ภาษีมูลค่าเพิ่มแยกต่างหากจากราคาสินค้าได้ ทำให้คุณออกเอกสารได้อย่างสะดวกสบายเลยครับ ลองทดลองใช้งานกันได้ที่นี่

 

 

สุดท้ายแล้ว ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมของการทำธุรกิจและคิดกำไรได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะครับ

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like