เข้าใจวิธีการนำภาษีออกจากบริษัทอย่างถูกกฎหมายแล้วอาจจะไม่เพียงพอ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องคิดเพิ่มเติมก็คือ โดยรวมเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจำนวนเท่าไรในแง่ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด มาเรียนรู้ไปพร้อมกันในบทความนี้นะคะ |
ทำธุรกิจได้ดี เงินบริษัทเยอะมาก ถึงเวลาต้องดึงเงินออกจากบริษัทซะแล้ว นี่ปัญหากวนใจของคนเงินเหลือ แต่ไม่รู้จะเอาออกจากบริษัทอย่างไร
การเอาเงินออกจากบริษัท ไม่ได้ง่ายเหมือนการปลอกกล้วยเข้าปาก แต่ก็ไม่ได้ยากถ้าเราเข้าใจวิธีการและนำเงินออกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายค่ะ
เลือกอ่านได้เลย!
ก่อนเอาเงินออกเราต้องเข้าใจอะไรบ้าง
“เอาเงินออก” ไม่ได้แปลว่า แค่ถอนเงินออกจากบัญชีบริษัทเพียงเท่านั้นก็จบนะคะ เพราะต้องเท้าความแบบนี้ว่า เมื่อเราจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้ว ถือว่าเป็นนิติบุคคลที่แยกออกมาต่างหาก ดังนั้น กระเป๋าตังค์บริษัท จึงแยกออกจาก กระเป๋าตังค์ส่วนตัว โดยปริยาย
เจ้าของธุรกิจหลายคนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้ แล้วคิดไปเองว่าแค่ถอนเงินบริษัทออกมา เท่ากับเอาเงินออกเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงในงบการเงินของบริษัทจะมีบัญชีที่เรียกว่า “เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ” ซึ่งหมายถึง บริษัทให้กรรมการ (หรือเจ้าของกิจการ) กู้ยืมเงินไปนั่นเองค่ะ
สาเหตุนี้ทำให้มีปัญหาตามมา 2 เรื่อง
- กู้ยืมแล้วก็ต้องคืน จึงล้างบัญชีนี้ได้
- ในทางภาษีการที่บริษัทให้เงินกรรมการกู้ยืมจะให้กู้ฟรีๆ ไม่ได้ ต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน
เอาล่ะ ทุกคนพอจะเข้าใจเกี่ยวกับการเอาเงินออกเบื้องต้น ว่าเราไม่สามารถถอนเงินแบบพลการจากบริษัทได้ เพราะกระเป๋าตังค์บริษัทนั้นแยกออกจากกระเป๋าตังค์ส่วนตัวนะคะ แล้วถัดมาเราจะชวนทุกคนไปดูต่อว่าจะเอาเงินออกจากบริษัทอย่างไรให้ถูกต้องได้บ้าง
การเอาเงินออกจากบริษัทให้ถูกต้องทำยังไง
วิธีการเอาเงินออกจากบริษัทอย่างถูกต้องนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งมีเงื่อนไขและผลกระทบดังต่อไปนี้ค่ะ
-
เงินเดือนและโบนัส
บริษัทนี้ ใครทำงานเยอะที่สุด…ฉันน่ะสิ ฉันน่ะสิ
ถ้าทำงานเยอะแบบนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจเองก็มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของเงินเดือนและโบนัส เช่นเดียวกันกับพนักงานคนอื่นๆ ค่ะ
การจ่ายเงินเดือนและโบนัสให้กับเจ้าของธุรกิจมีผลกระทบยังไง และจะต้องทำอย่างไรบ้าง สรุปได้ดังนี้
-
ค่าที่ปรึกษา ค่าบริการ
ในบางครั้งเราอาจทำงานอื่นเสริมเพิ่มเติมจากหน้าที่การงานประจำ เช่น ให้คำปรึกษาบริษัทเป็นพิเศษ หรือให้บริการอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน
ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น บริษัทก็สามารถจ่ายเงินออกมาให้กับเจ้าของธุรกิจได้เช่นกัน ซึ่งผลกระทบและเงื่อนไขมีดังนี้
-
ค่าเช่า
เราอาจเรียกเก็บค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่น ที่ดิน อาคาร กรณีที่บริษัทมาใช้พื้นที่ในการทำงานได้
บางกรณีอาจมีค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่น อุปกรณ์การทำงาน กล้องถ่ายภาพ รถยนต์ หรือสินทรัพย์อื่นที่เป็นชื่อบุคคลธรรมดาได้เช่นกัน
-
เงินปันผล
ข้อ 1-3 ที่ FlowAccount เล่ามาทั้งหมดนั้นเป็นการเอาเงินออกแบบที่เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่สำหรับวิธีจ่ายเงินปันผล เป็นการแบ่งจ่ายเงินในส่วนที่เคยมีกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจมีกำไรสะสมเท่านั้น วิธีการนำเงินออกโดยการปันผล ทำได้ดังนี้
สิ่งที่ต้องวางแผนเพิ่มเติมคืออะไร
จากวิธีเอาเงินออกจากบริษัททั้ง 4 วิธีที่เล่ามาข้างต้น หลายคนอาจจะคิดว่าแค่ทำเอกสารตามเงื่อนไขให้เรียบร้อยก็เอาเงินออกมาได้สบายๆ แล้ว แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ต้องคิดต่อนอกจากนี้ก็คือ แล้วภาษีบุคคลธรรมดาจะเพิ่มขึ้นเยอะไหม
ลองมาดูเคสตัวอย่าง 2 เคสนี้กันค่ะ ของนายเถ้าแก่มือใหม่ และนายเถ้าแก่มือเก่า
ถ้ากำหนดให้จ่ายเงินแต่ละประเภทออกจากบริษัทเท่าๆ กัน และมีค่าลดหย่อนส่วนตัวเท่ากัน
แต่นายเถ้าแก่มือใหม่ไม่มีรายได้อื่นเลยนอกจากรายได้บริษัท และส่วนนายเถ้าแก่มือเก่ามีรายได้หลายทาง ถ้าได้รายได้จากบริษัทเค้าจะต้องเสียภาษีในฐาน 15% เป็นต้นไป
หมายเหตุ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบอัตราก้าวหน้าเช็กที่นี่
https://www.rd.go.th/59670.html
จากเคสตัวอย่างนี้ ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า นายเถ้าแก่มือใหม่จ่ายภาษีส่วนตัวเพิ่มจากการนำเงินออกจากบริษัทจำนวน 337,500 บาท ในขณะที่บริษัทประหยัดภาษีลง 460,000 บาท ภาพรวมประหยัดภาษี 122,500 บาท
ส่วนนายเถ้าแก่มือเก่า จ่ายภาษีส่วนตัวเพิ่มจากการนำเงินออกจากบริษัทจำนวน 485,500 บาท ในขณะที่บริษัทประหยัดภาษีลง 460,000 บาท ภาพรวมเสียภาษีเพิ่ม 25,500 บาท
ดังนั้น แม้ว่าเราจะเข้าใจวิธีการนำภาษีออกจากบริษัทอย่างถูกกฎหมายแล้วอาจจะไม่เพียงพอ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องคิดเพิ่มเติมก็คือ โดยรวมเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจำนวนเท่าไรในแง่ของบุคคลธรรมดา เพราะอย่าลืมว่าสสารไม่มีวันสูญหายไปจากโลกใบนี้ เงินได้และภาษีก็เช่นกัน มันยังตามติดตัวเราไปวันยังค่ำ เพียงแค่เราต้องเข้าใจและยอมรับมันเท่านั้นเองค่ะ
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่