ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นอีกหนึ่งปัญหาภาษีที่มักจะมีคำถามที่ถามกันเข้ามาบ่อย ๆ ไ่ม่ว่าจะจดทะเบียนอย่างไร แบบไหนต้องจดบ้าง รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปจนถึงการหน้าที่หลังจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องทำอย่างไร บทความนี้รวบรวมทุกคำถามที่เจ้าของธุรกิจควรรู้มาอธิบายให้ฟังครับ |
5 เรื่องที่เจ้าของกิจการไม่รู้เกี่ยวกับการทำ ใบลดหนี้
- ใบลดหนี้ คือเอกสารเสริมประกอบใบกำกับภาษี หรือใบแจ้งหนี้ที่ใช้ต่อเมื่อมีการปรับลดราคาขาย คืนสินค้า ยกเลิกสัญญา หรือคืนเงินให้กับลูกค้า
- FlowAccount รวบรวม 5 เรื่องที่เจ้าของกิจการมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำใบลดหนี้ เช่น ไม่ออกใบลดหนี้เพราะคิดว่าแก้ใบกำกับภาษีได้, ธุรกิจที่จด VAT เท่านั้นถึงจะออกใบลดหนี้ได้, จะออกใบลดหนี้เมื่อไหร่ก็ได้ ฯลฯ
- ส่วนคนทำบัญชีก็มักสับสนเรื่องของจุดรับผิดทางภาษี ไปออกใบลดหนี้รอไว้ ก่อนวันที่ลูกค้ามาคืนของจริง ทำให้วันที่ออกเอกสาร และวันที่ได้รับของคืนไม่ตรงกัน
- ใบลดหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีความรอบคอบในการใส่รายละเอียดข้อมูลเทียบเท่าใบกำกับภาษี ซึ่ง FlowAccount มีฟอร์มใบลดหนี้สำเร็จรูปที่ให้ผู้ประกอบการใส่ข้อมูลได้อย่างง่ายๆ และยังช่วยแสดงมูลค่าที่ถูกต้องครบถ้วนอีกด้วย
ภ.พ.30 คืออะไร เจ้าของธุรกิจต้องใช้เมื่อไหร่
อ่านสั้นๆ :
- ภ.พ.30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยต้องทำก่อนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- เจ้าของธุรกิจที่ต้องทำภ.พ.30 คือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
- ใช้ FlowAccount ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีประหยัดเวลาในการตามหาเอกสารและการคำนวณ
ภาษีธุรกิจ EP12: เข้าใจระบบ VAT และหน้าที่ของผู้ประกอบการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนจบ
อีกหนึ่งคำถามที่มาอยู่บ่อยๆ และเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผมได้รับอยู่เป็นประจำ นั่นคือ
หลังจากที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะทำให้ต้นทุนของเราสูงกว่าคนอื่น
หรือเปล่า? เพราะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มไปทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือบริการ
ประเด็น ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับการตั้งราคา นี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานครับ ในแง่การจัดการและการบริหารต้นทุน แต่ผมอยากให้มองแยกกันก่อนครับว่า ภาษีซื้อ ไม่ใช่ต้นทุน และ ภาษีขาย ไม่ใช่รายได้ แต่ละส่วนนั้นแยกจากกันครับ
ถ้าสังเกตให้ดี เราจะเห็นว่าภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะถูกแยกออกจากราคาของสินค้าและบริการมาโดยตลอด และวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปที่เรียกว่า วิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ หรือ ภาษีขายลบด้วยภาษีซื้อ
จะยึดหลักการที่ว่าส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะถูกนำส่งให้แก่กรมสรรพากรหรือสามารถขอคืนได้
ภาษีธุรกิจ EP11: ภาษีมูลค่าเพิ่ม : เข้าใจระบบ VAT และหน้าที่ของผู้ประกอบการ ตอนที่ 2
ในตอนที่ผ่านมา (เข้าใจระบบ VAT และหน้าที่ของผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม : ตอนที่ 1) เราได้เรียนรู้กันไปแล้วกับสิ่งที่ใช้พิจารณาว่าธุรกิจควรจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ แต่สำหรับตอนนี้ เราจะมาดูกันว่าหน้าที่ที่ต้องทำหลังจากที่เลือกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
อย่าลืมนะครับว่า คำถามที่ต้องถามตัวเอง 2 ข้อคือ ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไหม ถ้าคำตอบแรกคือไม่ ทันทีที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องรีบไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันครับ
ทีนี้เรามาต่อกันครับว่า ถ้าหากเราไปจดภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ได้รับเอกสารหลักฐานการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ. 20 มาเป็นที่เรียบร้่อย เราต้องทำอะไรบ้าง
ภาษีธุรกิจ EP10: VAT และหน้าที่ของผู้ประกอบการ ตอนที่ 1
หลายคนพอได้ยินคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” หรือ “VAT” แล้วมักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ คล้ายจะเป็นไข้ ปวดหัว
ตัวร้อน เพราะได้ยินทั้งคำขู่ คำกล่าว หรือคำบ่นมาว่า มันคือตัวปัญหาของการทำธุรกิจ แต่ก่อนที่จะปวดหัวมากไปกว่านี้ เรามารู้จักกับความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนดีกว่าครับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือ ภาษีอากรอีกประเภทหนึ่ง ที่เรียกเก็บจากการบริโภคของประชาชน โดยในปัจจุบันคิดในอัตรา 7% ของราคาขายสินค้าหรือบริการ