บันทึกคู่บัญชีประจำเดือนบน FlowAccount หลังยื่นภาษีและประกันสังคม

การจัดเก็บภาษี

วันนี้เราจะมาสอนวิธีบันทึกจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และประกันสังคมรายเดือน ใน FlowAccount กัน แอบบอกไว้ก่อนเลยว่า ถ้ารู้วิธีแล้วการยื่นในครั้งถัดไปของเราจะง่าย และสะดวกขึ้นมากเลยค่ะ ว่าแล้วก็ตามมาดูกันได้เลย

เรื่องภาษีและประกันสังคมเนี่ยเป็นเรื่องช่างน่าปวดหัวเสียจริงๆ สำหรับเจ้าของธุรกิจ นอกจากจะต้องยื่นให้ทันกำหนดเวลาแล้ว ตามที่เคยเล่าไปในบทความนี้ “Timeline นำส่งภาษี และเอกสารบริษัท ครบในบทความเดียว” อีกสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้ก็คือ การบันทึกบัญชีให้เรียบร้อยค่ะ!

 

และในวันนี้เราจะมาสอนวิธีบันทึกจ่ายภาษีและประกันสังคมรายเดือน ใน FlowAccount กัน แอบบอกไว้ก่อนเลยว่า ถ้ารู้วิธีแล้วการยื่นในครั้งถัดไปของเราจะง่าย และสะดวกขึ้นมากเลยค่ะ ว่าแล้วก็ตามมาดูกันได้เลย

 

1. บันทึกจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

 

มาเริ่มต้นกันที่เรื่องแรกเลย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มค่ะ แต่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน เพราะไม่ใช่ทุกธุรกิจที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มนะ ดังนั้น การบันทึกบัญชีในขั้นตอนนี้ ใช้เฉพาะกับคนที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นค่ะ (ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล)

 

แต่ก่อนที่จะไปบันทึกจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม อยากจะชวนทุกคนมาทบทวนวิธีการสรุปภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนกันก่อนโดยไปที่ “เมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม”

 

 

ขั้นตอนสร้างแบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน 

 

1 ไปที่เมนู บริหารบัญชี

2 บริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม

3 ยื่นแบบภาษีรายเดือน

4 กดปุ่ม “สร้างแบบยื่นภาษีรายเดือน”

5 เลือกเดือนที่ต้องการยื่นแบบภาษี

6 กด "บันทึกแบบยื่นภาษีรายเดือน" ได้เลยค่ะ

 

ระบบ FlowAccount จะดึงรายการภาษีขายที่เราออกใบกำกับภาษีมาให้อัตโนมัติ แล้วให้เราเลือกว่าจะใช้สิทธิ์ใบกำกับภาษีซื้อรายการไหนบ้าง

 

ขั้นตอนสร้างแบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

 

 

บันทึกยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน

 

ตรวจสอบข้อมูลที่ระบบสรุปมาให้แล้วกด “บันทึกแบบภาษีรายเดือน” หากมีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไว้เกินจากเดือนก่อน ให้เราใส่ข้อมูลที่ช่อง “ภาษีซื้อที่ยกมา” ด้วยนะคะ แล้วกดปุ่ม “บันทึกแบบยื่นภาษี” ระบบจะบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปให้เราโดยอัตโนมัติ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยสำหรับการบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รายเดือนค่ะ

 

ขั้นตอนบันทึกยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

 

บันทึกจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

ปิดบัญชี VAT ไปแล้ว แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะคะ ทุกคนต้องบันทึกบัญชีจ่ายภาษีด้วย โดยไปที่เมนูเดิมเลยค่ะ

1 บริหารบัญชี

2 บริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม

3 ยื่นแบบภาษีรายเดือน

4 กดเปลี่ยนสถานะจาก drop down เป็น “ยื่นแบบภาษี”

5 ระบุวันที่ยื่นแบบ (วันที่จ่ายภาษี) วิธีการชำระเงินให้เรียบร้อย และกดบันทึกรายการ ระบบจะบันทึกบัญชีให้เราอัตโนมัติ 

6 กด "บันทึก" ได้เลย

 

เพียงเท่านี้เราก็บันทึกปิดบัญชี VAT พร้อมกับบันทึกรายการจ่ายชำระภาษีในระบบเรียบร้อยแล้ว ง่ายมากๆ แบบไม่น่าเชื่อเลยค่ะ

 

บันทึกจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

2. บันทึกจ่ายภาษี หัก ณ ที่จ่าย

 

สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะเกิดกับทุกๆ ธุรกิจในกรณีที่จ่ายชำระค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ค่าทำบัญชี ค่าบริการ ค่าจ้างงานฟรีแลนซ์ ซึ่งทุกคนจะต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ตามที่กฎหมายกำหนดค่ะ

 

FlowAccount จะบันทึกค้างจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละประเภทให้เราแบบอัตโนมัติเลย ในกรณีที่กดหัก ณ ที่จ่ายไว้ตอนชำระเงินค่ะ 

 

สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ เราจะพาทุกคนไปเช็กข้อมูลก่อนจ่ายชำระ และบันทึกบัญชีจ่ายชำระตามขั้นตอนนี้กัน

 

เช็กข้อมูลหัก ณ ที่จ่าย ก่อนยื่นภาษี

 

ให้ทุกคนไปที่เมนู รายงาน>ภาษี>ภาษีหัก ณ ที่จ่าย > กดเลือก ช่วงเวลาในเดือนที่ต้องการดูรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

 

ถ้าตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้วจากรายงานนี้ เราก็นำส่งแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 ได้เลยค่ะ

 

 เช็กข้อมูลหัก ณ ที่จ่าย ก่อนยื่นภาษี

 

ส่วน ภ.ง.ด.1 นั้นจะต้องเช็กกับรายงานในระบบ FlowPayroll นะคะ เพราะมีข้อมูลความลับเกี่ยวกับเงินเดือนพนักงานด้วย

 

 

บันทึกบัญชีจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 

 

เมื่อยื่นแบบแก่สรรพากรเรียบร้อย จ่ายเงินสำเร็จแล้ว อย่าลืมมาบันทึกบัญชีการจ่ายชำระเงินกันนะคะ โดยไปที่เมนูบริหารบัญชี > สมุดรายวันจ่าย แล้วบันทึกบัญชีเดบิต เครดิตตามนี้เลยค่ะ

  • เดบิต (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) *เอาตัวเลขมาจากหน้ารายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละประเภท
  • เครดิต (เงินสด/เงินฝากธนาคาร)

เพียงเท่านี้เราก็บันทึกรายการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย เรียบร้อยแล้วค่ะ

 

คู่บัญชีหัก ณ ที่จ่าย FlowAccount

 

3. บันทึกจ่ายประกันสังคม

 

สำหรับธุรกิจที่มีพนักงาน ต้องขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมและนำส่งประกันสังคมตามกฎหมายทุกเดือนด้วยเช่นกัน

 

ในระบบ FlowPayroll จะบันทึกตั้งค่าใช้จ่ายเงินเดือน และจ่ายเงินเดือนให้เรา แบบอัตโนมัติ ซึ่งตอนที่ระบบบันทึกตั้งค่าใช้จ่ายเงินเดือนให้เรา จะรวมถึงการตั้งเงินประกันสังคมรอนำส่งด้วย 

 

โดยการนำส่งประกันสังคมนั้น เราจะหักเงินลูกจ้างมาส่วนหนึ่ง และรวมกับนายจ้างอีกส่วนหนึ่ง เช่น หักเงินลูกจ้างมา 750 บาท นายจ้างต้องออกให้อีก 750 บาท ดังนั้น เราต้องนำส่งประกันสังคม 1,500 บาท นั่นเอง

 

การบันทึกจ่ายประกันสังคม เราต้องเข้าไปบันทึกรายการในเมนูบริหารบัญชี > สมุดรายวันจ่าย โดยใช้ตัวเลขจากรายงานเงินเดือนค่ะ

 

วิธีการบันทึกบัญชีชำระประกันสังคมให้ทุกคนทำตามแบบนี้ค่ะ

 

เดบิต ยอดเงินประกันสังคมรอนำส่ง เอาตัวเลขมาจากรายงานเงินเดือน

           เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร

 

คู่บัญชีประกันสังคม FlowAccount

 

สรุป

 

จบกันไปแล้วสำหรับการบันทึกรายการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม หัก ณ ที่จ่าย และประกันสังคม ทั้ง 3 รายการนี้ เจ้าของกิจการหรือนักบัญชีก็สามารถเช็กและบันทึกรายการด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เมื่อใช้ FlowAccount ค่ะ

 

ก่อนจะจากกันไปสำหรับบทความนี้ อย่าลืมนะคะว่าถ้าแม้จะบันทึกจ่ายภาษีและประกันสังคมเป็นแล้ว แต่อย่าลืมจ่ายชำระให้ทัน Deadline ของทุกๆ เดือนด้วย ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และประกันสังคมจะต้องชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป กรณีที่ยื่นแบบออนไลน์ จะได้ไม่เจอค่าปรับเงินเพิ่มราคาแพงนะคะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like