ส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ขาดเดือนบ้าง ข้ามเดือนบ้างแก้ไขอย่างไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ขาดเดือนบ้าง

จำเป็นต้องยื่นภาษีเองทุกเดือน แต่ติดปัญหาตรงที่ นึกได้ทีก็ยื่นที บางเดือนยื่นขาดบ้าง บางเดือนลืมยื่นบ้าง ยื่นกะปริกกะปรอยแบบนี้เราจะมีปัญหาอะไรไหม แล้วถ้าอยากแก้ไขให้ถูกต้องจะทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ FlowAccount จะมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ

เพิ่งเปิดธุรกิจ ยังไม่มีเงินจ้างสำนักงานบัญชี เลยจำเป็นต้องยื่นภาษีเองทุกเดือน แต่ติดปัญหาตรงที่ นึกได้ทีก็ยื่นที บางเดือนยื่นขาดบ้าง บางเดือนลืมยื่นบ้าง ยื่นกะปริกกะปรอยแบบนี้เราจะมีปัญหาอะไรไหม แล้วถ้าอยากแก้ไขให้ถูกต้องจะทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ FlowAccount จะมาเล่าให้ทุกคนฟังค่ะ

 

 

ยื่นภาษีผิด แต่ข้ามเดือนมาแล้ว ปล่อยเลยตามเลยได้หรือไม่

 

ภาษีที่ธุรกิจต้องยื่นเป็นประจำทุกๆ เดือนก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม 

 

ยื่นภาษีผิด แต่รู้ตัวช้าไปหน่อย ข้ามเดือนมาแล้ว หลายคนคงคิดว่า เรื่องที่ผ่านมาก็ให้ผ่านไป แต่จริงๆ อาจใช้ไม่ได้สำหรับภาษีนะคะ 

 

โดยปกติแล้วหากยื่นภาษีผิดไป อยากให้ลองเช็กดีๆ ว่าเป็นเคสใดใน 2 อันนี้

 

  1. ยื่นภาษีเกิน คือ จ่ายภาษีไปมากกว่าที่ต้องจ่าย ทำให้สรรพากรได้รับภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเป็นกรณีนี้เราสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังได้ แต่ถ้าไม่ขอคืนก็ไม่เป็นไร เพราะพี่สรรพากรได้กำไร น่าจะไม่มีภัยมาถึงตัว
  2. ยื่นภาษีขาด คือ จ่ายภาษีน้อยกว่าที่ต้องจ่าย ถ้าเป็นเคสนี้เราไม่น่าจะปล่อยเลยตามเลยได้ เพราะพี่สรรพากรคงไม่ยอมแน่นอน 

 

แต่ทางที่ดีการยื่นภาษีให้ตรงกับยอดที่เราควรเสีย ไม่มีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ แบบนี้น่าจะดีที่สุด และถ้ายื่นผิดไปในเดือนนี้ เดือนหน้าก็ยังมีโอกาสแก้ไขย้อนหลัง แต่อาจจะเสียค่าปรับเงินเพิ่มนิดหน่อยค่ะ

 

 

กรมสรรพากรติดตามภาษียังไง 

 

ปกติแล้วทุกๆ ธุรกิจจะมีพี่สรรพากรประจำตัว แม้จะเป็นธุรกิจรายย่อยหรือรายใหญ่ก็เหอะ โดยเจ้าหน้าที่สรรพากรที่ดูแลเราจะเป็นสรรพากรในแต่ละพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ค่ะ

 

คำถาม

 

คือ ถ้าเรายื่นภาษีขาดไป อีกกี่วัน กี่เดือน พี่ ๆ เจ้าหน้าที่สรรพากร ถึงจะมาติดตามทวงถามเงินภาษีนะ?

 

คำตอบ

 

คือ พี่เจ้าหน้าที่เขาก็ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบแค่บริษัทเราบริษัทเดียวค่ะ ทำให้ในเดือนนั้นๆ เราอาจจะไม่ถูกตรวจสอบก็ได้ 

 

อ้าว! แล้วถ้าอย่างนี้ ก็หมายความว่า ถ้าเรายื่นภาษีผิดไป ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยใช่ไหมล่ะ เพราะเขาก็ไม่ได้มาตรวจดูเราทุกเดือนอยู่แล้ว 

 

อันที่จริงแล้ว ที่บอกว่า ไม่ได้มาตรวจดูทุกเดือนนั้น ไม่ได้หมายความว่า เขาจะไม่มาตรวจนะ ถ้าเรายื่นภาษีไม่ถูกต้อง ตามที่มันควรจะเป็น ยื่นภาษีขาดไป ยื่นภาษีผิดไป ในระบบของสรรพากร มันก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผิดอยู่ และมันจะคงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ถ้าเราไม่รีบไปแก้ไขสักวันหนึ่ง สรรพากรก็อาจจะติดต่อมาหาเราแบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้ค่ะ และที่แย่ไปกว่านั้น ก็คือ ยิ่งสรรพากรติดต่อมาช้าค่าปรับเงินเพิ่มก็จะยิ่งเยอะขึ้นทุกวัน 

 

ทางที่ดี รู้ตัวแล้วว่าผิด อย่าลืมรีบแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ต้องรอให้สรรพากรมาเตือนนะ

 

ค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายคิดยังไง

 

ถ้าเดือนนั้นยื่นภาษีแล้ว แต่ยื่นขาดไป แล้วยอมมอบตัวยื่นภาษีย้อนหลังให้กับสรรพากร เราจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามนี้

 

คำนวณค่าปรับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

แต่ทางที่ดีที่สุด ถ้าใครยื่นขาดไป หรือยื่นผิด คำนวณผิด ลองเข้าไปเช็คจำนวนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแบบเป๊ะๆ ในระบบสรรพากร RD E-Filing จะง่ายสุด ไม่ต้องมานั่งคำนวณเองให้เสียเวลานะคะ

 

ตัวอย่าง คำนวณเมื่อยื่นภาษีรายเดือนย้อนหลัง

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) จากระบบ E-filling ยื่นภาษีขายขาดไป 100 บาท ย้อนหลัง 1 เดือน
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 53 จากระบบ E-filling ยื่นภาษีขายขาดไป 100 บาท ย้อนหลัง 1 เดือน

 

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่มีค่าปรับ

 

วิธีแก้ไขไม่ให้เสียค่าปรับยื่นภาษีผิด

 

จากที่ดูตัวอย่างการคำนวณกันมาแล้ว คงไม่มีใครอยากจ่ายค่าปรับภาษีโดยไม่จำเป็นจริงไหมคะ ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับภาษีแพงๆ เรามีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ลองมาดูกันนะ

 

1. ป้องกันไว้ก่อน

 

วิธีการป้องกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุด และควรจะทำมากที่สุด เพราะมันช่วยให้เราไม่ต้องจ่ายค่าปรับเลยสักบาท  

 

โดยขั้นตอนการป้องกันก็มีหลายวิธีอย่างเช่น 

  • การทำ checklist เพื่อเช็กว่ายื่นภาษีครบถ้วนหรือไม่ในแต่ละเดือน
  • การตั้งปฏิทินเตือนวันเวลายื่นภาษีไว้จะได้ไม่พลาดทุกเดดไลน์

 

วิธีแก้ไขไม่ให้เสียค่าปรับยื่นภาษีผิด

 

2. สอบทานให้มั่นใจ

 

วิธีการสอบทานการยื่นภาษีเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดข้อผิดพลาดได้ จะเริ่มจากตรวจสอบแบบภาษีด้วยตัวเอง หรือให้คนอื่นช่วยตรวจสอบอีกที แบบนี้ก็น่าจะตรวจเจอข้อผิดพลาดและแก้ไขได้ทันเวลานะ

 

3. แก้ไขย้อนหลัง

 

วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่เราไม่อยากทำ แต่ก็ต้องทำถ้ามันผิดพลาดจริงๆ เช่น เมื่อพบว่าเดือนนั้นผิด ยื่นไม่ครบ หรือลืมยื่น ก็เร่งแก้ไขทันที

 

สาเหตุเพราะ มาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรบอกไว้ว่า ถ้าเราค้างชำระภาษีนานๆ ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามสูตรนี้ภาษีที่ต้องเสีย X 1.5% X จำนวนเดือน

 

ดังนั้น เมื่อทราบแล้วว่าลืมยื่นภาษี หรือยื่นภาษีไม่ครบ ก็ควรเร่งดำเนินการแก้ไขย้อนหลัง และยื่นเพิ่มเติมให้ไวที่สุดนั่นเองค่ะ 

 

สรุป

 

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องทำทุกเดือน ไม่ว่าจะทำเองหรือจ้างสำนักงานบัญชีทำ ถ้ารู้ตัวว่ายื่นผิดไปเมื่อใด อย่าปล่อยปะละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณียื่นภาษีขาด เพราะเราอาจพี่สรรพากรเรียกพบ และเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มอันแสนแพง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การหาวิธีป้องกันความผิดไว้ก่อน สอบทานตัวเองเสมอ และไม่เผอเรอจนลืมแก้ไขนะคะ ขอให้ทุกคนโชคดีสำหรับการยื่นภาษีประจำเดือนนี้ค่ะ

 

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย