Final Tax นั้นมีประโยชน์สำหรับการวางแผนภาษีสำหรับคนที่มีรายได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดอกเบี้ย เงินปันผล การลงทุน หรือขายอสังหาริมทรัพย์ วิธีการวางแผนแบบง่าย ลองทำตามขั้นตอนง่ายๆในบทความนี้กันค่ะ |
คนมีรายได้หลายทางต้องเข้าใจเรื่องภาษีเพื่อที่จะวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีบุคคลเรื่องนึงที่ไม่ยากจนเกินไป และสามารถวางแผนด้วยตัวเองได้ก็คือ เรื่องภาษีสุดท้าย หรือ Final Tax ค่ะ
เจ้า Final Tax ที่ว่าคืออะไร และช่วยคนธรรมดาอย่างเราๆ วางแผนภาษีได้อย่างไร FlowAccount ขออาสามาเล่าให้ทุกคนฟังในบทความนี้
Final Tax คืออะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
Final Tax (ภาษีสุดท้าย) คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้
โดยทั่วไปการมีเงินได้ และถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ ไม่ได้แปลว่าเราไม่ต้องคำนวณและยื่นภาษี เช่น เงินเดือน ค่าจ้างที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ อย่างไรก็ตาม ตอนปลายปีต้องรวบรวม มาคำนวณและยื่นภาษีทั้งหมด
แต่กรณี Final Tax นี้เป็นกรณีพิเศษกว่าเงินได้ทั่วไป เพราะว่าเงินได้ประเภทนี้ เรามีสิทธิเลือกว่าจะนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ถ้าเราเลือกไม่เอามารวมคำนวณก็จบที่ยอดถูกหัก ณ ที่จ่ายเลย และไม่ถือว่าทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด
ฉะนั้น บุคคลธรรมดาทุกคน ถ้ามีเงินได้อย่าลืมเช็คนะคะว่าเงินได้ของเราอยู่ในประเภท Final Tax หรือไม่ ก่อนตัดสินใจว่าเราจะเลือกจบหรือไปต่อกับการยื่นภาษีประจำปีค่ะ
Final Tax มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
เงินได้ที่ได้รับสิทธิ์ Final Tax มี 5 ประเภทที่พบบ่อย และมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
โดยปกติแล้ววิธีวางแผนภาษีง่ายๆ ว่าเราควรเลือกรวมเงินได้เพื่อคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาหรือไม่ จะต้องเช็กเทียบกันระหว่าง 2 วิธีค่ะ
รู้จักอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในขั้นตอนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีนั้น เราต้องใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันไดตามตารางนี้คำนวณ ถ้าสังเกตดูดีๆ คนที่มีฐานเงินได้สุทธิเยอะๆ ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่ 35% ค่ะ
ตัวอย่างการหัก ณ ที่จ่ายและวิธีใช้ประโยชน์จาก Final Tax
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ว่า Final Tax นั้นช่วยลดภาษีส่วนบุคคลได้อย่างไร ลองมาดูตัวอย่างนี้กันนะคะ
นาย ก. อยู่ตัวคนเดียวไม่มีครอบครัว เขามีเงินได้ประเภทเงินเดือน 40(1) จำนวน 1,000,000 บาท และได้รับเงินปันผลเป็นเงินได้ประเภท 40(4ข) จากบริษัทที่ลงทุนไว้ 600,000 บาท ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ 10% เท่ากับ (60,000) บาท
กรณีใช้ประโยชน์ Final Tax
ถ้าเราลองคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีของนาย ก. กรณีที่เลือกไม่รวมเงินได้ปันผล 40(4ข) เข้าไป ภาษีที่คำนวณได้จะเป็นดังนี้
กรณีไม่ใช้ Final Tax
ถ้าลองเปรียบเทียบระหว่างวิธีใช้ประโยชน์ Final Tax กับวิธีไม่ใช้ Final Tax เราจะพบว่าสำหรับเคสนี้ นาย ก. จ่ายภาษีน้อยกว่าถ้าไม่รวมเงินได้ Final Tax ไปด้วย
และถ้าสังเกตดีๆ อัตราภาษีสูงสุดของนาย ก. เฉพาะแค่เงินเดือนอย่างเดียวอยู่ที่อัตรา 20% ส่วนเงินปันผลที่มีสิทธิ์ Final Tax นั้นถูกหัก ณ ที่จ่ายที่อัตรา 10% ค่ะ แต่ถ้าเลือกเอาไปรวมคำนวณภาษีด้วย กลายเป็นว่าอัตราภาษีบุคคลธรรมดาของนาย ก. จะพุ่งกระฉูดไปเป็น 25% เลยล่ะ
สรุปแล้วบุคคลธรรมดาใช้ประโยชน์จาก Final Tax ยังไงดี
โดยสรุปแล้ว Final Tax นั้นมีประโยชน์สำหรับการวางแผนภาษีสำหรับคนที่มีรายได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดอกเบี้ย เงินปันผล การลงทุน หรือขายอสังหาริมทรัพย์ วิธีการวางแผนแบบง่าย ลองทำตามขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้
- รู้จักประเภทรายได้ว่าเป็น Final Tax และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เสียไป
- เช็กอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบไม่รวม Final Tax ว่าเป็นเท่าใด
- เลือกไม่รวมคำนวณ Final Tax ในการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี ถ้าข้ออัตราข้อ 1) น้อยกว่าข้อ 2) เราจะได้ประโยชน์มากกว่า
แต่ถ้าให้ถูกต้องเป๊ะๆ ลองด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีของสรรพากร แล้วเปรียบเทียบกันดูก่อนระหว่างวิธีไม่รวมและรวม Final Tax จากนั้นค่อยตัดสินใจก็ทำได้เช่นเดียวกันค่ะ
About Author
เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”
ร่วมสมัครเป็นนักเขียนกับ FlowAccount ได้ที่นี่