ธุรกิจมีสินค้าฝากขาย จัดการสต็อก รับรู้รายได้และต้นทุนอย่างไร

สินค้าฝากขาย

การฝากขายสินค้า เป็นวิธีในการเพิ่มช่องทางในขายสินค้าอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องใส่ใจเรื่องการบันทึกบัญชี และการตรวจสอบเงื่อนไขทางภาษี ว่าสินค้าถูกขายไปตอนไหน หากควบคุมได้ดี การฝากขายก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

การค้าขายในปัจจุบัน เริ่มต้นได้ง่ายแม้ไม่มีหน้าร้านก็ตาม ซึ่งการ “ฝากขาย” ก็เป็นอีกวิธียอดฮิตสำหรับคนมีฝีมือ แต่ไม่อยากเสียค่าเช่าหน้าร้านแพงๆ เช่น ร้านขนมฝากขายกับร้านกาแฟ ผลิตภัณฑ์แชมพูฝากขายตามร้านทำผม หรือฝากขายสินค้ากับห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 

 

แบบนี้เท่ากับวินวินทั้งสองฝ่ายเพราะคนฝากขายก็ได้เพิ่มรายได้จากช่องทางกระจายสินค้าที่มากขึ้น ส่วนเจ้าของที่ก็ได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กๆ น้อยๆ จากการรับฝากขาย 

 

เอ…แต่ทุกคนสงสัยกันมั้ยคะว่า ถ้าเราทำธุรกิจฝากขายสินค้า ต้องบันทึกบัญชีอย่างไร และเสียภาษีแบบไหน ถ้าทุกคนยังไม่มั่นใจเรื่องนี้ ลองมาดูความรู้ดีๆ FlowAccount เอามาฝากกันค่ะ

 

 

สินค้าฝากขายคืออะไร รับรู้รายได้ทางบัญชีตอนไหน

 

 “การฝากขายสินค้า” คือ การส่งของไปยังผู้รับฝากขาย (ตัวแทนขาย) ก่อนเพื่อให้พวกเค้าตั้งหน้าร้าน และทำการขายให้ จากนั้นเมื่อขายสินค้าได้ผู้รับฝากขายก็จะเป็นคนส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าค่ะ

 

ถ้าสังเกตดีๆ ขั้นตอนในการส่งมอบสินค้าจะมี 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. มอบให้ผู้รับฝากขาย 2. มอบให้ลูกค้า 

 

ในทางบัญชีคนทำธุรกิจนี้จะรับรู้รายได้ก็ต่อเมื่อ สินค้าถูกขายและส่งมอบไปยังลูกค้าแล้วค่ะ (ไม่ใช่ตอนที่เราไปฝากขายร้านค้านะ) เพราะตอนนี้เป็นตอนที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนได้โอนให้กับผู้ซื้อตัวจริงตามที่มาตรฐานบัญชีกำหนดไว้แล้วค่ะ

 

กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ทุกข้อ ดังต่อไปนี้

 

1 กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว
2 กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำหรือ
ไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
3 กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ
4 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น
5 กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ   

 

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (ปรับปรุง ๒๕๖๕) บทที่ 18

 

 

บันทึกบัญชี สินค้าฝากขาย

 

เงื่อนไขธุรกิจฝากขายที่สรรพากรกำหนดมีอะไรบ้าง

 

เพื่อความเข้าใจมากขึ้น เราต้องรู้จัก คำศัพท์ทางกฎหมายก่อน ซึ่งจะมีอยู่ 2 บุคคล คือ  

 

  • ตัวการ หมายถึง ผู้ฝากขายสินค้า อาจเป็นโรงงานที่ผลิตสินค้า หรือเจ้าของสินค้า เช่น โรงงานขนมที่มีรายได้จะมาจากการขายสินค้าเป็นหลัก
  • ตัวแทน หมายถึง ผู้รับฝากขายสินค้า จะมีลักษณะเป็นนายหน้า ไม่ได้มีสินค้าเป็นของตนเอง ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ไม่รับความเสี่ยงในสินค้า และรับรู้รายได้จากค่านายหน้า/ค่าธรรมเนียมรับฝากขาย เท่านั้น 

 

เงื่อนไขการฝากขายตาม “ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)” มี 6 ข้อ ดังนี้

 

  1. ต้องมีการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้า และตัวแทนจะได้รับค่านายหน้าเป็นสิ่งตอบแทน
  2. สัญญาแต่งตั้งตัวแทน ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. ตัวการ และตัวแทน ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat
  4. ตัวการ และตัวแทน ต้องเก็บสัญญาแต่งตั้งตัวแทน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่สิ้นสุดสัญญา
  5. ตัวการต้องแจ้งสัญญาแต่งตั้งตัวแทน ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทน
  6. ตัวแทนต้องจะทำรายงานสินค้า และวัตถุดิบ โดยแยกต่างหากจากรายงานสินค้า และวัตถุดิบของตน

 

ดังนั้น หากจะทำการฝากขาย ต้องมีการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าก่อน ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่ใช่ลักษณะของการฝากขายสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด

 

การออกใบกำกับภาษี (Tax Point) ของธุรกิจฝากขาย เกิดขึ้นเมื่อใด

 

ก่อนจะไปดูว่า Tax Point เกิดขึ้นตอนไหน ก็ต้องมาเช็คกันก่อนว่ามีสัญญาแต่งตั้งตัวแทนหรือเปล่า แล้วออกใบกำกับภาษีตามที่สรุปนี้ค่ะ

 

ออกใบกำกับภาษี ธุรกิจฝากขาย

 

ฝากขายสินค้า บันทึกบัญชีอย่างไร

 

กรณีที่ฝากขายสินค้าผ่านตัวแทนที่ทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้ 

 

ทำบัญชีการฝากขายสินค้า

 

ธุรกิจฝากขาย ควรออกเอกสารแบบใด 

 

  • ตอนส่งสินค้าไปยังตัวแทน ควรออก “ใบส่งของชั่วคราว” เพื่อยืนยันการรับสินค้าฝากขายระหว่างตัวการและตัวแทน

 

ใบส่งของชั่วคราว

 

  • เมื่อตัวแทนขายสินค้าให้กับลูกค้า ให้ออกใบกำกับภาษีขายให้กับลูกค้า ซึ่งสินค้าจะถูกตัดออกจากระบบอย่างอัตโนมัติ

 

ใบกำกับภาษีขาย

 

  • เมื่อได้รับชำระเงิน ตัวแทนจะส่งเงินค้าขายสินค้าให้เรา จากนั้นออกใบเสร็จรับเงินเพื่อยืนยันการรับเงิน

 

ใบเสร็จรับเงิน

 

 

  • สินค้าส่งไปฝากขายต้องนับสต็อกหรือไม่ 

ต้องนับ เพราะสินค้าที่ฝากขายถือเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจอยู่ ข้อดีของการนับสินค้าฝากขาย คือ ป้องกันตัวแทนทุจริตนั่นเอง

 

สรุป

 

สำหรับการฝากขายสินค้า เป็นวิธีในการเพิ่มช่องทางในขายสินค้าอย่างหนึ่ง หากบริหารจัดการให้ดี เราอาจมียอดขายเพิ่มขึ้นปังๆ แต่การฝากขายเองถือว่ามีความเสี่ยง เพราะว่าสินค้าไม่ได้อยู่ในสายตาของเรา อาจจะเกิดการสูญหาย เสียหายได้ค่ะ

ดังนั้น นอกจากจะต้องใส่ใจเรื่องการบันทึกบัญชี และการตรวจสอบเงื่อนไขทางภาษีแล้ว เจ้าของธุรกิจควรจะตรวจนับสินค้าฝากขายอย่างสม่ำเสมอ ว่าสินค้าถูกขายไปตอนไหน และเหลืออยู่เท่าไหร่ หากเราควบคุมสินค้าฝากขายได้ดี การฝากขายก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ

 

อ้างอิง :

  • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) 
  • https://www.rd.go.th/3480.html คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 1/2528 ข้อ 3.3
  • ข้อหารือ กค 0706/2151
  • ข้อหารือ กค 0702/7981
  • https://www.tfac.or.th/upload/9414/tzqSEa6pmD.pdf

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย