ปัจจัยหลักๆ ที่เราต้องพิจารณาให้ดีคือเรื่องของกระแสเงินสดนะครับ ไม่ใช่ผลกำไร หรือขาดทุน เพราะต้องมองให้เห็นว่าตอนนี้มีอะไรที่ทำให้เงินออกไปจากกิจการ และอะไรทำให้มีเงินเข้ามาในกิจการได้ก่อนนะครับ |
ในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจแบบนี้นะครับ เจ้าของธุรกิจ SMEs ต้องพยายามฝ่าไปให้ได้ ผมขอแนะนำ 10 เรื่อง ในการสำรวจกิจการเพื่อหา วิธีลดต้นทุน และคุมค่าใช้จ่าย จะได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในขณะนี้ได้นะครับ
ปัจจัยหลักๆ ที่เราต้องพิจารณาให้ดีคือเรื่องของกระแสเงินสดนะครับ ไม่ใช่ผลกำไร หรือขาดทุน เพราะต้องมองให้เห็นว่าตอนนี้มีอะไรที่ทำให้เงินออกไปจากกิจการ และอะไรทำให้มีเงินเข้ามาในกิจการได้ก่อนนะครับ
10 วิธีลดต้นทุน และบริหารกิจการ
1. สินค้าคงเหลือ
ถามตัวเองดูสิว่าตอนนี้รู้หรือไม่ว่าเรายังมีสินค้าขายอยู่อีกจำนวนเท่าไหร่ ถ้าสามารถหมุนออกเป็นเงินได้ อย่าเสียดายนะครับ ปล่อยสินค้าออกได้เลยนะครับ แต่ต้องคอยเฝ้าจำนวนสินค้า และเงินสด กำไรที่เกิดขึ้นให้ดีๆ นะครับ
2. กระแสเงินสด
วางแผนและติดตามกระแสเงินสดของกิจการอย่างใกล้ชิด บวกกับคาดการณ์สถานการณ์ในปัจจุบันว่าแนวโน้มลูกค้าเราจะเป็นอย่างไร จำนวนเงินที่จะเข้ามานั้นตรงกับที่วางแผนได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีเงินจ่ายเจ้าหนี้ และได้รับเงินจากลูกหนี้ครบและไม่มีปัญหา อย่าลืมตั้งกระบวนการติดตามหนี้ไว้ด้วยนะครับ
3. จ่ายสิ่งที่จำเป็น
แบ่งระหว่าง สิ่งที่จำเป็นต้องทำ กับ สิ่งที่ทำแล้วดี ออกจากกัน ให้ทำหรือจ่ายแต่สิ่งที่จำเป็นก่อนในช่วงนี้ บริหารเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ก่อนทุกครั้งว่าจะทำอะไร แล้วผลที่ได้คืออะไร คุ้มหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็น งดก่อนนะครับ
4. ทำความเข้าใจลูกค้า
ไหนๆ มีเวลาแล้วลองทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าของเราดู เพราะข้อมูลธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการวางแผนธุรกิจ โดยพิจารณาจากฐานลูกค้า คนไหนเป็นลูกค้าชั้นดี เพราะบางทีการจัดเรตติ้งลูกค้าอาจจะทำให้ได้เจอโอกาสในการเพิ่มกำไรให้กับกิจการก็ได้
5. กระชับความสัมพันธ์กับทางธนาคาร
หรือกรรมการที่เรากู้มา ให้ทางนั้นทราบสถานะทางการเงินของเราอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงจากการเข้าใจผิด อาจจะได้รับความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำในการโยกย้ายหนี้สิน ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อจะได้ลดดอกเบี้ยที่ต้องชำระ ถือเป็นการประหยัดรายจ่ายได้ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรมาก (ขายของยาก ประหยัดง่ายกว่า) ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันก็เริ่มมีสถาบันทางการเงินเสนอทางเลือกในเรื่องอัตราดอกเบี้ยอยู่พอสมควรนะครับ
6. มองหาโอกาส
หรือไอเดียทำการตลาดใหม่ๆ ลดงานบางอย่างที่เคยมอบหมายไปแต่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปรับกระบวนการทำงานภายในองค์กร อาจจะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่เป็นช่องทางในการทำธุรกิจได้ ยกตัวอย่าง พนักงานอาจจะบอกว่า ปกติต้องติดต่อลูกค้าทุกวัน แต่ถ้าตอนนี้กิจกรรมทำได้น้อยลงก็หันมาทำการตลาดช่องทางอื่นแทนไหม เป็นต้น
7. อย่าลดคุณภาพของสินค้าลง
หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาที่มี Margin สูงกว่าแทน เพราะไม่ควรเล่นกับความรู้สึกของลูกค้า หากลูกค้าเสียเงินเท่าเดิม แต่ได้ของไม่เหมือนเดิม การเสียลูกค้าเก่า 1 คน เท่ากับเสียลูกค้ามากกว่า 10-20 คน ดังนั้นจึงควรรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ดี เพราะง่ายกว่าหาลูกค้าใหม่
8. เน้นบริการให้ดี
ยกระดับมาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อทดแทนหรือช่วยเหลือลูกค้ามากขึ้น ยิ่งคนมีกำลังซื้อน้อยลง แต่ถ้าเราบริการยิ่งดี จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับเรา แถมรักเรามากขึ้น จะได้มาช่วยอุดหนุนกันมากขึ้นนะครับ
9. ห้ามลดค่าใช้จ่ายด้านการตลาด
โดยเฉพาะการตลาดที่มีผลต่อกิจการของเราโดยตรง หลายกิจการที่ไม่ทราบไปลดค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดยิ่งทำให้การรักษายอดขาย และกระแสเงินสดนั้นยิ่งยากมากขึ้นไปอีก ถ้าเทียบกับกิจการที่ไม่ลดค่าใช้จ่ายด้านนี้นะครับ
- ศึกษาคู่แข่ง ถ้าทางนั้นลดค่ามาร์เก็ตติ้งลง เราต้องยิ่งเพิ่ม ถือเป็นการขยายมาร์เก็ตแชร์โดยปริยาย
- พยายามอย่าลอกวิธีการทำการตลาดจากคู่แข่ง เพราะจะเป็นการตอกย้ำให้คนจำภาพของทางคู่แข่งของเราแทน ให้โฟกัสกับแนวทางปฏิบัติของเรา
- ใช้ Direct Responce Advertising ทำการตลาดแบบตรงๆ ทำให้ลูกค้าเข้าใจข้อความที่เราต้องการสื่อสารและจำได้
- เน้นคุณภาพ และความคงทน จะทำให้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือในแบรนด์และสินค้าของเรา
- กลับมาวิเคราะห์ตลาดของตัวเองอยู่เรื่อยๆ เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน กลยุทธ์ของเราก็ต้องมีการอัพเดตเช่นกัน
10. อย่าเพิ่งลดค่าใช่จ่ายในการอบรมพนักงาน
นอกจากลดค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่เป็นความผิดพลาดแล้ว อีกอย่างคือ การลดค่าใช่จ่ายในการอบรมพนักงาน ก็ถือว่าไม่คุ้มเลย เพราะถือเป็นการลดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรลง หากงบไม่เพียงพอ ก็อาจให้หัวหน้าลงมาแชร์ประสบการณ์แทนก็ได้ ดีกว่าอบรมอีก ถือเป็นการสอนงานโดยตรง ถ้างบฯ ในการจัดอบรมไม่เพียงพอ
สุดท้ายพนักงานควรรับรู้สถานการณ์ตลอดเวลา พูดคุยกันตรงๆ หากต้องมีการเจรจาขอความร่วมมือลดเงินเดือน จะได้รักษาทุกคนให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับกิจการและพนักงาน ผลคือจะได้ทำให้กิจการสามารถดำเนินการ ผลักดันองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกันทุกคนได้ครับ
ทดลองใช้เครื่องมือในการช่วยตรวจสอบกระแสเงินสดได้ที่นี่