อธิบายครบ: ภ.พ.36 คืออะไร ยื่นเมื่อไร และยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างไรให้ถูกต้อง

ภพ 36 คืออะไร ยื่นเมื่อไหร่

ภ.พ.36 และภ.พ.30 เป็นเอกสารที่ใช้ในการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กับสรรพากร ซึ่งการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้ถูกต้องนั้นมีหลักเกณฑ์อย่างไร ผู้ที่ต้องยื่นภ.พ.36 คือใครบ้าง? ภ.พ.36 บันทึกบัญชีอย่างไร? และมีข้อควรรู้เรื่องการยื่นแบบอย่างไรบ้าง? เราได้รวบรวมไว้ที่นี่แล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม คืออะไร มีผลอะไรในการคำนวณภาษี

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามคืออะไร มีผลกระทบกับการจ่ายภาษียังไงบ้าง รายจ่ายต้องห้ามทั้งหลายเหล่านี้ มักเกิดจากอะไรบ้าง เข้าใจว่ารายจ่ายบางอย่างที่เกี่ยวกับธุรกิจ ถึงแม้จะเบิกบัญชีได้ แต่ทางภาษีก็ต้องห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ
อ่านเพิ่มเติม

กรรมการบริษัทไปดูงานต่างจังหวัด ต่างประเทศ จัดการภาษีอย่างไร

กรรมการบริษัทเดินทางไปดูงาน

บ่อยครั้งที่เจ้าของธุรกิจต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด หรือไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้หรือเปล่า FlowAccount นำประเด็นทางภาษีมาให้ทุกคนทำความเข้าใจ ไปพร้อมๆ กันค่ะ
อ่านเพิ่มเติม

ชี้แจงภาษีเกี่ยวกับรถของกรรมการ และรถที่ใช้ในบริษัท

ภาษีเกี่ยวกับรถของกรรมการ ภาษีรถที่ใช้ในบริษัท

เรื่องฮิตน่าปวดหัวของคนทำธุรกิจเรื่องหนึ่ง คงหนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้รถค่ะ ค่าใช้จ่ายแบบไหนเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้บ้าง แล้วภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เราสามารถเคลมได้ทั้งหมดไหม มีเงื่อนไขอะไรที่ต้องระมัดระวัง วันนี้ FlowAccount จะชวนทุกคนมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันค่ะ 
อ่านเพิ่มเติม

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย อัพสกิล ให้เข้าใจแบบขั้นเทพ

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

คนทำธุรกิจน่าจะมีชีวิตวนเวียนกับการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” อยู่เป็นธรรมดา แต่เชื่อไหมคะว่าอุปสรรคชิ้นใหญ่ของการรับและจ่ายเงินก็คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร มีความสำคัญกับเราอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันค่ะ

 

คนทำธุรกิจน่าจะมีชีวิตวนเวียนกับการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” อยู่เป็นธรรมดา แต่เชื่อไหมคะว่าอุปสรรคชิ้นใหญ่ของการรับและจ่ายเงินเนี่ยก็คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร มีความสำคัญกับเราอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้าง 

ถ้าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขั้นเทพ รับและจ่ายเงินได้แบบถูกต้อง 100% แล้วล่ะก็ พลาดไม่ได้กับบทความนี้เลยค่ะ ที่เราจะพาทุกคนไม่ทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่ต้นจนจบเลย



หักภาษี ณ ที่จ่ายไปทำไม

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การที่ “คนจ่ายเงิน” หักภาษีบางส่วนออกก่อนจ่ายเงินให้ “ผู้รับเงิน” และค่อยนำส่งภาษีที่หักไว้ส่วนนี้ให้กับสรรพากรค่ะ 

การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นมีวัตถุประสงค์หลักๆ 3 เรื่อง ได้แก่

เพื่อทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า

ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. มีรายได้และต้องจ่ายภาษีทั้งปี 100,000 บาท แต่ผู้จ่ายเงินหักไว้และส่งให้ก่อนทุกๆ ครั้งรวมแล้ว 30,000 บาท สุดท้ายปลายปี นาย ก. เหลือต้องจ่ายภาษีเพิ่มแค่ 100,000 – 30,000 = 70,000 บาท เท่านั้น

แบบนี้แปลว่า นาย ก. ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายและทยอยจ่ายภาษีไปล่วงหน้าแล้ว ฉะนั้น ปลายปีก็ไม่ต้องจ่ายชำระภาษีเป็นเงินก้อนตูมเดียวค่ะ

การันตีการส่งภาษีให้กับภาครัฐ

มองในแง่ภาครัฐ พวกเค้าก็ต้องหารายได้จากการเก็บภาษีเช่นกันค่ะ และเมื่อมีการหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินก็แปลว่า ภาครัฐทยอยได้รับภาษีจ่ายชำระจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ไว้แล้วเช่นกัน

ใช้ตรวจสอบผู้เสียภาษีว่าส่งรายได้ครบถ้วนหรือไม่

การที่ผู้จ่ายเงิน หัก ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งภาษีแก่สรรพากรนั้น ทำให้ในระบบมีข้อมูลรายได้และภาษีบางส่วนของผู้รับเงินค่ะ ฉะนั้น ถ้าปลายปีผู้มีเงินได้ไม่ยอมส่งแบบยื่นภาษีล่ะก็สรรพากรรู้ทัน ตามไปทวงให้ยื่นภาษีประจำปีแน่นอนจ้า

ใครมีหน้าที่ “ต้องหัก” ภาษี ณ ที่จ่ายบ้าง

กฎหมายกำหนดให้ “คนจ่ายเงิน” มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เมื่อจ่ายเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว อย่าลืมทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายให้ “ผู้รับเงิน” เพื่อเป็นหลักฐานด้วยนะคะ และสุดท้ายทุกสิ้นเดือน “คนจ่ายเงิน” ต้องรวบรวมรายการ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งแก่กรมสรรพากรด้วย FlowAccount ช่วยให้เจ้าของธุรกิจออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายง่ายๆ ด้วยตัวเอง และดาวน์โหลดรายงานเพื่อยื่นสรรพากร

ใครต้อง “ถูกหัก” ณ ที่จ่ายบ้าง

แน่นอนว่าผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจะเป็น “คนรับเงิน” ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลค่ะ แต่ก็ใช่ว่าค่าใช้จ่ายทุกประเภทต้องมีหัก ณ ที่จ่ายเสมอไปนะ 

ค่าใช้จ่ายประเภทไหนที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายบ้าง อัตราเท่าไร เราสรุปมาให้ในตารางนี้ค่ะ

ตารางด้านบนเป็นประเภทค่าใช้จ่ายที่เราเจอกันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวันค่ะ ถ้าสังเกตดูดีๆ การขายสินค้านั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องหัก ณ ที่จ่ายนะคะ ฉะนั้น คนที่จ่ายเงินซื้อสินค้าไม่ต้องกังวลใจเรื่องนี้เลยนอกจากนี้การหัก ณ ที่จ่ายจะต้องทำเมื่อมีจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ยกเว้น จะเป็นสัญญาระยะยาวที่ยอดต่อบิลไม่ถึง 1,000 แต่พอรวมแล้วทั้งปีเกิน 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินก็ยังต้องหัก ณ ที่จ่ายอยู่นั่นเองค่ะ

แบบภาษีที่ต้องยื่นมีกี่ประเภท

เมื่อหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ทุกๆ สิ้นเดือนต้องรวบรวมรายงานนำส่งแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่สรรพากร ภายใน 7 วันของเดือนถัดไปด้วย แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น เปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้ และประเภทผู้รับเงินได้ค่ะ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณอย่างไร

ทำความเข้าใจเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจขั้นเทพแล้วล่ะก็ เราต้องรู้วิธีการคำนวณด้วยค่ะ  หัก ณ ที่จ่ายคำนวณไม่ยาก ถ้าเรารู้ประเภทค่าใช้จ่าย และอัตราภาษีค่ะ ในที่นี้เราขอยกตัวอย่าง 2 กรณี ดังนี้

หัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน 40(1)

การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินเดือนจ่ายให้กับบุคคลธรรมดานั้น เราคิดตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้า

ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน เดือนละ 50,000 x 12          = 600,000 บาท/ปี

ค่าใช้จ่าย                                        = 100,000 บาท/ปี

ค่าลดหย่อน                                     = 60,000 บาท/ปี

เงินได้สุทธิ                                       = 440,000 บาท/ปี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อปี

1 – 150,000                                   ยกเว้น

150,001 – 300,000  =    5%            = 7,500

300,001 – 500,000  =   10%           = 140,000 x 10% = 14,000

ภาษีเงินได้ต่อปี                                = 21,500

นายจ้างต้องหัก ณ ที่จ่าย 21,500/12 = 1,791.67 บาทต่อเดือน แล้วนำส่งสรรพากรด้วยแบบ ภงด.1 ทุกเดือนค่ะ

หัก ณ ที่จ่าย ค่าบริการ 40(8)

การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินค่าบริการที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น อัตราหัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 3% ค่ะ

การคำนวณหัก ณ ที่จ่าย ให้คิดจากราคาค่าบริการแบบไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ตามนี้

ค่าบริการ 100,000 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%  = 7,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% = 100,000 x 3% = 3,000 บาท

ค่าบริการที่ต้องจ่ายสุทธิ = 100,000 + 7,000 – 3,000 = 104,000 บาท

เห็นไหมคะว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นเข้าใจง่าย แถมยังเป็นเรื่องใกล้ตัวด้วย ถ้าพยายามทำความเข้าใจไปทีละ Step เจ้าของธุรกิจมือใหม่ก็สามารถอัพสกิลตัวเองได้ไม่ยากเลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

รวมวิธีคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ฉบับเจ้าของกิจการเข้าใจง่าย

ค่าเสื่อมราคา

มาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับคำศัพท์ทางบัญชีที่ผู้ประกอบการมักจะได้ยินกันบ่อยๆ นั้นก็คือ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และคำว่าค่าเสื่อมราคา บทความนี้จะในภาษาที่อ่านครั้งเดียวก็เข้าใจเลยค่ะ หากเข้าใจจะสามารถช่วยบริหารค่าใช้จ่ายภายในบริษัทและวางแผนภาษีได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม
1 2 3