สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล เชื่อว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่สนใจเมื่อดูแบบแสดงรายการคือตัวเลขภาษี ที่ระบุไว้ว่าต้องจ่ายแค่ไหน จ่ายแพงไปก็ใจสั่น ถ้าจ่ายถูกก็หวั่นใจว่าจะถูกตรวจสอบย้อนหลัง เอาเป็นว่าบทความในตอนนี้จะมาอธิบายหน้าตาและความหมายของแบบแสดงรายการทางภาษี ให้เข้าใจกันดีขึ้นครับ |
“ปกติ แบบแสดงรายการทางภาษี อะไรเนี่ย ผมไม่เคยกรอกเลยครับพี่ ให้บัญชีเค้าทำมาให้ตลอด”
เจ้าน้องคนดีคนเดิมบ่นพึมพำหลังจากที่ผมแนะนำเรื่องการปรับปรุงกำไรในบทความ เข้าใจเรื่อง “กำไร” ก่อนจะไป เสียภาษี ตอนที่ 3 ไปเป็นที่เรียบร้อย
“อ้าวแล้วไม่คิดจะดูเลยเหรอว่าเค้ากรอกถูกหรือเปล่า” ผมแซวกลับไป ทั้ง ๆ ที่ในใจรู้คำตอบดีอยู่แล้ว 😁
สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล เชื่อว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่สนใจเมื่อดูแบบแสดงรายการคือตัวเลขภาษี ที่ระบุไว้ว่าต้องจ่ายแค่ไหน จ่ายแพงไปก็ใจสั่น ถ้าจ่ายถูกก็หวั่นใจว่าจะถูกตรวจสอบย้อนหลัง เอาเป็นว่าบทความในตอนนี้จะมาอธิบายหน้าตาและความหมายของแบบแสดงรายการทางภาษี ให้เข้าใจกันดีขึ้นครับ
โดยแบบแสดงรายการทางภาษีที่เราจะมาดูกันในบทความตอนนี้ คือ
แบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด 50
(ภ.ง.ด ย่อมาจากภาษีเงินได้) ซึ่งมีไว้สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบนิติบุคคลอย่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั่นเองครับ
หน้าตาของหน้า ภ.ง.ด.50 หน้าแรกจะสรุปทุกอย่างไว้ครับ แต่จริง ๆ เราจะสนใจอยู่ที่บรรทัดภาษีที่ชำระเพิ่มเติมเสียมากกว่า ว่าจะต้องจ่ายเพิ่มไหม หรือว่าจะโชคดีจ่ายภาษีเกินไว้แล้วได้คืนครับ
แต่สำหรับหน้าที่ผมอยากให้สนใจจริง ๆ คือรายการที่ 3 ในหน้าที่ 3 นั่นเองครับ มันเป็นรายการสรุปรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี ซึ่งหน้านี้แหละครับจะบอกว่ากำไรที่เราเสียภาษีนั้นมาจากไหน และมีอะไรที่ต้องสนใจบ้าง
โดยรายการปรับปรุงที่เล่ามาในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 เกี่ยวกับการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีและภาษี จะปรากฏอยู่ตรงข้อ 10 – 20 นั่นเองครับ หลังจากที่รู้ตัวเลขกำไรทางบัญชีในข้อ 9 รายการปรับปรุงยำใหญ่ใส่สารพัดก็จะอยู่ในหน้านี้
ถ้าลองดูให้ดี ในแต่ละข้อคือรายการที่ผมอธิบายไว้ เช่น รายการในข้อ 10 รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฏากร (บัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่ภาษีถือเป็นรายได้) จะให้กรอกในส่วนนี้ครับ
นอกจากนั้นรายการบ้างข้อ ยังสามารถเชื่อมโยงไปรายละเอียดแต่ละตัวเพิ่มเติมได้ด้วยครับ เช่น รายการในข้อที่ 11 จะเชื่อมกับรายการที่ 9 ในหน้า 5 ครับ ซึ่งตัวนี้ก้คือรายละเอียดของรายจ่ายต้องห้ามที่ผมได้อธิบายใน ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 นั่นเองครับ
มาดูกันอีกตัวอย่างหนึ่งครับ อย่างรายการในข้อที่ 13 รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิ์หักได้เพิ่มขึ้น จะเชื่อมไปยังรายการที่ 10 ในหน้า 6 ซึ่งบอกรายละเอียดที่มาของรายได้ที่ได้รับยกเว้น(ไม่ถือเป็นรายได้) และรายจ่ายหักได้เพิ่มขึ้น (หักได้ 2 เท่า) ในกลุ่มนี้ครับว่ามาจากไหนยังไงบ้าง
ดูภาพขนาดใหญ่ของภาพทั้งหมดได้ที่นี่
ก็จะสามารถนำรายจ่ายที่มีสิทธิ์หักได้เพิ่มขึ้นทั้งหลายนี้มาช่วยในการประหยัดภาษีเพิ่มเติมได้เช่นเดียวกันครับ
(ถ้าหากมีโอกาสจะเขียนเรื่องนี้ให้อ่านกันอย่างละเอียดในบทความต่อๆไปครับ)
เห็นไหมครับว่าการรู้จักแบบแสดงรายการทางภาษีนั้นมีประโยชน์ในแง่ของการตรวจสอบรายการต่าง ๆ เพิ่มเติมและเชื่อมโยงกับเรื่องกฎหมายที่เรารู้ได้มากมายเลยล่ะครับ
สำหรับตอนต่อไปนั้นจะเป็นตอนสุดท้ายของเรื่อง เข้าใจกำไรก่อนจะไปเสียภาษีแล้วล่ะครับ ผมจะพูดถึงการวางแผนภาษีโดยวิธีการทำให้กำไรน้อยที่สุด เพื่อให้เสียภาษีต่ำที่สุดแต่ครบถ้วนด้านความถูกต้องตามกฎหมายให้ฟังกันครับ ยังไงอย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับผม