ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คืออะไร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ



ต่อจากบทความที่แล้ว FlowAccount ได้กล่าวถึงชนิดของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปไปแล้ว (อ่านเนื้อหาใบกำกับภาษีเต็มรูปได้ที่ ใบกำกับภาษี ) คราวนี้เรามารู้จักประเภทของใบกำกับภาษีอีกประเภทหนึ่งที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”


ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อ ก็คือเอกสารสำคัญในอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับกิจการที่เป็น “กิจการค้าปลีก” ที่เป็นการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง หรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก




ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใครเป็นผู้มีสิทธิออก?

  • กิจการในระบบ VAT ที่มีลักษณะขายปลีก โดยเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงนั่นเองครับ หลักๆเลยคือเพื่อนำไปใช้เองโดยไม่ได้นำไปขายต่ออีกทอดนึง กิจการในลักษณะนี้เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าแผงลอย ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • กิจการในระบบ VAT ที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น


รู้ไหมว่าจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องยื่นขอ กรมสรรพากรก่อน


ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการในระบบ VAT ที่ต้องการจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ คุณต้องทำการยื่นคำขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ด้วย


และถ้าคุณมีการธุรกิจโดยมีรูปแบบสาขา อย่าลืม! ยื่นคำขอผ่านสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ โดยยื่นขออนุมัติเป็นรายสาขา


สำหรับรายละเอียดว่าเวลายื่นคำขอต้องยื่นข้อมูลอะไรให้สรรพากรพิจารณาบ้าง ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ออกใบเสร็จ ฟรี! ด้วย FlowAccount ช่วยขายหน้าร้าน ไม่ต้องเขียนบิลเงินสด ลดต้นทุนซื้อระบบ POS และจากเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เลยครับ



ทีนี้ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความต้องการขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เราก็มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้นะครับ เพราะสิ่งสำคัญประการนึงคือใบกำกับภาษีอย่างย่อในกรณีที่ลูกค้าที่ซื้อของจากเราอยู่ในระบบ VAT เหมือนกัน เขาจะไม่สามารถนำภาษีซื้อไปขอคืนหรือหักออกจากภาษีขายได้นะครับ (ทางบัญชีหรือภาษีจะเรียกว่าเป็น “ภาษีซื้อต้องห้าม”) ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้นนะครับ



รายการในใบกำกับภาษีอย่างย่อ


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ



ถ้าลองเปรียบเทียบกับใบกำกับภาษีเต็มรูปจะเห็นว่า กฎหมายไม่ได้เคร่งครัดมากเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

 

นอกจากนี้สรรพากรยังค่อนข้างยืดหยุ่นในการออกใบกำกับภาษีในกรณีที่น่าสนใจต่อไปนี้ด้วยครับ


  • ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี หากขายสินค้าหรือบริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท กรณีขายสินค้าหรือบริการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีเดือนใดถึง 300,000 บาท หรือขายสินค้าในลักษณะรถเข็น แผงลอย รวมถึงการให้บริการแสดง กีฬา การประกวดที่จัดขึ้นแล้วเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เข้าร่วม เป็นต้นครับ โดยให้รวบรวมมูลค่าของการขายหรือการให้บริการใน 1 วันเพื่อทำใบกำกับภาษีอย่างย่อ 1 ฉบับเพื่อลงรายงานภาษีขายได้เลย
  • สถานบริการน้ำมันที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ก็ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีครับ (แต่ถ้าลูกค้าร้องขอก็ยังมีหน้าที่ต้องออกให้นะครับ)
  • ถ้าขายของให้ลูกค้ารายหนึ่งซ้ำๆ กันจำนวนหลายครั้งใน 1 วันสามารถรวบรวมแล้วออกเป็นใบกำกับภาษีรวมเป็นครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการได้ครับ
  • การลงรายงานภาษีขายสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือบริการก็ได้


ลักษณะที่แตกต่างของใบกำกับภาษีอย่างย่อ
เมื่อเทียบกับใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
1. ไม่จำเป็นต้องแสดงชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 1. ต้องแสดงชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการอย่างชัดเจน
2. ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าสามารถแสดงเป็นรหัสได้ 2. ต้องแสดงชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน
3. มีข้อความแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าราคาสินค้าหรือบริการนั้นมีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว 3. ต้องแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
4. ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภพ.30 ได้ 4. สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภพ.30 ได้

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ/ใบเสร็จรับเงิน
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ/ใบเสร็จรับเงินจาก FlowAccount

เป็นอย่างไรบ้างครับ จะเห็นว่าการออกใบกำกับภาษีไม่ว่าจะอย่างย่อ หรือเต็มรูปแบบเราจำเป็นต้องเข้าใจกฎเกณฑ์และรายละเอียดพอสมควรเลย นอกจากนี้ โปรแกรม FlowAccount เองก็สามาถออกใบเสร็จอย่างย่อ โดยทดลองใช้งานฟรีได้ที่นี่



แต่หลักสำคัญมีอยู่ง่ายๆ คือ

  1. เราต้องมีสิทธิออก
  2. มีรายละเอียดของเอกสารครบถ้วนถูกต้อง
  3. ออกให้ถูกจุดเวลา

เพียงเท่านี้การออกใบกำกับภาษีไม่ว่ารูปแบบไหนก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากครับ อย่าลืมติดตามบทความของเราในครั้งต่อๆ ไป สำหรับเอกสารทางบัญชีที่น่าสนใจ รวมถึงขั้นตอนในการรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนว่าจะต้องทำอย่างไร และส่งข้อมูลอะไรบ้างให้สรรพากรเพื่อลดปัญหากับสรรพากรในภายหลังนะครับ 🙂


ติดตามเรื่องราวอื่นๆ ของ FlowAccount.com ได้ที่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม:   facebook.com/flowaccount
ค้นหาความรู้ที่น่าสนใจ   flowaccount.com/blog
เรียนรู้การทำบัญชีเบื้องต้น:   youtube.com/flowAccount
ทดลองใช้งานฟรี:   FlowAccount.com
ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like