อ่านสั้นๆ:
- ภ.ง.ด.1 ก คือใบสรุปการจ่ายเงินเดือน เงินได้ประเภทอื่นๆ และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของพนักงานรอบรายปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องทำส่งกรมสรรพากรภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
- ภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด.1 ก แตกต่างตรงที่ ภ.ง.ด.1 ไม่ต้องแจ้งพนักงานที่มีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษี และต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ขณะที่ภ.ง.ด. 1 ก ต้องแจ้งพนักงานทุกคน แต่ทำส่งกรมสรรพากรแค่ปีละหนึ่งครั้ง
FlowPayroll มีระบบบันทึกการจ่ายเงินเดือนและการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของพนักงานในแต่ละเดือน เพื่อทำ ภ.ง.ด.1 และเรียกดูยอดจ่ายเงินเดือนสะสม และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายสะสมทั้งปีของพนักงาน เพื่อทำภ.ง.ด. 1 ก
**หมายเหตุ บทความนี้จะอธิบายเฉพาะผู้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด. 1 ก ด้วยตนเองเท่านั้น
แบบภ.ง.ด.1 ก คือใบสรุปการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส สวัสดิการอื่นที่จ่ายให้กับพนักงาน (เช่น ค่าเช่า) ภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ และภาษีของพนักงานรอบรายปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องทำส่งเพื่อแจ้งให้กรมสรรพากรทราบ ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเสียค่าอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้าไม่แจ้งเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ต้องเสียค่าปรับนะจ๊ะ
เลือกอ่านได้เลย!
ให้เราอ่านให้ฟัง
ทำภ.ง.ด.1 ก เมื่อไหร่
ทุกคนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเมื่อมีการจ้างพนักงานโดยรับเป็นเงินเดือน จึงต้องมีหน้าที่ออกเงินเดือนและสลิปเงินเดือนให้แก่พนักงาน ซึ่งในสลิปเงินเดือนจะต้องบอกรายละเอียด รายได้แต่ละเดือนที่พนักงานได้ จำนวนเงินที่พนักงานโดนหักค่าภาษี หรือค่าประกันสังคมต่างๆ และยอดสะสมรายได้ตลอดปี
ความแตกต่างของภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด.1 ก
แม้ ภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด. 1 ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คน แต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่ และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่ แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียด และช่วงเวลาการนำส่ง กล่าวคือ
ภ.ง.ด. 1 ใช้สำหรับแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น และต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน
ภ.ง.ด. 1 ก ใช้สำหรับแจ้งพนักงานทุกคนไม่ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็ตาม และทำส่งกรมสรรพากรแค่ปีละหนึ่งครั้งก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
ใครต้องทำบ้าง
คนที่ทำ ภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด. 1 ก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่ใครที่มีการจ้างพนักงานโดยให้เงินเดือน ไม่ว่าจะเป็น ฟรีแลนซ์ที่มีการจ้างลูกน้องมาทำงานให้ เป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วน แล้วพนักงานที่ว่าจ้างมาได้รับเงินเดือนถึงฐานที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ต้องทำเอกสารทั้ง 2 ตัวนี้ ส่วนเจ้าของธุรกิจคนเดียวที่ทำงานลำพังก็ไม่ต้องทำ
ทำอย่างไร
มีเอกสาร ที่ต้องใช้ คือ ภ.ง.ด.1 (ใบปะหน้า) และใบแนบ ภ.ง.ด.1 (สำหรับลงรายละเอียดของพนักงาน) เอกสาร 2 ชนิดนี้ทำทุกเดือนรวม 12 ชุด ส่วนภ.ง.ด.1 ก และใบแนบภ.ง.ด.1 ก ซึ่งเป็นการสรุป ภ.ง.ด.1 อีกที ทำแค่ชุดเดียวตอนสิ้นปี
ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่
– เอกสารภ.ง.ด.1 ก
–
ใบแนบ
รายละเอียดที่ใส่ลงในใบแนบ
ภ.ง.ด.1 ให้ใส่ ข้อมูลพนักงาน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี จำนวนเงินเดือนที่จ่าย และจำนวนเงินภาษีที่หักและนำส่งแบบรายเดือน ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถดึงข้อมูลส่วนนี้จากในรายงานเงินเดือนและยอดสะสมใน FlowPayroll ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้
ส่วนภ.ง.ด. 1 ก ใส่จำนวนรวมแบบรายปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถดึงข้อมูลส่วนนี้จากในรายงานเงินเดือนและยอดสะสมใน FlowPayroll ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้เช่นกัน
ข้อสังเกต
- ตอนทำ ภ.ง.ด.1 จะเปลี่ยนรายละเอียดแค่เดือนที่ส่ง เพราะเงินเดือนของพนักงานจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ขอแค่ส่งทุกเดือน เน้นดูแค่พนักงานเข้าใหม่ ผ่านโปร และพนักงานที่ลาออกในเดือนนั้นๆ ที่จะมียอดเปลี่ยนเแปลง
- เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก จะให้พนักงานบัญชี สำนักงานบัญชี ทำเอกสารให้ หรือจะทำด้วยตัวเองก็ได้ เพราะว่าทั้งภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด. 1 ก เจ้าของธุรกิจต้องเป็นคนเซ็นเอกสารกำกับทุกครั้ง
ใช้โปรแกรมช่วยเตรียมข้อมูล ภ.ง.ด.1 และภ.ง.ด.1 ก
ใช้โปรแกรม FlowPayroll ในการบันทึกการจ่ายเงินเดือนของพนักงาน การเสียภาษี การหักประกันสังคม การจ่ายโบนัส เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับทำ ภ.ง.ด.1 เมื่อถึงสิ้นปีเจ้าของธุรกิจสามารถเรียกดูรายงานค่าใช้จ่ายของพนักงานแต่ละคน รวมถึงยอดรายได้สะสมทั้งปีของพนักงาน ซึ่งสามารถนำข้อมูลนี้มาเขียนลงในภ.ง.ด. 1 ก ได้
รูปแบบสลิปเงินเดือนของเดือนธันวาคม จะแสดงยอดสะสมเงินได้ และค่าใช้จ่ายของพนักงานแบบรายปี
FlowPayroll มีระบบบันทึกการจ่ายเงินเดือนและการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของพนักงานในแต่ละเดือน เพื่อทำ ภ.ง.ด.1 และเรียกดูยอดจ่ายเงินเดือนสะสม และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายสะสมทั้งปีของพนักงาน เพื่อทำภ.ง.ด. 1 ก ทดลองใช้ฟรีได้ง่ายๆ
Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer & Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์