ฟรีแลนซ์สามารถรับสิทธิประกันสังคมได้ตามการสมัครมาตรา40 โดยมีเงื่อนไขคือเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งสามารถจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้ 3 ทางเลือกคือ จ่าย 100 บาท 150 บาท และ 450 บาท ตามลำดับ |
ขึ้นทะเบียนและทำธุรกรรมประกันสังคมออนไลน์ทีละขั้นตอน
ประกันสังคม ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ และขั้นตอนการยื่นสิทธิอย่างง่าย!
อ่านสั้นๆ
- ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับจากประกันสังคม หนึ่งในนั้นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ เมื่อพนักงานกำลังตัดสินใจเลือกเข้าทำงาน
- หากธุรกิจเรามีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียน 2 ชุดคือ 1. ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยอัตโนมัติพร้อมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมธุรกิจการค้า 2. ขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคมในครั้งแรก
- เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน
- ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ส่งเงินสมทบประกันสังคมเกิน ขอคืนได้ไหม
มีลูกจ้างแล้ว นายจ้างอย่าลืมทำเอกสารกองทุนเงินทดแทน กท.25 ค ก่อนสิ้นเดือน มี.ค. นี้
Highlight:
- กองทุนเงินทดแทน เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้าง โดยจ่ายแบบเป็นรายปีเพียงฝ่ายเดียว
- ขั้นตอนคือ สำนักงานประกันสังคมจะประเมินค่าจ้างหรือค่าจ้างรายวันแบบคร่าวๆ ในช่วงเดือนธันวาคม พร้อมส่งแบบ กท.26 ก. และแบบ กท.20 ก มาให้
- นายจ้างชำระยอดตามที่ประกันสังคมประเมินมาลงในแบบ กท.26 ก. ก่อนสิ้นเดือน ม.ค.
- นายจ้างรายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงทั้งหมดของปีที่ผ่านมาลงแบบ กท.20 ก ก่อนสิ้นเดือน ก.พ.
- เมื่อนำส่งแบบแล้ว นายจ้างจะได้รับแบบแจ้งประเมินกองทุนทดแทน กท.25 ค กรณีต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มเติม ซึ่งต้องทำก่อนสิ้นเดือน มี.ค.
- นายจ้างหรือพนักงานที่รับผิดชอบเรื่องเงินเดือนของลูกจ้างสามารถดึงข้อมูลลูกจ้างจากเมนู Payroll ใน FlowAccount มาทำ กท.20 ก ได้
สิทธิประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่คนทำงานควรรู้และต้องได้รับ!
สิทธิประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน