ลาออกมาทำธุรกิจดีไหม เช็กลิสต์วัดใจและแนะนำแนวทาง สำหรับนักธุรกิจมือใหม่

ลาออกมาทำธุรกิจ

หลายคนที่เหนื่อยกับงานประจำ หรือกำลังมีความคิดที่อยากจะลาออกมาทำธุรกิจ หนทางอาจไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด ถ้าไม่ได้คิดวางแผนก่อนออกมาทำธุรกิจ ถ้าได้รู้สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำธุรกิจแล้ว จะทำให้ทำธุรกิจได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

บทความนี้จะมาแชร์ข้อคิด โดยแบ่งเป็น 2 พาร์ตหลักๆ

พาร์ทแรก: เรามาคุยกับตัวเอง เช็คให้ชัวร์ก่อนว่าเราควรลาออกจริงๆ ไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้างหรือเปล่า

พาร์ทสอง: สำหรับคนที่ตอบตัวเองได้แล้วว่าอยากลาออกมาทำธุรกิจ มีอะไรที่ควรทราบบ้างในฐานะนักธุรกิจมือใหม่

 

เลือกอ่านได้เลย!

ลาออกจากการเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน มาทำธุรกิจดีไหม

ลาออกจากการเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน มาทำธุรกิจดีไหม มีหลายข้อที่ควรคิดคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็น

 

1. ความอิสระในการตัดสินใจ แต่ขาดความแน่นอนทางการเงิน

ถ้าหากเราลาออกจากงานมาทำธุรกิจ เราจะได้เป็นนายตัวเองอย่างแท้จริง สามารถกำหนดทิศทางและเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างอิสระ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับใคร แต่รายได้และผลกำไรของธุรกิจมีความไม่แน่นอน อาจมีช่วงเวลาที่รายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ไม่เหมือนตอนทำงานประจำที่ได้รับรายได้เท่ากันในทุก ๆ เดือน

 

2. ความยืดหยุ่นที่แลกมากับความเสี่ยง

เราสามารถบริหารจัดการเวลาและตารางการทำงานได้ด้วยตัวเอง มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม แต่การทำธุรกิจมีความเสี่ยง ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของตลาด การแข่งขัน และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ธุรกิจล้มเหลวได้ แล้วเราพร้อมรับกับความเสี่ยงนั้นไหม

 

3. โอกาสในการสร้างรายได้ไม่จำกัด ที่แลกมากับภาระความรับผิดชอบที่มากขึ้น

รายได้ของเราจะขึ้นอยู่กับความสามารถและความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจ ซึ่งมีโอกาสที่จะสร้างรายได้ได้มากกว่างานประจำ แต่เราจะต้องรับผิดชอบทุกอย่างของธุรกิจ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน การตลาด ไปจนถึงการจัดการการเงิน ซึ่งอาจเป็นภาระที่หนักอึ้งยิ่งกว่างานประจำก็เป็นได้

 

4. ความท้าทายและความก้าวหน้าที่มาพร้อมกับความเครียด

การทำธุรกิจจะทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ และมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าตอนทำงานประจำที่ไม่ได้มีแรงผลักดันอะไรมาก อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจอาจต้องเผชิญกับความเครียดและความกดดันจากการแข่งขัน อีกทั้งยังมีปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และความไม่แน่นอนของรายได้ 

 

5. ความภูมิใจที่ได้ทำสิ่งที่คิดเองที่ไม่มีสวัสดิการบริษัทอีกต่อไป

การได้สร้างธุรกิจของตัวเองให้เติบโตและประสบความสำเร็จ จะสร้างความภาคภูมิใจและความรู้สึกเติมเต็มในชีวิตของเราเองได้เป็นอย่างดี แต่แลกมากับการขาดสวัสดิการบริษัท เพราะการลาออกจากงานประจำหมายถึงการสูญเสียสวัสดิการต่าง ๆ ที่เคยได้รับ เช่น ประกันสุขภาพ เงินบำนาญ ค่าทำทันตกรรม เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องหาทางจัดการด้วยตัวเองทั้งหมด

 

6. สิ่งที่ต้องคิดก่อนลาออกมาเริ่มธุรกิจของตนเอง

จงระลึกไว้เสมอว่า Passion ไม่นำมาซึ่งความสำเร็จเสมอไป ต้องมี Business model ว่าหาเงินได้อย่างไร

คิดแผนแล้วต้องตรวจสอบว่าทำได้จริงหรือไม่ หลายบริษัทเริ่มยอมรับให้พนักงานมีอาชีพที่ 2 ทำหลังเลิกงานได้

 

เบื้องต้นอาจไม่จำเป็นต้องลาออกจากงานประจำทันทีก็ได้ อาจค่อยๆ เริ่มทำธุรกิจเป็นงานพาร์ตไทม์ (Part-time) หรือเป็นงานอดิเรกไปก่อนก็ได้ เป็นโอกาสที่ดีในการทดลองทำธุรกิจขนาดเล็กในระหว่างทำงานประจำไปด้วย แล้วลองดูว่าถ้าทำเป็นงานเสริมจะเป็นอย่างไรบ้าง บางคนเป็นพนักงานบริษัทที่ลองมาทำ Chef Table ตอนเย็นก็มี แล้วให้เรื่องของการลาออกมาทำธุรกิจเต็มตัวเป็นเสต็ปต่อไป

 

 

ถ้ามั่นใจแล้ว จะลาออกแล้วมาเริ่มทำธุรกิจยังไงดี

 

สามารถทำธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้นถ้ามั่นใจแล้ว จะลาออกแล้วมาเริ่มทำธุรกิจยังไงดี

 

เรื่องนี้มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ บางคนอยากทำธุรกิจแต่ยังไม่มีไอเดีย ต้องการตามหาและทดลองไอเดียใหม่ ๆ บางคนมีงานอดิเรกหรือบางสิ่งที่ชอบแล้วอยากลองเอามาทำให้เป็นธุรกิจ 

 

หากยังไม่มี คำแนะนำแรกที่เป็นไปได้ก่อนจะลาออกก็คือ การเริ่มต้นทดลองทำไอเดียธุรกิจนั้น ๆ โดยเริ่มจากเล็ก ๆ ก่อน เริ่มจากอะไรที่อาจจะเป็นงานอดิเรกอยู่แล้วแล้วเอามาต่อยอด หรืออะไรที่คุณสามารถแบ่งเวลามาทำคู่กับงานประจำได้

 

สำหรับบทความ “ลาออกมาทำธุรกิจดีไหม” นี้ เราขอตั้งสมมติฐานว่า คุณที่มีแรงปรารถนาที่อยากทำธุรกิจอยู่ น่าจะกำลังมีงานอดิเรกที่ทำรายได้อยู่แล้ว หรือกำลังมีไอเดียในใจอยู่แล้ว ดังนั้นเราขอข้ามขั้นตอนเรื่องหาไอเดียไปเลย มาเป็นแนวคิดเรื่องการสร้างธุรกิจ

 

วิธีเปลี่ยนงานอดิเรกเป็นธุรกิจ

 

1. หัวใจลูกค้า

  • ทำราคาจับต้องได้ เน้นกระแสเงินสด ช่วงแรกอาจต้องยอมกัดก้อนเกลือกิน สู้กันด้วยคุณภาพ
  • ถ้าลูกค้ามาซื้อซ้ำ แสดงว่าสินค้าเริ่มตอบโจทย์ แล้วเกิดการบอกต่อ ฐานลูกค้าจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติ

 

2. ขึ้นราคา

  • ถ้า Capacity (ความสามารถที่จะรับ) เต็ม ต้องเริ่มขึ้นราคา มิเช่นนั้นลูกค้าจะต่อคิวยาวจนเกินไปแล้วเกิดความไม่พอใจ ราคาแพงขึ้น ถ้าแถวสั้นลง ลูกค้าพอใจกับการบริการมากขึ้น โดยการขึ้นราคาให้ลูกค้าไม่เสียความรู้สึก แล้วไม่ต้องรอนาน
  • การเก็บ Data (ข้อมูล) จะทำให้รู้ว่าควรขึ้นราคาเท่าไร เช่น Waiting time (การรอคิว) Leaving queue (จำนวนคนที่ทิ้งคิว) จำนวนที่ร้านอาหารให้บริหารได้

 

3. ขยายที

  • เริ่มจ้างคนเพื่อขยาย Capacity ต่อไปเพื่อเพิ่มกำไร 
  • การขยายสาขานั้นต้องอย่าลืมคงไว้ซึ่งการรักษาคุณภาพของสินค้า

 

ขยายทีมยังไงให้คุณภาพไม่ตก

 

1. Outsource งานที่คนอื่นทำแทนเราได้ทั้งหมด 

เช่น การ Research หาข้อมูล การทำ Presentation การทำบัญชี เป็นต้น ถ้าค่าแรงการจ้างคนอื่นถูกกว่าค่าแรงของเรา ก็ควรจ้างคนเพิ่ม

 

แต่ถ้าหากยังไม่สามารถจ้างนักบัญชีได้ ใช้โปรแกรมเงินเดือน และโปรแกรมข้อมูลพนักงานที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นจาก FlowAccount ได้ จะทำให้เก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ FlowAccount ยังมีบริการช่วยจดทะเบียนบริษัท โปรแกรมบัญชี โปรแกรม Payroll และระบบขายหน้าร้านอีกด้วย

 

2. สร้างตัวตายตัวแทน 

สร้างคนที่สามารถทำแทนเราได้ทุกอย่าง โดยต้องทำงานกับเขาอย่างใกล้ชิดในช่วงแรกแล้วให้เขาทำแทนได้ 60-70% ของสิ่งที่เราทำ 

 

3. สร้างระบบให้คนทำงานรูปแบบเดียวกัน 

การสร้างระบบนั้นทำเพื่อให้คนทำงานในรูปแบบเดียวกัน ถ้าหากขยายธุรกิจช้าแล้วคุณภาพยังดี จะดีกว่าขยายธุรกิจเร็วแต่คุณภาพแย่ลง

 

ขยายธุรกิจถึงขนาดไหน

ธุรกิจเติบโตได้ดีและยั่งยืน ถ้าสร้างประโยชน์ให้โลกใบนี้ ส่วนจะขยายธุรกิจไปถึงขนาดไหน คงแล้วแต่ความฝันของแต่ละคน บางคนอยากทำธุรกิจขนาดเล็ก บางคนอยากทำธุรกิจขนาดใหญ่ 

วิสัยทัศน์ที่ต่างกัน จะนำมาซึ่งกลยุทธิ์ธุรกิจและการลงมือทำที่แตกต่างกัน

 

สำรวจความพร้อมของตนเอง

ก่อนทำธุรกิจควรสำรวจความพร้อมของตนเองในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

 

1. ความรู้และทักษะในการทำธุรกิจ

เราควรประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำ ที่สำคัญควรรีเช็คว่ามีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจนั้นมากน้อยแค่ไหน มีทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการ การตลาด การเงิน และบัญชีหรือไม่ หากขาดทักษะด้านใด ควรหาความรู้เพิ่มเติม หรือหาผู้ร่วมงานที่มีทักษะด้านนั้น

 

2. ความพร้อมทางการเงิน

เราควรประเมินค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายของธุรกิจในช่วงเริ่มต้น ธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เวลาในการสร้างรายได้ เงินทุนสำหรับธุรกิจในช่วงเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ควรมีเงินสำรองเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัวอย่างน้อย 12 เดือน หรือมากกว่า เพื่อจะได้สบายใจในการใช้ชีวิต แล้วเพิ่มพลังไปกับการเริ่มต้นธุรกิจได้ 

 

3. ความพร้อมทางด้านจิตใจ

การทำธุรกิจด้วยตัวเองนั้น มีความท้าทายและความไม่แน่นอนสูง ไม่เหมือนกับพนักงานประจำที่มีเงินเดือนแน่นอนชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง อดทน และพร้อมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงพร้อมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

 

วางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ

 

1. แนวคิดธุรกิจ

กำหนดแนวคิดธุรกิจที่ชัดเจน เปรียบเหมือนหลักยึดสำคัญที่ทำให้ทิศทางของธุรกิจเป็นไปในตามทางที่ต้องการ เป็นเหมือนแก่นของการทำธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งได้

 

2. กลุ่มเป้าหมาย

ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อให้สามารถวางแผนการตลาดและพัฒนาสินค้า/บริการได้ตรงกับความต้องการ นอกจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้ว การรู้ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน

 

3. แผนการตลาด

การวางแผนการตลาดที่ครอบคลุมนั้นสำคัญมาก ทั้งการสร้างแบรนด์ การโปรโมต การขาย และการรักษาลูกค้า การอัปเดตเทรนด์การตลาดก็สำคัญมากเช่นกัน คอยสืบว่ากระแสอะไรกำลังมา ผู้คนกำลังอินกับเรื่องอะไร แล้วจุดเด่นในธุรกิจของเรานั้นแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้ควรรู้ก่อนจะวางแผนการตลาด

 

4. แผนการเงิน

การวางแผนการเงินอย่างละเอียด ทั้งประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย และแหล่งเงินทุน รวมไปถึงการเตรียมเก็บเงินสำรอง กรณีที่ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ถ้าหากได้วางแผนการเงินอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มตัดสินใจทำธุรกิจแล้ว จะทำให้ตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจได้อย่างสบายใจขึ้น

 

5. แผนการดำเนินงาน

ควรเช็คว่าเมื่อลาออกมาทำธุรกิจแล้ว จะสามารถวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่การผลิต การจัดส่ง การบริการลูกค้า ไปจนถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรได้หรือไม่ เพราะการวางแผนดำเนินงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีและทำต่อเนื่องตลอดการทำธุรกิจ

 

วางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ

 

ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจ ควรศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ เช่น การจดทะเบียนธุรกิจ ภาษี และกฎหมายแรงงาน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก

 

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง

1. ความไม่แน่นอน 

การทำธุรกิจมีความไม่แน่นอนสูง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากรับความแน่นอนไม่ได้ อาจจะไม่เหมาะกับการลาออกมาทำธุรกิจก็เป็นได้

 

2. ความล้มเหลว

ความล้มเหลวเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจได้ทุกเมื่อ ควรเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด และพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ

 

3. ความสำเร็จ 

ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลา ความพยายาม และความมุ่งมั่น การทำธุรกิจต้องมีความอดทนและไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะประสบความสำเร็จแล้วก็ไม่ควรประมาทและหลงระเริง จะต้องมองหาเป้าหมายและคอยปรับปรุงธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ

 

หาที่ปรึกษาและขอความช่วยเหลือ

 

1. ผู้มีประสบการณ์ 

ต้องลองคิดดูดี ๆ ว่าก่อนออกมาทำธุรกิจนั้น ได้ขอคำปรึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดของพวกเขาหรือยัง

 

2. ที่ปรึกษาธุรกิจ 

หาที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อขอคำแนะนำในการวางแผนธุรกิจ การตลาด การเงิน และการดำเนินงาน เป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ก่อนลาออกจากธุรกิจ

 

3. หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เป็นต้น

 

สรุป

 

คำถามที่ว่าควรลาออกมาทำธุรกิจไหม เป็นคำถามที่ไม่มีใครตอบได้ดีไปมากกว่าตนเอง โดยมีเกณฑ์ให้คิดและตัดสินใจหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจความพร้อมของตนเอง การวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง การหาที่ปรึกษาและการขอความช่วยเหลือ 

 

โดยเราไม่จำเป็นจะต้องลาออกจากงานมาทำธุรกิจเต็มตัวทันที สามารถทดลองทำธุรกิจเป็นงานพาร์ตไทม์หรืองานอดิเรกไปก่อนได้ จะได้ลองดูว่าไปได้ดีจนอยากออกมาทำเต็มตัวหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจคือการมี Business Model หรือวิธีการหาเงินซึ่งจะต้องรู้ตั้งแต่ต้น

ทั้งนี้การวางระบบให้ดีตั้งแต่แรก จะทำให้การลาออกมาทำธุรกิจเป็นไปได้ด้วยดี แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจจะเริ่มทำธุรกิจระหว่างทำงานประจำไปก่อนก็ได้

 

FlowAccount เราตั้งใจที่จะเป็นเพื่อนคู่คิดที่เป็นเพื่อนร่วมการกับว่าที่ผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจอย่างคุณค่ะ นอกจากเราจะเป็นทีมผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชีที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดแล้ว เรายังมีคอร์สอบรมบัญชีสำหรับผู้ประกอบการให้มีความรู้ด้านบัญชี-ภาษี อีกทั้งเรายังให้คำปรึกษาและมีบริการจดทะเบียนบริษัท เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นได้อย่างมั่นใจอีกด้วยค่ะ

 

ข้อมูลอ้างอิง

krungsri.com

krungsri.com

fillgoods.co

The Secret Sauce: STRATEGY CLINIC

About Author

รับวันใช้งานฟรี 30 วัน
เมื่อสมัครทดลองใช้ FlowAccount วันนี้
สมัครเลย