จากบุคคลธรรมดามาเป็นบริษัทจำกัด ดีต่อผู้ประกอบการอย่างไร

การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคล

การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคลจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านการทำบัญชีและภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในบทความนี้ทุกท่านจะเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจที่ดำเนินในรูปแบบนิติบุคคลนั่นจะเหมาะกับความพร้อมของท่านแล้วหรือยังค่ะ

เจ้าของกิจการที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง และอยากเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นบุคคลธรรมดา ใช้ชื่อตัวเองในการทำธุรกิจไปเป็นในนามนิติบุคคล อย่างบริษัทจำกัด เป็นต้น นี่เป็นคำถามที่ผู้ประกอบการมักตั้งไว้ในใจเสมอเมื่อทำธุรกิจมาได้ระยะหนึ่ง

 

แล้วการเปลี่ยนมาทำในนามนิติบุคคล หรือ จัดตั้งบริษัท ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร มีข้อมูลใดที่ผู้ประกอบการต้องรู้บ้าง วันนี้ FlowAccount จะมาเล่าให้ฟังค่ะ

 

เลือกอ่านได้เลย!

ธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา Vs จดทะเบียนบริษัท ต่างกันอย่างไร

 

การทำธุรกิจจริงๆแล้วนั้น สามารถทำได้ทั้ง 2 รูปแบบเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ซึ่งทางเลือกนี้สามารถเลือกได้อย่างอิสระ ไม่มีทางเลือกแบบไหนถูกหรือผิด

 

หลายคนมักมองว่าการจดทะเบียนบริษัทจะประหยัดภาษีมากกว่า เพราะหากมองจากอัตราภาษีคร่าวๆ ภาษีบุคคลธรรมดาจะมีเพดานสูงสุดอยู่ที่ 35% ที่คิดด้วยอัตราก้าวหน้า ในขณะที่การประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมีอัตราภาษีเพียงแค่ 15-20% เท่านั้น

 

แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เรามาลองดูอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเทียบกับนิติบุคคลในบทความลิงก์นี้กันต่อได้นะคะ

 

ส่วนในบทความนี้ ขอมาขยายความคำว่า ทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา และ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร

 

ทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา

 

การจดทะเบียนพาณิชย์

 

การทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ก็คือ การใช้ชื่อเจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ทั้งการรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย การชำระภาษีเงินได้ประจำปี หรือการทำสัญญาต่างๆ 

 

การทำธุรกิจเช่นนี้ก็ควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้คนทั่วไปทราบถึงการดำเนินธุรกิจของเรานั้นถูกต้องและเปิดเผยตามกฎหมาย และมีสถานที่ประกอบการชัดเจน นั้นเอง

 

โดยทั่วไปการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาก็จะเสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาเลยค่ะ ข้อดีส่วนหนึ่งคือ การที่สามารถตัดสินใจทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว ประมาณว่าถ้าเราเห็นว่าดีก็ทำเช่นนั้นได้เลยไม่ต้องไปถามหรือขอความเห็นชอบกับใครก่อน ตัดสินใจได้เลย 

 

ทีนี้จึงต่างจากนิติบุคคลตรงที่ นิติบุคคลไม่สามารถมีเพียงคนเดียวได้ตามกฎหมาย จะต้องมีการลงมติตามจำนวนการถือหุ้นด้วย ดังนั้นการตัดสินใจแบบนิติบุคคลอาจจะเป็นไปได้ว่าช้ากว่าแบบบุคคลธรรมดา

 

ทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล

 

ทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล

 

การดำเนินธุรกิจแบบจดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มากกว่าเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว และต้องเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าบริษัทและตัวเจ้าของเป็นคนละคนกันอย่างสิ้นเชิง หากดำเนินการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย ทำธุรกรรมสัญญา รวมถึงการชำระภาษีก็จะเป็นไปในนามของกิจการทั้งหมด

 

เมื่อเปลี่ยนการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ต้องทำอย่างไรต่อ

 

  • ควรยกเลิกทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ก่อนหรือหลัง จดทะเบียนนิติบุคคล

เมื่อทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล ทั้งรูปแบบบริษัทและห้างหุ้นส่วน จะต้องดำเนินการยกเลิกทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ 

 

ส่วนจะยกเลิกก่อนหรือหลังจดทะเบียนนิติบุคคลนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าของกิจการได้เลยค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมยกเลิกหลังจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้วมากกว่าค่ะ

 

  • เจ้าของกิจการต้องโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวกับธุรกิจ เป็นชื่อนิติบุคคลเลยดีไหม

การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ดำเนินธุรกิจ จะโอนเข้าเป็นในนามนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะกิจการ 

 

สิ่งที่ต้องทราบก็คือ ผู้โอนหรือผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ให้กับบริษัทมีหน้าที่ต้องนำรายได้จากการขายมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคำนวณจากราคาประเมินหรือราคาซื้อขายแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ภาระภาษีจะขึ้นอยู่กับวิธีการได้มาซึ่งทรัพย์สินและระยะเวลาในการถือครอง

 

ดังนั้นจึงควรวางแผนปรึกษาข้อดี ข้อเสีย ทั้งเรื่องบัญชีและภาษีกับนักบัญชีกันด้วยนะคะ

 

  • พนักงานที่ทำงานเมื่อเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลจะต้องเข้าประกันสังคมหรือไม่

ไม่ว่าคุณจะดำเนินธุรกิจในรูปแแบบของนิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา หากกิจการมีลูกจ้างหรือพนักงาน ก็ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้างและลูกจ้าง ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดที่กิจการตั้งอยู่ ส่วนนายจ้างเองก็จะต้องสมทบกองทุนประกันสังคมด้วยเช่นกัน การนำเงินส่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ

 

ส่วนของลูกจ้าง ต้องหักนำส่งอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือน แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

 

ส่วนของนายจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเท่ากับจำนวนเงินสมทบของลูกจ้าง (อ้างอิงจากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และเว็บไซด์ประกันสังคม www.sso.go.th)

 

ข้อดีและภาระที่เพิ่มขึ้นหลังจดนิติบุคคล

 

ข้อดีและภาระที่เพิ่มขึ้นหลังจดนิติบุคคล

 

  • จำกัดความรับผิด

การเป็นนิติบุคคล ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจะถูกจำกัดความเสียหายของเงินลงทุนไว้ได้แค่ส่วนที่ลงทุนไปในบริษัทเท่านั้น หากสมมติว่าบริษัทเป็นหนี้สินจนต้องล้มละลาย คนที่เป็นหุ้นส่วนจะเสียเงินไปเพียงที่ลงทุนไป (แค่ชำระค่าหุ้นให้ครบเท่านั้นค่ะ) แต่หากธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาล้มละลาย เจ้าของธุรกิจจะต้องล้มละลายไปด้วย ดังนั้นการเป็นนิติบุคคลจึงเป็นการจำกัดความเสี่ยงในการลงทุนของทางเจ้าของธุรกิจนั่นเอง

 

  • ความน่าเชื่อถือ            

โครงสร้างของนิติบุคคลทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือกว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา เพราะคู่ค้าเองจะมั่นใจได้ว่าสามารถออกใบเสร็จถูกต้องตามระเบียบภาษีได้ และเมื่อบริษัทมีการทำบัญชีและมีเอกสารหลักฐานที่พร้อมนี้ ก็สามารถนำไปใช้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องกับสถาบันการเงินต่างๆได้ ซึ่งเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อธุรกิจที่อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสินเชื่อบุคคลธรรมดาได้ด้วย

 

ความเป็นระบบของนิติบุคคลก็มีต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไปค่ะ อย่างเช่นการทำบัญชี ที่หากเจ้าของกิจการไม่เข้าใจการทำบัญชี ก็จะต้องจ้างผู้ทำบัญชีมาช่วย แถมยังต้องจ้างผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมาตรวจสอบงบการเงินประจำปีอีกครั้งหนึ่ง

 

  • ฐานภาษีคิดจากกำไรสุทธิ

นิติบุคคลจะเสียภาษีแค่จากผลกำไร เท่านั้น และสามารถนำรายจ่ายทางธุรกิจมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจริง ซึ่งต่างจากธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาที่คำนวณภาษีจากฐานรายได้สุทธิ นิติบุคคลเองจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน และจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆให้ครบถ้วนเสมอ 

 

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ หากนิติบุคคลประกอบธุรกิจแล้วขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วย ถ้าสามารถพิสูจน์ทางบัญชีได้ว่าขาดทุนจริง และสามารถเอาเงินที่ขาดทุนไปหักเป็นรายจ่ายภาษีในปีภาษีต่อๆ ไปได้ด้วยสูงสุดไม่เกิน 5 ปี แต่ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ค่ะ

 

การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคลจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านการทำบัญชีและภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

 

จดทะเบียนบริษัท

 

เมื่อทุกท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจที่ดำเนินในรูปแบบนิติบุคคลนั่นจะเหมาะกับกิจการที่มีความพร้อมที่จะขยายตัวทั้งในแง่การทำบัญชีและการทำธุรกิจ และมีกำไรที่โตเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์ทางภาษีของนิติบุคคลได้นั่นเองค่ะ

 

ทาง FlowAccount มีบริการจดทะเบียนนิติบุคคลทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ที่อยากจะเปลี่ยนธุรกิจแบบบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคล พร้อมสิทธิพิเศษอีกมากมาย! 

 

ติดต่อ FlowAccount ช่วยจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ได้เลยทันที 

 

FlowAccount รับจดจัดตั้งนิติบุคคล พร้อมมอบโปรแกรมบัญชีออนไลน์ และสิทธิประโยชน์ อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ให้บริหารธุรกิจด้วยตัวเองได้อย่างมั่นใจตั้งแต่ก้าวแรกด้วย 9 บริการจากเรา ในการช่วยเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ตามระเบียบขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อ่านรายละเอียดและติดต่อทีมงานได้เลย ที่นี่

 

เริ่มต้นใช้งานกับ FlowAccount ได้ง่าย ๆ ทดลองใช้ฟรี 30 วัน หรือสมัครแพ็กเกจกับเรา ราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 165 บาทไม่จำกัดจำนวนเอกสาร แถมยังใช้งานผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือได้ด้วย ผู้ประกอบการยุคใหม่ปรับมาใช้บัญชีออนไลน์กันเยอะๆนะคะ

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like