ค่าใช้จ่ายที่ SMEs ต้องควบคุม
• การขายและการตลาด ธุรกิจขายของออนไลน์ ซึ่งต้องพึ่งการโฆษณาทางออนไลน์เยอะ ให้ลองคิดว่าต้องทำในความถี่เท่าไหร่ ช่องทางใดจึงจะคุ้มที่สุด เลือกใช้ข้อความที่จะสื่อสารไปหาลูกค้าต้องมี Call-to-Action ที่ชัดเจน ขายอะไร แตกต่างจากคนอื่นยังไง หากอยากซื้อต้องทำอย่างไร และตั้งราคาที่จับต้องได้
• ดอกเบี้ย สามารถขอประนอมหนี้กับธนาคารได้ เพราะธนาคารก็ไม่ได้อยากให้ธุรกิจของเราล้มเช่นเดียวกัน เมื่อพบว่าธุรกิจกำลังมีปัญหา ก็ควรรีบติดต่อกับธนาคารตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจัดเตรียมเอกสารให้ทันภายในเวลาที่กำหนด
• เงินเดือน เจ้าของกิจการควรประมาณการกระแสเงินสดว่ามีเพียงพออยู่เหลือถึงกี่เดือน เช่น หากยอดขายตกลง 50% มีเพียงพอสำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือไม่ เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนของพนักงาน ต้องมีการสื่อสารที่ดี ตรงไปตรงมา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิของพนักงานให้ยังคงมีสวัสดิการเทียบเท่าเดิม เพื่อมิให้ขัดต่อกฎหมายแรงงานด้วย
• ค่าใช้จ่ายของออฟฟิศ หมั่นตรวจสอบรายจ่ายของแต่ละแผนกให้ถี่ขึ้น เจ้าของกิจการควรหมั่นอ่านงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวิเคราะห์ว่ารายได้-รายจ่ายของกิจการมาจากช่องทางไหนบ้าง และติดตามว่ากระแสเงินสดของกิจการเป็นอย่างไร หากกระแสเงินสดติดลบจะทำยังไงให้เป็นบวก ดังนั้นการมอนิเตอร์ตัวเลขจะต้องทำถี่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะหาเครื่องมือมาช่วยบริหารค่าใช้จ่ายก็ได้
|
ในช่วงเศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา แถมยังมาเจอกับ COVID-19 เข้าไปอีก นักท่องเที่ยวหดหาย ผู้คนเก็บตัวในบ้าน แน่นอนว่าต้องมีหลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบ หลายๆ ท่านก็คงจะกลุ้มใจไม่ใช่น้อย เพราะคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์แบบนี้จะอยู่กันไปอีกยาวแค่ไหน ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่เจ้าของกิจการต้องทำเป็นอันดับแรกคือ การรักษาสภาพคล่องไว้ให้ได้มากที่สุด เก็บเงินสดไว้กับตัวให้มากที่สุด และคุมค่าใช้จ่ายให้ดีที่สุด
ลองดูวิธีการคุมค่าใช้จ่ายที่ทำได้ และข้อแนะนำของแต่ละธุรกิจกันค่ะ
เลือกอ่านได้เลย!
ค่าใช้จ่ายที่ SMEs ต้องควบคุม
การคุมค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับลักษณะทางธุรกิจด้วยว่าคุณทำธุรกิจประเภทไหน แต่จะขอแนะนำค่าใช้จ่ายที่สามารถวางแผนและจัดการได้เลย
การขายและการตลาด
พิจารณาการซื้อโฆษณา การโปรโมตสินค้าเฉพาะเรื่องที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น สิ่งที่เคยวางแผนไว้ว่าอยากจะทดลองทำกิจกรรมต่างๆ ขอให้งดไว้ก่อน ส่วนธุรกิจขายของออนไลน์ ซึ่งต้องพึ่งการโฆษณาทางออนไลน์เยอะ ให้ลองคิดว่าต้องทำในความถี่เท่าไหร่ ช่องทางใดจึงจะคุ้มที่สุด การเลือกใช้ข้อความที่จะสื่อสารไปสู่ลูกค้าต้องมี Call-to-Action ที่ชัดเจน ขายอะไร แตกต่างจากคนอื่นยังไง หากอยากซื้อต้องทำอย่างไร และตั้งราคาที่จับต้องได้ มีความคุ้มค่า ใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว
ดอกเบี้ย
สิ่งแรกที่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่มักจะกังวลในช่วงนี้ นั่นก็คือ ดอกเบี้ย แต่สิ่งที่หลายๆ ท่านนึกไม่ถึง คือเราสามารถขอประนอมหนี้กับธนาคารได้ เพราะธนาคารก็ไม่ได้อยากให้ธุรกิจของเราล้มเช่นเดียวกัน ธนาคารยังเก็บหนี้จากเราได้บ้าง ย่อมดีกว่าไม่ได้เลย
สำหรับในช่วงที่มีวิกฤติจากการระบาดของ COVID-19 ก็มีหลายธนาคารที่ออกมาเคลื่อนไหว ประกาศมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้แล้ว โดยการประนอมหนี้นั้นสามารถทำได้ในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น การปรับลดดอกเบี้ยให้ ขยายช่วงระยะเวลาการชำระเงิน ไปจนถึงการปรับยอดค่างวดที่ต้องผ่อนชำระ เป็นต้น
เมื่อเจ้าของกิจการพบว่าธุรกิจของตนกำลังมีปัญหา จึงควรรีบติดต่อกับธนาคารตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถจัดเตรียมเอกสารที่ต้องการให้ทันภายในเวลาที่กำหนด และติดตามมาตรการเพื่อธุรกิจ SMEs จากธนาคารอย่างใกล้ชิด
เงินเดือน
เจ้าของกิจการควรประมาณการกระแสเงินสดว่ามีเพียงพออยู่เหลือถึงกี่เดือน เช่น หากยอดขายตกลง 50% มีเพียงพอสำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือไม่ อาจต้องใช้มาตรการลดเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูงไปก่อน แล้วค่อยพิจารณาถึงเรื่องการลดเงินเดือนพนักงาน และการเลิกจ้างพนักงาน
เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น การยื่นข้อเสนอพนักงานในการลาแบบไม่เอาเงินเดือน (Leave without Pay) การลดจำนวนวันทำงานลง เช่น ทำงานอาทิตย์ละ 4 วัน โดยมีการหักเงินเดือนเป็นสัดส่วนตามความสมัครใจ หรือตัดสินใช้ลดพนักงานแล้ว ต้องมีการสื่อสารที่ดี สื่อสารให้บ่อย ข้อความที่จะสื่อสารต้องชัด ตรงไปตรงมา ไม่ต้องทำเรื่องให้ดูเบา และขอความร่วมมือช่วยกันประหยัด ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิของพนักงานให้ยังคงมีสวัสดิการเทียบเท่าเดิม เพื่อมิให้ขัดต่อกฎหมายแรงงานด้วย
อีกสิ่งที่ต้องระวังคือ การกำหนดช่วงเวลาทำงานที่ชัดเจน และกำหนดโควต้าของจำนวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการในแต่ละแผนก เพื่อให้ยังมีจำนวนพนักงานเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ค่าใช้จ่ายของออฟฟิศ
ชะลอการซื้ออุปกรณ์สำนักงานชั่วคราว และปิดพื้นที่บางส่วนที่อนุญาตให้พนักงาน Work from Home แล้ว ในกรณีที่บริษัทเช่าอาคารสำนักงานลองขอเจรจาค่าเช่าสำนักงานกับผู้ให้เช่าอาคาร หมั่นตรวจสอบรายจ่ายของแต่ละแผนกให้ถี่ขึ้น อาจจะใช้เครื่องมือช่วยบริหารค่าใช้จ่ายก็ได้
ทั้งนี้เจ้าของกิจการควรหมั่นอ่านงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวิเคราะห์ว่ารายได้-รายจ่ายของกิจการมาจากช่องทางไหนบ้าง และติดตามว่ากระแสเงินสดของกิจการเป็นอย่างไร หากกระแสเงินสดติดลบจะทำยังไงให้เป็นบวก ดังนั้นการมอนิเตอร์ตัวเลขจะต้องทำถี่มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น ยอดขาย ยอดค่าใช้จ่าย ยอดลูกค้าที่สมัครสมาชิก หรือทดลองใช้บริการ ที่เมื่อก่อนอาจจะดูทุกเดือน ก็เปลี่ยนเป็นดูทุกสัปดาห์ ส่วนยอดที่ดูทุกสัปดาห์ก็ให้ปรับมาดูทุกวัน ลองใช้แดชบอร์ดของ FlowAccount ในการดูรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ ซึ่งจะแสดงกราฟเปรียบเทียบรายและค่าใช้จ่ายให้เลย
อ่านบทความวิธีใช้แดชบอร์ดที่บทความ บริหารเงินธุรกิจ ด้วยแดชบอร์ด FlowAccount ใหม่! ที่ช่วยให้รู้การเงินได้มากขึ้นกว่าเดิม
มองหาโอกาสในวิกฤติ
เจ้าของกิจการควรปรับแผนการทำธุรกิจ โดยมองหาช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำงานบ้านเป็นหลัก
- ผลิตสินค้าและบริการที่คนทุกวันนี้ต้องการ เช่น สินค้าสุขภาพ ยารักษาโรค เฟอร์นิเจอร์ บริการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบ Remote Working การบริการตามบ้าน การทำแพ็กเก็จ หรือขนส่ง บริการเครื่องมือที่ช่วยจัดการการเงิน สอนหนังสือออนไลน์
- หาช่องทางในการวางจำหน่ายสินค้าใหม่ ทดแทนการวางจำหน่ายห้างสรรพสินค้า การจัดอีเวนต์ หรือสถานที่ชุมชน รวมถึงประมาณการยอดขายใหม่ เพราะช่วงนี้ยอดจะขายตก
- ปั้นแบรนด์ใหม่ ใช้จังหวะนี้ในการกลับมาพัฒนาคนในองค์กร และการสื่อสารของแบรนด์ให้แข็งแรงจนคนจดจำได้ อาจทำให้พบตลาดและลูกค้ากลุ่มใหม่มากขึ้น
- ศึกษาข้อมูลลูกค้ามากขึ้น ว่าทุกวันนี้ลูกค้าของเราพูดว่าอะไร ติดปัญหาอะไร และลองวางแผนว่าบริษัทของเราช่วยแก้ไขปัญหาอะไรให้ได้บ้าง เพื่อรักษาลูกค้าเดิมของเราให้คงอยู่
- ช่วยเหลือสังคม ทุกวิถีทางเท่าที่ทำได้ ส่งต่อน้ำใจให้แก่กันในยามวิกฤติ เพราะในยามนี้จะทำให้ทุกคนเห็นว่าแต่ละแบรนด์เป็นอย่างไร
ทั้งนี้อย่าลืมว่าสุขภาพ และกำลังใจ คือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทุกคนฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ รักษาสุขภาพกายใจทั้งครอบครัว พนักงาน และตัวเราเอง ทำตัวให้เเอ็กทีฟ มีวินัยแบ่งเวลาในการทำงานและพักผ่อน เพื่อให้เราพร้อมสู้ในวันต่อไป #แล้วเราจะฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน 🙂