สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน และประโยชน์ที่พนักงานควรทราบ

หลายคนมีประสบการณ์ไม่ดีจากช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องออกจากงาน หรือตกงานเพราะบริษัทปิดตัวลง ซึ่งเป็นฝันร้ายสำหรับพนักงานเงินเดือนทั้งหลาย แต่รู้หรือไม่ ถึงแม้ว่าเราตกงานประจำ อย่างน้อยเรายังมีหลักประกันขั้นพื้นฐาน สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ในฐานะผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในช่วงเวลาหนึ่งค่ะ แล้วประกันสังคมจะช่วยเราอย่างไรเมื่อถึงคราวตกงาน ลองมาอ่านบทความนี้ไปพร้อมกันค่ะ

เลือกอ่านได้เลย!

1. ประกันสังคมช่วยคนตกงานอย่างไร

 

ในช่วงที่เราทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้น ทุกคนน่าจะคุ้นๆ ว่าเงินเดือนเราจะถูกหักไป เพื่อจ่ายสมทบประกันสังคมทุกเดือน และในขณะเดียวกันนายจ้างเองก็จ่ายเงินสมทบส่วนนี้ให้เราด้วย ซึ่งเงินสมทบประกันสังคมนี้มีประโยชน์หลายอย่างมาก โดยเฉพาะตอนที่เราออกจากงาน ไม่ว่าจะลาออกเอง หรือถูกให้ออกจากงาน ซึ่งเราเรียกสิทธิประโยชน์นี้ว่า “ประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน

โดยผลประโยชน์ทดแทน จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

 

1.1 การลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดเวลา

กรณีเราลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้าง ที่ไม่ใช่การเกษียนอายุ และไม่ใช่การถูกไล่ออกจากการทำผิดกฎร้ายแรง เราสามารถไปขอรับผลประโยชน์ทดแทนการว่างงานได้ โดยเราจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย คำนวณจากฐานเงินสมทบ สูงสุด 15,000 บาท

 

02_การขอรับผลประโยชน์ทดแทนการว่างงาน กรณีลาออกเอง

 

1.2 ถูกเลิกจ้าง หรือถูกให้ออกจากงาน

กรณีที่เราถูกเลิกจ้าง นี่ไม่ใช่ความต้องการของเราที่จะออก และเราไม่ได้มีความผิดอะไร แต่บริษัทมีความจำเป็นที่ต้องลดพนักงาน เราก็จะได้รับผลประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมเหมือนกันนะ (แต่ได้เยอะกว่า กรณีที่เราลาออกเองนะขอบอก) โดยเราจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย คำนวณจากฐานเงินสมทบ สูงสุด 15,000 บาท ฐานการคำนวณเดียวกันกับกรณีลาออกเองเลย

 

 

03_การขอรับผลประโยชน์ทดแทนการว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้าง หรือถูกให้ออกจากงาน

 

2. การขึ้นทะเบียนเมื่อว่างงาน

 

การที่เราจะได้เงินทดแทนกรณีว่างงานนั้น ต้องขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมเพื่อแจ้งให้ประกันสังคมรับรู้เสียก่อน โดยการขึ้นทะเบียนว่างงานสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

 

2.1 การขึ้นทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด/พื้นที่ใกล้บ้าน

กรณีเราว่างงาน แล้วมีเวลาว่างเยอะ เราอาจจะเลือกไปขึ้นทะเบียนว่างงานที่ สำนักงานจัดหางานใกล้บ้าน แต่ข้อเสียคือ ต้องเตรียมเอกสารเยอะหน่อย ต้องพิมพ์เอกสารเพื่อมากรอกข้อมูล และใช้แนบการขึ้นทะเบียน

 

2.2 การขึ้นทะเบียนออนไลน์

สำหรับการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ เราจะขึ้นทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางาน ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำให้ทำมากที่สุด เพราะง่าย สะดวก ไม่ต้องพิมพ์เอกสารออกมาเขียน เราสามารถกรอกข้อมูลในระบบ และอัปโหลดเอกสารออนไลน์ได้เลย

 

04_การขึ้นทะเบียนเมื่อว่างงาน

 

2.3 เงื่อนไขสำคัญในการขึ้นทะเบียนว่างงาน

สำหรับการขึ้นทะเบียนว่างงานนั้นต้องเข้าเงื่อนไขสำคัญเหล่านี้ด้วย

 

05_เงื่อนไขสำคัญในการขึ้นทะเบียนว่างงาน

 

3. ขั้นตอนขึ้นทะเบียนว่างงานแบบออนไลน์

 

เอาล่ะ! อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า การขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์จะง่ายกว่า และสะดวกกว่ามาก งั้นเรามาดูขั้นตอนการขึ้นทะเบียนออนไลน์กัน

 

3.1 เข้าใช้งาน https://e-service.doe.go.th 

เข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป กรณีใช้งานครั้งแรก ให้ลงทะเบียนเข้าใช้งานก่อน

 

06_3.1 เข้าใช้งาน

 

3.2 เลือกเมนู ขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

 

07_3.2 เลือกเมนู

 

3.3 หลังจากนั้น เลือกดำเนินการต่อ

 

08_3.3 หลังจากนั้น เลือกดำเนินการต่อ

 

3.4 ไปที่แถบขึ้นทะเบียนว่างงาน กดปุ่ม “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”

 

09_3.4 ขึ้นทะเบียนว่างงาน

 

3.5 กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน

(กรณีเลือกการรับเงิน Promptpay ที่ผูกกับบัตรประชาชน จะสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องอัปโหลดหน้าสมุดธนาคารภายหลัง)

 

10_3.5 กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน

 

3.6 กรอกข้อมูลการสมัครงาน

หากไม่อยากสมัครงาน เลือกปุ่ม “ไม่ประสงค์จะสมัครงาน”

 

11_3.6 กรอกข้อมูลการสมัครงาน

 

3.7 เลือกอาชีพอิสระ

กรณีไม่มี เลือกอาชีพอิสระเป็น “อื่นๆ” และระบุรายละเอียด จากนั้นกดบันทึก (สำหรับคนที่เลือกการรับเงิน Promptpay ที่ผูกกับบัตรประชาชนจะสิ้นสุดที่ขั้นตอนนี้)

 

12_3.7 เลือกอาชีพอิสระ

 

3.8 เฉพาะคนที่เลือกรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร (ไม่ใช้ Promptpay ที่ผูกกับบัตรประชาชน)

ต้องไปอัปรูปหน้าสมุดธนาคาร ที่เมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน” กดปุ่ม “แนบไฟล์ หน้าสมุดบัญชีธนาคาร”

 

13_3.8 เฉพาะคนที่เลือกรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร (ไม่ใช้ Promptpay)

 

4. สามารถรับเงินทดแทนได้ที่ไหน อย่างไรบ้าง

 

สำหรับช่องทางการรับเงิน หากแจ้งว่างงานเรียบร้อยแล้ว ระบบจะโอนเงินเข้าบัญชีให้เราอัตโนมัติ ผ่านเลข Promptpay ที่ผูกกับบัตรประชาชน หรือเลขบัญชีที่เราลงทะเบียนไว้ ให้เราไปตรวจสอบได้ที่เมนู “ข้อมูลขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน” ผ่าน https://e-service.doe.go.th

 

14_ข้อมูลขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

 

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เราว่างงาน เรามีหน้าที่รายงานตัวตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ ที่เมนู “รายงานตัว” ถ้าไม่ทำตามเงื่อนไข ไม่ได้รับเงินไม่รู้ด้วยน้าา

 

15_รายงานตัว

 

สรุป ผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

 

ในฐานะที่เราเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบไปทุกเดือน ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานค่ะ ซึ่งมีข้อแม้ว่าต้องไปลงทะเบียนว่างงานให้เรียบร้อยนะ และปัจจุบันเราทำได้ง่ายมากผ่านช่องทางออนไลน์ค่ะ 

หากใครกำลังว่างงานอยู่ หรือมีเหตุให้ออกจากงาน อย่าลืมทำสิ่งนี้ จะได้ไม่เสียสิทธิ์ผู้ประกันตนประกันสังคมนะคะ

 

อ้างอิง

การลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินเท่าไหร่

สิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน

คู่มือการใช้งาน ระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัว ผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

About Author

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้
ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้
สมัครเลย

You may also like