ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36 หมายถึง แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Ads, Google Ads, ใช้บริการ Zoom เป็นต้น
ข้อดีของการนำส่งแบบ ภ.พ.36 นั้น จะทำให้สามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปเป็นรายจ่ายทางภาษีของธุรกิจได้ 100% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ที่เราจ่ายชำระไป สามารถขอคืนภาษีซื้อในเดือนถัดไปได้
ผู้ใช้งาน FlowAccount สามารถรวบรวมข้อมูลใบกำกับภาษีเพื่อจัดเตรียมยื่น ภ.พ. 36 และใช้เป็นข้อมูลสำหรับเตรียมยื่น ภ.พ.30 ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- บันทึกค่าใช้จ่ายตามใบเสร็จรับเงินในระบบ FlowAccount โดยเลือกอัตราภาษี 0%
- ไปที่เมนูบริหารบัญชี > บริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม > บันทึกข้อมูลใบกำกับภาษีที่ได้รับที่เมนูจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเลือกเปลี่ยนสถานะ “รับใบกำกับภาษี”
- กรอกข้อมูลเลขที่ใบกำกับภาษี วันที่ใบกำกับภาษี และเลือกแบบฟอร์มภาษีเป็น
ภ.พ. 36 (ระบบเลือกแบบฟอร์ม ภ.พ. 36 ให้อัตโนมัติเมื่อเลือกที่ตั้งธุรกิจเป็นต่างประเทศสามารถตั้งค่าได้ที่เมนูรายชื่อผู้ติดต่อ) โดยเมื่อบันทึกข้อมูลเรียบร้อย เอกสารภาษีซื้อจะเปลี่ยนสถานะเป็น “รอยื่น ภ.พ.36”
- ไปที่เมนูถัดไป “เตรียมแบบภาษีรายเดือน” เมื่อบันทึกข้อมูลใบกำกับภาษีที่ได้รับสำหรับเอกสาร ภ.พ.36 ครบทุกใบแล้ว สามารถเตรียมแบบยื่น ภ.พ.36 ได้ โดยกดปุ่มสร้างใหม่ และเลือกเตรียมแบบยื่น ภ.พ.36
- เลือกเอกสารเพื่อเตรียมแบบยื่น ภ.พ.36 โดยระบบจะสรุปยอดภาษีซื้อที่ต้องนำส่งสรรพากรให้ที่มุมบนด้านขวา จากนั้นกดบันทึก
- เมื่อบันทึกแบบยื่น ภ.พ.36 แล้ว แบบที่เตรียมยื่น ภ.พ.36 จะเปลี่ยนสถานะเป็น “รอชำระภาษี” และถ้าไปดูที่เมนูจัดการเอกสารภาษีซื้อ เอกสารที่รวมอยู่ในแบบ จะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น “รอชำระ ภ.พ.36” ทันที
- กลับไปที่หน้า “เตรียมแบบยื่นภาษีรายเดือน” แล้วกด “ชำระภาษี” จากนั้นเลือกวิธีการจ่ายตามปกติ
- เมื่อชำระแบบยื่น ภ.พ.36 แล้ว สถานะของแบบจะเปลี่ยนเป็น “ชำระภาษีแล้ว” และเอกสารที่อยู่ในแบบยื่นจะเปลี่ยนสถานะเป็น “รอใบเสร็จสรรพากร”
- คลิกรับใบเสร็จสรรพากร เพื่อกรอกข้อมูลใบเสร็จสรรพากรที่ได้รับจากการชำระภาษีหลังจากยื่นแบบ ภ.พ.36 แล้ว
- เมื่อบันทึกระบบจะเปลี่ยนสถานะเอกสารเป็น “รับใบกำกับภาษีแล้ว” ซึ่งสามารถนำไปรวมใช้สิทธิกับเอกสารภาษีซื้อของ ภ.พ.30 ได้ โดยการคลิกเลือก “เตรียมแบบยื่น ภ.พ. 30” ที่เมนูเตรียมแบบยื่นภาษีรายเดือน
- เมื่อเข้ามาในหน้าเตรียมแบบยื่นภาษีระบบจะแจ้งเตือนว่ามีเอกสาร ภ.พ.36 สามารถคลิกปุ่ม “เลือก” เพื่อนำเอกสาร ภ.พ.36 มาใช้สิทธิ์รวมกับเอกสารภาษีซื้อในแบบยื่น ภ.พ.30 ได้
- สามารถคลิกเลือกเอกสารภาษีซื้อที่ต้องการใช้สิทธิ์เพิ่มเติมได้จากหน้าเตรียมแบบยื่น ภ.พ.30
- เมื่อบันทึกแบบจะได้ข้อมูลสำหรับเตรียมยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยรวมข้อมูลของเอกสารที่จัดการเตรียมยื่นแบบ ภ.พ.36 เรียบร้อยแล้ว
การตรวจสอบข้อมูลการยื่นแบบภาษี
สามารถตรวจสอบประวัติเอกสารเกี่ยวกับภาษีได้ ที่ไอคอนประวัติเอกสาร และเลือก “ข้อมูลภาษี”
เมื่อเตรียมแบบยื่น ภ.พ.36 หรือ ภ.พ. 30 แล้วต้องการตรวจสอบรายการยื่นแบบภาษี ภ.พ.36 สามารถตรวจสอบได้ที่เมนูรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.36 ดังนี้
ส่วนรายงานภาษีซื้อ ภ.พ.30 สามารถเลือกได้ว่าจะให้รายงานแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารใบเสร็จ ภ.พ. 36 จากสรรพากรหรือไม่ดังนี้
เรื่องอื่นๆ ที่ควรรู้
- กรณีที่ผู้ใช้งานบันทึกค่าใช้จ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศ ระบบจะแปลงค่าเป็นเงินบาทเพื่อบันทึกบัญชีและนำมาคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อยื่น ภ.พ.36 โดยการนำจำนวนเงินสุทธิตามเอกสารค่าใช้จ่ายในระบบมาคำนวน
- กรณีวันที่จ่ายเงิน กับวันที่ของเอกสารที่นำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในระบบเป็นคนละวันกัน ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขจำนวนเงินในเมนูรับใบกำกับภาษีให้ตรงกับจำนวนเงินที่จ่ายจริงได้
- สามารถแนบข้อมูลใบกำกับภาษีได้ทั้งเมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม เลือกเมนูย่อยจัดการเอกสารภาษีซื้อ และท้ายเอกสารค่าใช้จ่ายส่วนของข้อมูลใบกำกับภาษีที่ได้รับ
- สามารถแก้ไขข้อมูลใบกำกับภาษีที่ได้รับได้ทั้งท้ายเอกสาร และที่เมนูจัดการเอกสารภาษีซื้อ
- สามารถแก้ไขข้อมูลใบเสร็จสรรพากรได้ที่เมนูจัดการเอกสารภาษีซื้อเท่านั้น
- ไม่ใช้สิทธิขอคืนสำหรับเอกสาร ภ.พ.36 ได้ที่สถานะรอรับใบกำกับภาษี และรอยื่น ภ.พ.36 เท่านั้น
- สถานะเอกสารจะเปลี่ยนเป็นรอใบเสร็จสรรพากรอัตโนมัติเมื่อคลิกชำระแบบยื่น ภ.พ.36 ไม่สามารถรีเซ็ตการชำระเงินของแบบยื่น ภ.พ.36 ได้ถ้าเอกสารถูกนำไปเตรียมแบบยื่น ภ.พ.30 แล้ว
- ตำแหน่งของผู้ใช้งานที่สามารถเข้าใช้งานเมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่มได้ คือ เจ้าของกิจการ(Owner), นักบัญชี (Accountant and office admin), สำนักงานบัญชี (Accounting firm) ที่ได้รับสิทธิ์เข้าใช้งานเมนูบริหารบัญชี
ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้งานได้ในแพ็กเกจใด
- Standard
- Pro
- Pro Business
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภ.พ.36 ได้จากลิงค์ด้านล่าง
ข้อกฎหมาย / ข้อหารือที่เกี่ยวข้องกับ ภ.พ.36